วันอาทิตย์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

กองสลากไท สลากไทพลัส วัดหมื่นสาร

 

กองสลากไท พาเที่ยว วัดหมื่นสาร

กองสลากไท และ สลากไทพลัส พาเที่ยวที่ วัดหมื่นสาร เป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญแห่งหนึ่งของเชียงใหม่ มีเจ้าอาวาสที่ทรงภูมิธรรมดังปรากฏในหลักฐานประวัติศาสตร์ที่กล่าวแล้วในตอนต้น ดังนั้น ใน วัดหมื่นสาร แห่งนี้จึงมีคัมภีร์ใบลานจำนวนมาก ซึ่งจากการสำรวจโดยสถาบันวิจัยสังคมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กองสลากไท และ สลากไทพลัส ทราบมาว่าเมื่อราวทศวรรษ 2520 พบคัมภีร์ใบลานของวัดหมื่นสารจำนวน 163 รายการ 815 ผูก อย่างไรก็ดีจากศักราชที่ระบุในใบลานเช่น จศ.1187 ก็พบว่าเป็นเอกสารที่มีอายุประมาณ 200 กว่าปี

วัดหมื่นสาร

ลักษณะเด่น วัดหมื่นสาร

หอศิลป์สุทฺธจิตฺโต เดิมเรียกกันว่า หอเงิน การออกแบบก่อสร้างหอศิลป์สุทฺธจิตฺโต เป็นหอศิลป์ที่สร้างแบบล้านนาประยุกต์ มีบันได้ทางขึ้นที่มุขด้านหน้า 2 ด้าน ซ้าย-ขวา โครงสร้างหอศิลป์มีขนาดกว้าง 6.50 เมตร ยาว 12.1 เมตร ออกแบบโครงสร้างโดยนายอำนวย นันตากาศ ส่วนการออกแบบลวดลายประดับหอศิลป์มี นายจิรศักดิ์ กาวิละ ช่างเงินบ้านวัวลายเป็นสล่าเก๊า โดยได้นำลวดลายที่เป็นลายพื้นเมืองล้านนาดั้งเดิมซึ่งเป็นลายเอกลักษณ์เครื่องเงินบ้านวัวลาย ดุนลายโลหะประดับตกแต่งภายใน และภายนอกหอศิลป์ โดยมีช่างฝีมือชาวบ้านวัวลายทั้งชาย – หญิงหลายคนช่วยกันต้องลายฝากฝีมือประดับหอศิลป์ ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันเสาร์ที่ 9 พฤศจิกายน 2545 โดยครูบาดวงดี สุภัทฺโท วัดท่าจำปี อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นองค์ประธานในพิธี

ประวัติ วัดหมื่นสาร จาก กองสลากไท

ประวัติวัดหมื่นสารมีปรากฏตั้งแต่สมัยพระเจ้าลกติโลกราช กษัตริย์ราชวงศ์เม็งราย องค์ที่ 12 ครองนครเชียงใหม่ เมื่อจุลศักราช 804-840 (พ.ศ. 1985- 2021) ในตำนานพระสิลาว่า ในสมัยนั้น พระมหาญาณโพธิอยู่สำราญในวัดป่าแดงที่นั้น พระลกติโลกราช ทรงสั่งให้ หมื่นคำภา เวียงดิน นำเอาพระสิลาเจ้าไปถวายแด่พระมหาญาณะโพธิในวัดป่าแดงที่นั้นแล ส่วนพระมหาญาณะโพธิเถระเจ้า ก็ให้ทำสักการะบูชาและสรงพระสิลาเจ้าด้วยสุคนธวารี มีประการต่าง ๆ ในขณะยามนั้น ห่าฝนอันใหญ่ก็หลั่งไหลลงมาเป็นอันมากก็มีแล ในกาลเมื่อนั้นอำมาตย์ใหญ่ผู้หนึ่งมีนามว่า หมื่นหนังสือวิมลกิตติ เป็นสังฆการีนั้น ก็ให้สร้างวิหารในวัดหมื่นสารแล้วก็ไปอาราธนาเอาพระสิลาเจ้าจากวัดป่าแดงมาประดิษฐานไว้ในวัดหมื่นสาร เพื่อให้จำเริญรุ่งเรืองในพระพุทธศาสนาต่อไปภายหน้า มหาสวามีเจ้าตนเป็นสังฆนายกอยู่ในวัดหมื่นสารมีนามว่า พุทธญาณเถร ก็ไปยังวัดสวนดอกไม้แล้วก็อาราธนาพระสิลาเจ้าไปเพื่อกระทำสักการะบูชาแล้วนิมนต์กลับมาวัดหมื่นสารดังเดิมนั้นแล ซึ่งแสดงว่าวัดหมื่นสารมีมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าลกติโลกราชแล้วและคงเป็นวัดสำคัญเพราะเจ้าอาวาสเป็นถึงชั้น “มหาสวามีสังฆนายก”

ทางเข้า วัดหมื่นสาร

นอกจากนี้ยังปรากฏในพงศาวดารโยนก ฉบับหอสมุดแห่งชาติหน้า 401 บรรทัดที่ 10 กล่าวว่า ลุศักราช 884 (พ.ศ. 2065) พระเจ้าอาทิตยวงศ์ เสวยราชสมบัติ ณ กรุงเทพมหานครศรีอยุธยา แต่งราชทูตมาสืบทางราชไมตรีพระเจ้าเชียงใหม่จัดการรับรองราชทูตพอสมควรแปลพระราชสาส์นยังวัดหมื่นสารดังนี้ ซึ่งในสมัยนั้นตรงกับสมัยพระเมืองแก้ว ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 14 แห่งราชวงศ์เม็งราย และในตำนานวัดต่าง ๆ (ธรรมก้อมหรือธรรมประวัติเรื่องสั้น) จารไว้ในใบลานด้วยอักษรพื้นเมืองซึ่งพระมหาหมื่นญาณวุฑฒิ วัดเจดีย์หลวง ได้กล่าวถึง การตั้งชื่อวัด คำว่า “ หมื่นสาร ” ไว้ว่า ศักราช 888 (พ.ศ. 2069) สมัยแผ่นดินพระเมืองเกษเกล้า กษัตริย์นครพิงค์ องค์ที่ 15 แห่งราชวงศ์เม็งรายธานี แห่งแคว้นลานนาไทย สมัยนั้นมีเสนาอามาตย์ ผู้หนึ่ง ชื่อวิมลกิตติ (นายทหารยศชั้นหมื่น) ได้ฐาปนาพระอารามนี้ขึ้น โดยมีบาลีกล่าวไว้ซึ่งแปลได้ว่า อาวาสนี้ อันหมื่นวิมลกิตติ ผู้เป็นมหาโยธา (ทหารผู้ใหญ่) ในนครนี้ตั้งไว้แล้วสำหรับหมื่นวิมลกิตตินี้มีชื่อปรากฏอยู่หลายแห่งหลายสมัยหลายกษัตริย์ด้วยกัน เมื่อสร้างวิหารเพื่อประดิษฐานพระศิลานั้นอยู่ในสมัยพระเจ้าลกติโลกราช และปรากฏในศิลาจารึกวัดร่ำเปิง (ตโปทาราม) เมื่อสร้างวัดร่ำเปิง เป็นสมัยพระเจ้ายอดเชียงราย และเมื่อฐาปนาอารามวัดหมื่นสารครั้งหลังนี้อยู่ในสมัยพระเมืองเกษเกล้าดังกล่าว ชื่อเต็มของท่านมีชื่อว่า “ หมื่นหนังสือวิมลกิตติสิงหละราชมนตรี ” เป็นสังฆการีและเกี่ยวกับการรับรองราชทูตและแปลพระราชสาส์น ท่านได้อุปถัมภ์วัดหมื่นสารมาตลอด วัดนี้จึงได้ชื่อว่า “วัดหมื่นสาร”

โบราณวัตถุสถาน

  • เจดีย์และลวดลายหน้าบันของวิหารที่มองเห็นกันส่วนใหญ่เป็นศิลปะแบบพม่า เนื่องจากปี พ.ศ.25460 หรือปีมะเส็ง ปี จ.ศ.1279 ได้มีคหบดีท่านหนึ่ง คือ หลวงโยนะการพิจิตร หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า คุณหลวงโยฯ ซึ่งเป็นต้นตระกูล “อุปะโยคิน” ซึ่งมีพื้นเพเดิมเป็นชาวพม่าได้สละทุนทรัพย์สร้างขึ้นมาทดแทนของเดิมที่เสียหาย

รายนามเจ้าอาวาส

  • ท่านมหาชินวงษ์เถระ
  • ท่านพระครูบาชัยยะ
  • ท่านพระครูอนุสรณ์ศีลขันธ์ (ชมพู)
  • ท่านพระปลัดคำใส คุโณ
  • ท่านพระครูอนุสรณ์ศีลขันธ์ (อนันต์ ธมมธโร)
  • พระมหาโผน ภททจารี

สลากไทพลัส สลากออนไลน์ ใบละ 80บาท ถูกรางวัลรับเต็ม ไม่หักค่าทำเนียม

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม LINE : @STPLUS

หรือ คลิกที่รูปภาพด้านล่าง



อ่านบทความเพิ่มเติมของ สลากไทพลัส

สลากไทพลัส กองสลากไท เทศกาลแกลสตันบูรี




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ป้อมไพรีพินาศ

ที่เที่ยวโบราณ ป้อมไพรีพินาศ จังหวัดจันทบุรี ป้อมไพรีพินาศ ตั้งอยู่บนเขาแหลมสิงห์ หมู่ 1 ตำบลบางกะไชย อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี เป็นป้อ...