วันอาทิตย์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

กองสลากไท สลากไทพลัส ด่านเจดีย์สามองค์

 

สลากไทพลัส พาเที่ยว ด่านเจดีย์สามองค์

กองสลากไท และ สลากไทพลัส พาไปเที่ยว ด่านเจดีย์สามองค์ ตั้งอยู่ที่ตำบลหนองลู เป็นเขตสิ้นสุดชายแดนฝั่งตะวันตกของไทย อยู่ห่างจากตัวจังหวัดกาญจนบุรี ประมาณ 215 กิโลเมตร กองสลากไท และ สลากไทพลัส ทราบมาว่า ด่านเจดีย์สามองค์ บริเวณด่านมีเจดีย์ 3 องค์ ตั้งเรียงกันในแนวยาว ลักษณะเป็นเจดีย์ฐานแปดเหลี่ยม ด้านบนเป็นทรงกลม ยอดแหลม มีสีขาวขนาดไม่ใหญ่นัก ในอดีตเป็นเพียงกองหินที่ชาวบ้านนำมาวางไว้สักการะเพื่อความเป็นสิริมงคล ก่อนเดินทางผ่านไปยังพม่า

ด่านเจดีย์สามองค์

ลักษณะเด่น ด่านเจดีย์สามองค์

  • ด่านชายแดนไทย
  • พม่า
  • พระเจดีย์สามองค์ ที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ
  • พื้นที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ตั้งแต่สมัยโบราณ
  • เป็นเส้นทางเชื่อมโยงไทย
  • พม่าที่สำคัญ

ประวัติ ด่านเจดีย์สามองค์ จาก กองสลากไท

ช่องเขาดังกล่าวเชื่อมอำเภอสังขละบุรี ทางตอนเหนือของจังหวัดกาญจนบุรี กับเมืองพะย่าโต้นซู ทางตอนใต้ของรัฐกะเหรี่ยง ช่องเขานี้ได้เคยเป็นเส้นทางสัญจรทางบกเข้าสู่ทางตะวันตกของประเทศไทยมาตั้งแต่ครั้งอดีตกาล และเชื่อกันว่าเป็นจุดที่พระสงฆ์ชาวอินเดียเดินทางมาเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเขตประเทศไทยช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 3

ช่องเขาดังกล่าวเป็นเส้นทางหลักของการเดินทัพของพม่า โดยมีบางครั้งที่กองทัพอยุธยาได้ใช้เป็นเส้นทางรุกรานพม่าเช่นกัน ช่องเขาดังกล่าวได้ชื่อตามกองเจดีย์ขนาดเล็กสามองค์ ซึ่งอาจถูกสร้างขึ้นในช่วงปลายสมัยอยุธยาเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของสันติภาพ ปัจจุบัน ด่านเจดีย์สามองค์ตั้งอยู่บนพรมแดนไทย บางส่วนของพรมแดนไทย-พม่ายังมีกรณีพิพาทมาจนถึงปัจจุบัน

ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นได้สร้างทางรถไฟสายมรณะผ่านช่องเขาแห่งนี้ จึงมีอนุสรณ์รำลึกถึงเชลยศึกชาวออสเตรเลียหลายพันคน (โดยมีชาติสัมพันธมิตรและพลเรือนเอเชียจำนวนหนึ่ง) เสียชีวิตเนื่องจากใช้งานหนักในการก่อสร้างทางรถไฟ

พื้นที่แห่งนี้เป็นที่อยู่ของชาวเขาหลายเผ่า รวมไปถึงกะเหรี่ยงและมอญ ผู้ซึ่งไม่ได้รับหรือไม่ต้องการได้รับสัญชาติพลเมืองจากทั้งไทยและพม่า กองทัพแบ่งแยกดินแดนพยายามที่จะยึดครองช่องเขานี้จากพม่า โดยชาวมอญได้ควบคุมช่องเขามาจนกระทั่ง ค.ศ. 1990 แต่ในปัจจุบันกองทัพพม่าได้เข้าควบคุมช่องเขานี้อีกครั้งหนึ่ง

ทางเข้าด่าน

ข้อมูลเพิ่มเติม

ข้อแนะนำ

  • นักท่องเที่ยวที่ผ่านแดน ไม่สามารถพักค้างคืนในพม่าได้ ต้องกลับเข้ามายังฝั่งไทยก่อนเวลาด่านปิด คือเวลา 18.00 น.
  • หากขับรถยนต์เข้าไปในพม่าต้องเปลี่ยนจากขับเลนซ้ายเป็นเลนขวา
  • สามารถเช่ามอเตอร์ไซค์จากตัวเมืองสังขละ เพื่อขี่ไปเที่ยวแถวบริเวณด่านเจดีย์สามองค์ได้ แต่ไม่สามารถนำมอเตอร์ไซค์ผ่านข้ามแดนไปพม่า
  • ฝั่งพม่ามีมอเตอร์ไซค์รับจ้างพาทัวร์วัดและตลาด ราคาประมาณ 100 – 120 บาท เช่นไปวัดเสาร้อยต้น ตลาดพญาตองซู และวัดเจดีย์ทอง

สำหรับใครที่กลัวหลง เดินทางไม่ถูก ไม่ต้องห่วงนะคะ ที่ด่านมีแผนที่ในการเดินทางให้ สามารถขอเจ้าหน้าที่ได้เลย

ราคาเข้าชม

  • ไม่มีค่าใช้จ่าย

ที่เที่ยว ใกล้เคียง ด่านเจดีย์สามองค์

     แน่นอนว่านักท่องเที่ยวอย่างเราๆ ก็สามารถเดินข้ามไปเที่ยวในฝั่งเมียนมาได้ด้วยเหมือนกันค่ะ โดยจะต้องเตรียมบัตรประชาชนตัวจริงไว้แลกบัตรผ่านแดนกับเจ้าหน้าที่ค่ะ แต่ทั้งนี้จะสามารถไปเที่ยวได้แค่วันเดียวเท่านั้นนะคะ ไม่สามารถนอนพักค้างคืนในเมียนมาได้ ต้องกลับเข้ามาก่อนด่านปิด ในเวลา 18.00 น. 

สลากไทพลัส สลากออนไลน์ ใบละ 80บาท ถูกรางวัลรับเต็ม ไม่หักค่าทำเนียม

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม LINE : @STPLUS

หรือ คลิกที่รูปภาพด้านล่าง



อ่านบทความเพิ่มเติมของ สลากไทพลัส

สลากไทพลัส กองสลากไท เทศกาลแกลสตันบูรี




กองสลากไท สลากไทพลัส ปราสาทเมืองสิงห์

กองสลากไท พาเที่ยว ปราสาทเมืองสิงห์

ปราสาทเมืองสิงห์ เป็นหนึ่งในอุทยานประวัติศาสตร์ของประเทศไทย กองสลากไท และ สลากไทพลัส ทราบว่า ปราสาทเมืองสิงห์ ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำแควน้อยทางทิศเหนือในเขตตำบลสิงห์ อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี แวดล้อมด้วยทิวเขาเป็นแนวยาวอยู่โดยรอบ ลักษณะผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กำแพงเมืองก่อด้วยศิลาแลง กว้างประมาณ 800 เมตร หมายถึงส่วนกว้างของเมือง ยาวประมาณ 850 เมตร และกำแพงสูง 7 เมตร มีประตูเข้าออก 4 ด้าน มีคูน้ำคันดินล้อมรอบ ภายในเมืองมีสระน้ำ 6 สระ

ปราสาทเมืองสิงห์

ประวัติ ปราสาทเมืองสิงห์ จาก กองสลากไท

ปราสาทเมืองสิงห์ มีจุดมุ่งหมายสร้างขึ้นเพื่อเป็นพุทธศาสนสถานในพุทธศาสนา นิกายมหายาน จากการขุดตกแต่งของกรมศิลปากรที่ค่อยทำค่อยไปตั้งแต่ พ.ศ. 2478 แต่มาเริ่มบุกเบิกกันจริงจังเมื่อ พ.ศ. 2517 แล้วเสร็จเป็นอุทยานประวัติศาสตร์เมื่อ พ.ศ. 2530 จึงสวยงามดังที่เห็นอยู่ในวันนี้ ปราสาทเมืองสิงห์นี้กล่าวว่าสถาปัตยกรรมและปฏิมากรรม คล้ายคลึงกับของสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (พ.ศ. 1720 – 1780) กษัตริย์นักสร้างปราสาทแห่งขอม จากการขุดแต่งของกรมศิลปากร พบศิลปกรรมที่สำคัญยิ่งคือพระพุทธรูปนาคปรก พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร และ นางปรัชญาปารมิตา และยังพบรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเปล่งรัศมีอีกองค์หนึ่ง รูปลักษณ์คล้ายกับที่พบในประเทศกัมพูชา ปัจจุบันกรมศิลปากรได้นำไปเก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร แล้ว คงเหลือแต่องค์จำลองไว้

จากศิลาจารึกปราสาทพระขรรค์ เมืองพระนคร ประเทศกัมพูชา ซึ่งจารึกโดย พระวีรกุมาร พระราชโอรสของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7[ต้องการอ้างอิง] จารึกชื่อเมือง 23 เมือง ที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงสร้างไว้ มีเมืองชื่อ ศรีชัยสิงห์บุรี ซึ่งสันนิษฐานกันว่าคือเมือง ปราสาทเมืองสิงห์ นี่เอง[ต้องการอ้างอิง] และยังมีชื่อของเมือง ละโวธยปุระ หรือ ละโว้ หรือลพบุรี ที่มีพระปรางค์สามยอด เป็นโบราณวัตถุร่วมสมัย

แต่ในเรื่องดังกล่าวรองศาสตราจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม เห็นว่าการที่นำเอาชื่อเมืองที่คล้ายคลึงกันในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาไปเปรียบเทียบกับบรรดาเมืองในเส้นทางคมนาคมในจารึกปราสาทพระขรรค์อย่างง่ายๆ โดยไม่คำนึงถึงหลักภูมิศาสตร์ เท่ากับเป็นการบิดเบือนความจริงอย่างมักง่าย[1] เพราะบรรดาปราสาทขอมที่เรียกว่าอโรคยาศาลนั้นมักพบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (มีพบบ้างในบางส่วนของจังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งปัจจุบันได้แยกเป็นจังหวัดสระแก้ว) และมีรูปแบบแตกต่างจากปราสาทขอมที่พบในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาอย่างสิ้นเชิง ตรงข้ามกับบรรดาปราสาทของที่พบบนเส้นทางคมนาคมจากละโว้ถึงเพชรบุรีและปราสาทเมืองสิงห์ แต่ละแห่งก็มีรูปแบบที่แตกต่างออกไป จะมีความคล้ายคลึงกันแต่รูปเคารพพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร และนางปรัชญาปารมิตาที่บ่งชี้ว่าน่าจะแพร่หลายมาจากเมืองละโว้ และพระโพธิสัตว์บางองค์นำมาจากเมืองพระนครก็มี แต่หลักฐานทั้งหมดก็มิได้ปฏิเสธความสัมพันธ์ทั้งสังคมและวัฒนธรรมระหว่างละโว้กับเมืองพระนครในกัมพูชา

ในสมัย รัชกาลที่ 1 เมืองสิงห์ได้มีฐานะเป็นเมืองหน้าด่าน ในสมัยรัชกาลที่ 4 โปรดให้เจ้าเมืองสิงห์เป็น พระสมิงสิงห์บุรินทร์ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นแบบมณฑลเทศาภิบาล ดังนั้นจึงยุบเมืองสิงห์ให้เหลือเป็นฐานะเพียงตำบลหนึ่งในจังหวัดกาญจนบุรี

ภายในปราสาท

โบราณสถาน ปราสาทเมืองสิงห์

ปราสาทเมืองสิงห์ ตั้งอยู่บริเวณที่ราบริมฝั่งทิศเหนือของแม่น้ำแควน้อย พื้นที่โดยรอบโอบรอบด้วยภูเขาขนาดไม่สูงมากนัก บริเวณโบราณสถานจะมีกำแพงและคูคันดินเป็นชั้นๆ แนวกำแพงดังกล่าวมีลักษณะเกือบเป็นรูปสี่เหลี่ยม คือแม่น้ำแควน้อยไหลผ่านด้านทิศใต้ ด้งนั้นพื้นที่ด้านนี้จึงขยายออกไปตามแนวแม่น้ำ สำหรับด้านทิศตะวันออก ทิศตะวันตก และทิศเหนือ แนวกำแพงต่อกันเป็นรูปสีเหลี่ยม รอบนอกกำแพงจะเป็นคูคันดินล้อมรอบอยู่ โดยเฉพาะด้านตะวันตกปรากฏซากคันดินอยู่ถึง 7 ชั้น กำแพงและคูดินนี้จะล้อมรอบกลุ่มโบราณสถานสำคัญ ซึ่งประกอบด้วยโบราณสถานหมายเลข 1 – 4 กำแพงและประตู คูคันดิน สระน้ำ และสิ่งก่อสร้างอื่นๆ

โบราณสถานในอุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ สามารถแบ่งได้เป็นเช่นนี้

  • โบราณสถานหมายเลข 2
  • โบราณสถานหมายเลข 1
  • โบราณสถานหมายเลข 1 โบราณสถานหมายเลข 1 ตั้งอยู่บริเวณใจกลางกลุ่มโบราณสถาน องค์โบราณสถานหันหน้าไปทางทิศตะวันออกและประกอบด้วยสิงห์สำคัญคือ ปรางค์ประธาน ระเบียงคด โคปุระ บรรณศาลาหรือบรรณาลัย และกำแพงแก้ว

ปรางค์ประธานเป็นศูนย์กลางของโบราณสถานมีลักษณะเป็นปรางค์องค์เดียวทรงหอสูงคล้ายฝักข้าวโพด องค์ประธานตั้งอยู่บนฐานย่อมุมไม้ 20 ขนาดกว้างและยาวด้านละ 13.20 เมตร มีมุขยื่นออกไปรับกับมุขด้านในของโคปุระทั้งสี่ทิศ โดยมุขด้านตะวันออกยาวกว่าด้านอื่นๆ และระหว่างปรางค์ประธานกับโคปุระด้านตะวันออกมีลานศิลาแลงเชื่อมเป็นลานกว้าง ระเบียนคดเป็นอาคารที่ล้อมรอบองค์ปรางค์ประธาน ด้านเหนือและด้านใต้ยาวด้านละ 42.50 เมตร ด้านตะวันออกและด้านตะวันตกยาวด้านละ 36.40เมตร ตามมุมของระเบียนคดจะมีซุ้มทิศอยู่สี่มุม

โคปุระหรือซุ้มประตูเข้าเป็นอาคารอยู่ระหว่างระเบียงคดทั้ง 4 ด้าน ซึ่งอยู่ในแนวเดียวกับซุ้มขององค์ปรางค์ และมีทางเข้าเฉพาะซุ้มด้านทิศตะวันออกเท่านั้น

บรรณศาลาหรือบรรณาลัยเป็นอาคารเล็กๆ มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 4.50เมตร ยาว 5.50 เมตร ตั้งอยู่ที่มุมทิศตะวันออกเฉียงใต้ขององค์ปรางค์ประธาน ประตูบรรณศาลามีประตูเดียวอยู่ทางตะวันตก สันนิษฐานว่าบรรณลัยนี้เป็นที่เก็บตำราหรือคัมภีร์ต่างๆ ทางพระพุทธศาสนา กำแพงแก้วเป็นส่วนที่ล้อมรอบตัวปราสาทมีประตูเข้าทางตะวันออก กำแพงแก้วประกอบด้วยฐานกว้าง 2.40 เมตร มีด้านกว้าง 81.20 เมตร และยาว 97.60เมตร

ปราสาทเมืองสิงห์
  • โบราณสถานหมายเลข 2
  • โบราณสถานหมายเลข 2 ยังมีปรางค์ประธาน โคปุระ 4 ด้าน แต่พังลงมามาก บูรณะได้น้อย
  • โบราณสถานหมายเลข 2 โบราณสถานแห่งนี้ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของโบราณสถานหมายเลข1 และมีลักษณะคล้ายคลึงกัน

เมตร ยาว 54.20 เมตร และสูง 80 เมตร โบราณสถานหมายเลข 2 ตั้งหันหน้าไปทางทิศตะวันออก และประกอบด้วยปรางค์ประธาน ระเบียงคดโคปุระ และกำแพงแก้ว ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับโบราณสถานหมายเลข 1 แต่มีขนาดเล็กกว่า โบราณสถานกลุ่มนี้ยังสร้างไม่เสร็จเรียบร้อย

โบราณสถานหมายเลข 1 และโบราณสถานหมายเลข 2 เป็นอาคารที่สันนิษฐานว่า เป็นศาสนสถานที่สำคัญ มีองค์ปรางค์ประธานตั้งอยู่กลางอาคารและเป็นที่ตั้งของรูปเคารพที่สำคัญอีกด้วย การก่อสร้างใช้ศิลาแลงเป็นส่วนวัสดุสำคัญ วัสดุอืนๆที่ใช่ ประกอบอาคารคือ กระเบื้องดินเผา ไม้ ศิลาทราย เหล็ก และอิฐ เป็นต้น

การตกแต่งตัวอาคารใช้ปูนฉาบและประดับด้วยลายปูนปั้นตามปรางค์ประธานและซุ้มทิศ ปูนปั้นใช้หินปูนและเปลือกหอยเผาบดแล้วผสมด้วยกาวหนังสัตว์หรือส่วนผสมที่มีความข้นเหนียวและคลุกเคล้ากับน้ำอ้อยเพื่อให้ปูนแข็งตัวช้าทำให้ง่ายต่อการปั้นแต่งเป็นลวดลาย เทคนิคในการก่อสร้าง การก่อสร้างปรางค์ประธาน ซุ้มทิศ ระเบียง ล้วนใช้สิลาแลงและเรียงซ้อนขึ้นไปโดยมิได้ใช้ปูนสอ แต่บางแห่งก็ใช้เหล็กรูป ตัวไอ หรือ ตัวที ช่วยยึดระหว่างก้อนศิลา

โบราณสถานหมายเลข 3
โบราณสถานหมายเลข 3 ตั้งอยู่นอกกำแพงแก้ว เป็นโบราณสถานขนาดเล็ก ก่อด้วยศิลาแลง
โบราณสถานหมายเลข3 โบราณสถานแห่งนี้อยู่บริเวณนอกกำแพงแก้วทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของโบราณสถานหมายเลข 1 องค์โบราณสถานมีลักษณะเป็นสิ่งก่อสร้างขนาดเล็กสร้างด้วยอิฐและศิลาแลง ซึ่งอาจจะเป็นฐานของเจดี ดังที่กรมศิลปากรสันนิษฐานว่า สิ่งก่อสร้างสันนิษฐานว่าเป็นเจดี 2 องค์ ฐานแรกมีขนาด 5.20 คูณ 5.20 เมตร เป็นฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสสูง 1.43 เมตร ลักษณะเป็นฐานเขียงสี่เหลี่ยม ก่อขึ้นไปเป็นฐานปัทม์(บัวคว่ำหงาย) ทั้งหมดนี้ก่อสร้างด้วยอิฐโดยใช้เทคนิคการเรียงอิฐแบบ Header Bond คือใช้ด้านสันของอิฐโผล่ออกมาด้านนอก ชั้นบนของฐานปัทม์ขึ้นไปใช้ศิลาแลงก่อเป็นฐานเขียงอีกชั้นหนึ่ง…ฐานเจดีอีกองค์หนึ่งทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือใช้แลงก่อเป็นฐาน…ฐานเจดีอีกองค์นี้สภาพชำรุดมากจึงไม่สามารถบอกขนนาดและลักษณะที่แน่นอนได้

โบราณสถานหมายเลข 4
โบราณสถานหมายเลข 4 อยู่ใกล้หมายเลข 3 ยังบูรณะอยู่ เป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าโบราณสถานหมายเลข4โบราณสถานแห่งนี้เป็นอาคารรูปสี่เหลียมผืนผ้าแบ่งเป็นส่วนเรียงเป็นแถวแนวเหนือใต้ แต่ละส่วนมีขนาดกว้าง 3.90 เมตร และยาว 6.65 เมตร โดยเว้นระยะห่าง กัน 0.50 เมตรในแต่ล่ะส่วนทำเป็นขอบสูงขึ้นมาประมาณ 40 เซนติเมตร บนฐานส่วนที่สองจากทิศของประติมากรรมตั้งอยู่ การก่อสร้างอาคารใช้ศิลาแลงเป็นวัสดุสำคัญ

การเดินทางไป ปราสาทเมืองสิงห์

– รถยนต์ (Car) จากตัวเมืองกาญจนบุรี ไปปราสาทเมืองสิงห์ มีระยะทางประมาณ 40 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 50 นาที สามารถเหมารถหรือเช่ารถรับจ้างไปยังสถานที่ต่างๆ ในจังหวัดกาญจนบุรีได้ตามความสะดวก

เวลาทำการเปิด-ปิด

เปิดทุกวัน 08:00 น. – 18:00 น.

อัตราค่าเข้าชม

ชาวไทย 20 บาท

ชาวต่างชาติ 100 บาท

ค่านำยานพาหนะเข้าชม

– รถยนต์ คันละ 50 บาท

– รถจักรยานยนต์ คันละ 20 บาท

– รถจักรยาน คันละ 10 บาท

เวลาที่เหมาะสมสำหรับการท่องเที่ยว

ตลอดทั้งปี

สลากไทพลัส สลากออนไลน์ ใบละ 80บาท ถูกรางวัลรับเต็ม ไม่หักค่าทำเนียม

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม LINE : @STPLUS

หรือ คลิกที่รูปภาพด้านล่าง



อ่านบทความเพิ่มเติมของ สลากไทพลัส

สลากไทพลัส กองสลากไท เทศกาลแกลสตันบูรี




กองสลากไท สลากไทพลัส ลำคลองงู

 

กองสลากไท พาเที่ยว ลำคลองงู

กองสลากไท ร่วมกับ สลากไทพลัส พาทุกท่านไปเที่ยว อุทยานแห่งชาติ ลำคลองงู เป็นอุทยานแห่งชาติที่ตั้งอยู่ในอำเภอทองผาภูมิของจังหวัดกาญจนบุรีในประเทศไทย มีพื้นที่ 672.77 ตารางกิโลเมตร ได้รับการจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติใน พ.ศ. 2552 ในเขตอุทยานมีหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติทั้งหมด 9 หน่วย

ลำคลองงู

ประวัติ ลำคลองงู โดย สลากไทพลัส

กรมป่าไม้ได้รับข้อเสนอจากสโมสรโรตารีทองผาภูมิให้จัดตั้งพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาพระฤๅษีบ่อแร่แปลง 2 เป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อกรมป่าไม้พิจารณาแล้ว จึงจัดตั้งพื้นที่ป่าดังกล่าวให้เป็นอุทยานแห่งชาติตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 ต่อมาใน พ.ศ. 2543 ได้มีข้อเสนอให้ดึงพื้นที่ที่จะส่งผลกระทบต่อการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติ ออกจากพื้นที่เตรียมประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติลำคลองงู และในวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2552 อุทยานแห่งชาติลำคลองงูได้รับการประกาศจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 123 ของประเทศไทย

ภูมิศาสตร์

ภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อนวางตัวในทิศเหนือ-ใต้ โดยเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาตะนาวศรี ภูมิอากาศมีอากาศร้อนจัดในฤดูร้อน และหนาวจัดในฤดูหนาว เนื่องจากสภาพพื้นที่เป็นหุบเขาสลับซับซ้อน และเป็นเขตเงาฝน

ป่าไม้ในเขตอุทยานเป็นป่าเบญจพรรณและป่าดิบแล้ง และเป็นผืนป่าเดียวกันกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร สัตว์ป่าในเขตอุทยานมีจำนวนลดลงเพราะชาวบ้านได้บุกรุกพื้นที่และถางป่าเพื่อเป็นแหล่งอาศัยและเพาะปลูก

จุดท่องเที่ยว

  • น้ำตก
  • น้ำตกนางครวญ เป็นน้ำตก 4 ชั้น ความสูง 50-60 เมตร มีต้นกำเนิดจากลำห้วย 2 สาย คือ ห้วยทองผาภูมิและห้วยชะอี้
  • น้ำตกองธิ เป็นน้ำตกขนาดเล็ก 1 ชั้น
  • น้ำตกคลิตี้ เป็นน้ำตกหินปูนซึ่งในบางช่วงมีแอ่งน้ำขนาดใหญ่
  • น้ำตกผาม่าน เป็นน้ำตกขนาดเล็ก 2 ชั้น ชั้นล่างสูง 15 เมตร ชั้นบนสูง 70 เมตร
  • น้ำตกผาเขียว เป็นน้ำตกสูงประมาณ 20 เมตร มีแอ่งน้ำที่สามารถลงเล่นได้ ต้นน้ำมาจากป่าเขาพระฤๅษีบ่อแร่ และสายน้ำที่ไหลลงจากน้ำตกแห่งนี้จะไหลลงสู่แม่น้ำแควน้อยต่อไป
  • ถ้ำ
  • ถ้ำนกนางแอ่น มีม่านหินย้อยขนาดใหญ่ และยังเป็นที่อยู่อาศัยของนกนางแอ่น
  • ถ้ำเวิลด์คัพ มีสถาปัตยกรรมหินปูนสวยงามคล้ายกับถ้วยฟุตบอลโลก
  • ถ้ำน้ำตก มีแสงระยิบระยับอันเกิดจากผลึกแคลไซต์
  • ถ้ำทิพุเชะ เป็นถ้ำน้ำลอดขนาดใหญ่ ยาวประมาณ 1 กิโลเมตร ถือเป็น “ถ้ำเป็น” เพราะยังเกิดหินงอกหินย้อย และสถาปัตยกรรมหินปูนอื่น ๆ
  • ถ้ำเสาหิน มีเสาหินงอกขนาดใหญ่สูง 62.5 เมตร
ภายในลำคลองงู

ที่ทำการอุทยานแห่งชาติลำคลองงู

  • หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ลง.1 (เขาพระอินทร์)
  • หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ลง.2 (คลิตี้)
  • หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ลง.3 (ห้วยเสือ)
  • หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ลง.4 (เกริงกระเวีย)
  • หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ลง.5 (ลำเขางู)
  • หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ลง.6 (คลิตี้ล่าง)
  • หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ลง.7 (องธิ)
  • หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ลง.8 (ดินโส)
  • หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ลง.9 (ทุ่งนางครวญ)

พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาสลับซับซ้อนแนวเขาวางตัวในทิศเหนือ–ใต้เป็นส่วนใหญ่ เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาตะนาวศรี ความสูงของพื้นที่จากระดับน้ำทะเลประมาณ 100 – 1,000 เมตร ยอดเขาที่สำคัญได้แก่ ยอดเขาบ่องาม เป็นแบบมรสุมเขตร้อน โดยได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ในฤดูร้อนและลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือในฤดูหนาว สภาพพื้นที่เป็นหุบเขาสลับซับซ้อนจึงทำให้มีอากาศร้อนจัดในฤดูร้อน และหนาวจัดในฤดูหนาว แบ่งได้เป็น 3 ฤดูได้แก่ ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม ถึง เดือนพฤษภาคม ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน ถึง เดือนตุลาคม ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ถึง เดือนกุมภาพันธ์ ลักษณะท้องฟ้าจะมีเมฆมากในราวเดือนมิถุนายน ถึง เดือนกันยายน และมีเมฆน้อยในเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนเมษายน สภาพป่าโดยทั่วไปของอุทยานแห่งชาติลำคลองงูยังคงมีความอุดมสมบูรณ์อยู่มาก ประกอบด้วยป่าเบญจพรรณและป่าดิบแล้ง ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่

ข้อห้าม ลำคลองงู

ป่าเบญจพรรณแล้งสูงผสมไผ่ พบมากในพื้นที่ลุ่มน้ำตอนบนและตอนปลายของห้วยลำคลองงู ซึ่งมีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 300 เมตรขึ้นไป มีไผ่ 2-3 ชนิด ขึ้นปะปนอยู่ค่อนข้างหนาแน่น ส่วนระดับความสูงกว่า 500 เมตร มีไม้ไผ่ขึ้นปะปนค่อนข้างเบาบาง พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ ประดู่ มะค่าโมง จำปีป่า จำปาป่า ก่อ กระพี้เขาควาย ตะแบก มะเกลือ กาสามปีก ไผ่หก และไผ่รวก เป็นต้น
ป่าเบญจพรรณแล้งต่ำผสมไผ่ พบขึ้นปกคลุมพื้นที่บริเวณที่มีความสูงน้อยกว่า 300 เมตรจากระดับน้ำทะเลลงมา มีไผ่ 2-3 ชนิด ขึ้นปะปนค่อนข้างหนาแน่น
ป่าดิบแล้ง พบบริเวณลำห้วยต่างๆ และตามหุบเขาที่มีความชันมาก ในระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 500-700 เมตร พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ ยาง กระบก กระบาก สมพง มะไฟป่า ชมพู่น้ำ ฯลฯ พืชชั้นล่างได้แก่ เต่าร้าง หวาย และพืชในวงศ์ขิงข่า
พื้นที่อุทยานแห่งชาติลำคลองงู เป็นป่าผืนเดียวกันกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร จึงมีสัตว์ป่าอาศัยอยู่อย่างชุกชุม ปัจจุบันสัตว์ป่ามีจำนวนลดลงเนื่องจากถูกราษฎรในพื้นที่แผ้วถางป่าอันเป็นแหล่งอาศัยและทำลายอย่างหนัก สัตว์ป่าบางส่วนจึงอพยพหนีเข้าไปอาศัยอยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร แต่ก็ยังมีการอพยพย้ายถิ่นที่อยู่และเข้ามาหากินในพื้นที่อยู่เสมอ เท่าที่สำรวจพบและสอบถามจากราษฎรในพื้นที่ได้แก่ เลียงผา ช้างป่า เก้ง กวางป่า หมูป่า หมีควาย เสือลายเมฆ เสือโคร่ง กระจง ลิง ค่าง ชะนี อีเห็น กระรอก กระแต ชะมด หนู นกเงือก พบบริเวณเทือกเขาต่อกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร และเขตอุทยานแห่งชาติเขาแหลม และยังพบนกนางแอ่นลมอาศัยกันอยู่เป็นจำนวนมากบริเวณถ้ำคลองงูตอนกลาง นอกจากนี้ยังมีนกเขาเหยี่ยว นกฮูก นกเค้าแมว นกกระปูด นกปรอด นกกางเขน นกขุนทอง นกแซงแซว นกตะขาบ นกหัวขวาน นกขมิ้น นกกวัก ไก่ป่า ไก่ฟ้า งู ตะกวด ลิ่น ตุ๊กแกป่า กิ้งก่าบิน กิ้งก่าแก้ว จิ้งเหลน ตะขาบ ตะพาบ น้ำ กบ เขียด คางคก ปาด อึ่งอ่าง จงโคร่ง ปลาเวียน ปลากระทิง และปลาก้าง เป็นต้น

รถยนต์ จากจังหวัดกาญจนบุรีเดินทางสู่อำเภอทองผาภูมิตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 323 แล้วเดินทางต่อจากอำเภอทองผาภูมิตามเส้นทางดังกล่าวไปประมาณ 16 กิโลเมตร ถึงบริเวณสามแยกพุทโธเลี้ยวขวาไปประมาณ 12 กิโลเมตร จะมีทางแยกเข้าไปอีก 4 กิโลเมตร ก็จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติลำคลองงู

ทางเดินศึกษาธรรมชาติ ⇔ ทางเดินป่า ⇔ เที่ยวน้ำตก ⇔ เที่ยวถ้ำ/ศึกษาสภาพธรณี ⇔ ดูนก/ดูผีเสื้อ/ส่องสัตว์ ⇔ ดูดาว ⇔ จักรยานเสือภูเขา ⇔ ถ่ายภาพ/วิดีโอ

สลากไทพลัส สลากออนไลน์ ใบละ 80บาท ถูกรางวัลรับเต็ม ไม่หักค่าทำเนียม

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม LINE : @STPLUS

หรือ คลิกที่รูปภาพด้านล่าง



อ่านบทความเพิ่มเติมของ สลากไทพลัส

สลากไทพลัส กองสลากไท เทศกาลแกลสตันบูรี




กองสลากไท สลากไทพลัส วัดหมื่นสาร

 

กองสลากไท พาเที่ยว วัดหมื่นสาร

กองสลากไท และ สลากไทพลัส พาเที่ยวที่ วัดหมื่นสาร เป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญแห่งหนึ่งของเชียงใหม่ มีเจ้าอาวาสที่ทรงภูมิธรรมดังปรากฏในหลักฐานประวัติศาสตร์ที่กล่าวแล้วในตอนต้น ดังนั้น ใน วัดหมื่นสาร แห่งนี้จึงมีคัมภีร์ใบลานจำนวนมาก ซึ่งจากการสำรวจโดยสถาบันวิจัยสังคมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กองสลากไท และ สลากไทพลัส ทราบมาว่าเมื่อราวทศวรรษ 2520 พบคัมภีร์ใบลานของวัดหมื่นสารจำนวน 163 รายการ 815 ผูก อย่างไรก็ดีจากศักราชที่ระบุในใบลานเช่น จศ.1187 ก็พบว่าเป็นเอกสารที่มีอายุประมาณ 200 กว่าปี

วัดหมื่นสาร

ลักษณะเด่น วัดหมื่นสาร

หอศิลป์สุทฺธจิตฺโต เดิมเรียกกันว่า หอเงิน การออกแบบก่อสร้างหอศิลป์สุทฺธจิตฺโต เป็นหอศิลป์ที่สร้างแบบล้านนาประยุกต์ มีบันได้ทางขึ้นที่มุขด้านหน้า 2 ด้าน ซ้าย-ขวา โครงสร้างหอศิลป์มีขนาดกว้าง 6.50 เมตร ยาว 12.1 เมตร ออกแบบโครงสร้างโดยนายอำนวย นันตากาศ ส่วนการออกแบบลวดลายประดับหอศิลป์มี นายจิรศักดิ์ กาวิละ ช่างเงินบ้านวัวลายเป็นสล่าเก๊า โดยได้นำลวดลายที่เป็นลายพื้นเมืองล้านนาดั้งเดิมซึ่งเป็นลายเอกลักษณ์เครื่องเงินบ้านวัวลาย ดุนลายโลหะประดับตกแต่งภายใน และภายนอกหอศิลป์ โดยมีช่างฝีมือชาวบ้านวัวลายทั้งชาย – หญิงหลายคนช่วยกันต้องลายฝากฝีมือประดับหอศิลป์ ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันเสาร์ที่ 9 พฤศจิกายน 2545 โดยครูบาดวงดี สุภัทฺโท วัดท่าจำปี อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นองค์ประธานในพิธี

ประวัติ วัดหมื่นสาร จาก กองสลากไท

ประวัติวัดหมื่นสารมีปรากฏตั้งแต่สมัยพระเจ้าลกติโลกราช กษัตริย์ราชวงศ์เม็งราย องค์ที่ 12 ครองนครเชียงใหม่ เมื่อจุลศักราช 804-840 (พ.ศ. 1985- 2021) ในตำนานพระสิลาว่า ในสมัยนั้น พระมหาญาณโพธิอยู่สำราญในวัดป่าแดงที่นั้น พระลกติโลกราช ทรงสั่งให้ หมื่นคำภา เวียงดิน นำเอาพระสิลาเจ้าไปถวายแด่พระมหาญาณะโพธิในวัดป่าแดงที่นั้นแล ส่วนพระมหาญาณะโพธิเถระเจ้า ก็ให้ทำสักการะบูชาและสรงพระสิลาเจ้าด้วยสุคนธวารี มีประการต่าง ๆ ในขณะยามนั้น ห่าฝนอันใหญ่ก็หลั่งไหลลงมาเป็นอันมากก็มีแล ในกาลเมื่อนั้นอำมาตย์ใหญ่ผู้หนึ่งมีนามว่า หมื่นหนังสือวิมลกิตติ เป็นสังฆการีนั้น ก็ให้สร้างวิหารในวัดหมื่นสารแล้วก็ไปอาราธนาเอาพระสิลาเจ้าจากวัดป่าแดงมาประดิษฐานไว้ในวัดหมื่นสาร เพื่อให้จำเริญรุ่งเรืองในพระพุทธศาสนาต่อไปภายหน้า มหาสวามีเจ้าตนเป็นสังฆนายกอยู่ในวัดหมื่นสารมีนามว่า พุทธญาณเถร ก็ไปยังวัดสวนดอกไม้แล้วก็อาราธนาพระสิลาเจ้าไปเพื่อกระทำสักการะบูชาแล้วนิมนต์กลับมาวัดหมื่นสารดังเดิมนั้นแล ซึ่งแสดงว่าวัดหมื่นสารมีมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าลกติโลกราชแล้วและคงเป็นวัดสำคัญเพราะเจ้าอาวาสเป็นถึงชั้น “มหาสวามีสังฆนายก”

ทางเข้า วัดหมื่นสาร

นอกจากนี้ยังปรากฏในพงศาวดารโยนก ฉบับหอสมุดแห่งชาติหน้า 401 บรรทัดที่ 10 กล่าวว่า ลุศักราช 884 (พ.ศ. 2065) พระเจ้าอาทิตยวงศ์ เสวยราชสมบัติ ณ กรุงเทพมหานครศรีอยุธยา แต่งราชทูตมาสืบทางราชไมตรีพระเจ้าเชียงใหม่จัดการรับรองราชทูตพอสมควรแปลพระราชสาส์นยังวัดหมื่นสารดังนี้ ซึ่งในสมัยนั้นตรงกับสมัยพระเมืองแก้ว ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 14 แห่งราชวงศ์เม็งราย และในตำนานวัดต่าง ๆ (ธรรมก้อมหรือธรรมประวัติเรื่องสั้น) จารไว้ในใบลานด้วยอักษรพื้นเมืองซึ่งพระมหาหมื่นญาณวุฑฒิ วัดเจดีย์หลวง ได้กล่าวถึง การตั้งชื่อวัด คำว่า “ หมื่นสาร ” ไว้ว่า ศักราช 888 (พ.ศ. 2069) สมัยแผ่นดินพระเมืองเกษเกล้า กษัตริย์นครพิงค์ องค์ที่ 15 แห่งราชวงศ์เม็งรายธานี แห่งแคว้นลานนาไทย สมัยนั้นมีเสนาอามาตย์ ผู้หนึ่ง ชื่อวิมลกิตติ (นายทหารยศชั้นหมื่น) ได้ฐาปนาพระอารามนี้ขึ้น โดยมีบาลีกล่าวไว้ซึ่งแปลได้ว่า อาวาสนี้ อันหมื่นวิมลกิตติ ผู้เป็นมหาโยธา (ทหารผู้ใหญ่) ในนครนี้ตั้งไว้แล้วสำหรับหมื่นวิมลกิตตินี้มีชื่อปรากฏอยู่หลายแห่งหลายสมัยหลายกษัตริย์ด้วยกัน เมื่อสร้างวิหารเพื่อประดิษฐานพระศิลานั้นอยู่ในสมัยพระเจ้าลกติโลกราช และปรากฏในศิลาจารึกวัดร่ำเปิง (ตโปทาราม) เมื่อสร้างวัดร่ำเปิง เป็นสมัยพระเจ้ายอดเชียงราย และเมื่อฐาปนาอารามวัดหมื่นสารครั้งหลังนี้อยู่ในสมัยพระเมืองเกษเกล้าดังกล่าว ชื่อเต็มของท่านมีชื่อว่า “ หมื่นหนังสือวิมลกิตติสิงหละราชมนตรี ” เป็นสังฆการีและเกี่ยวกับการรับรองราชทูตและแปลพระราชสาส์น ท่านได้อุปถัมภ์วัดหมื่นสารมาตลอด วัดนี้จึงได้ชื่อว่า “วัดหมื่นสาร”

โบราณวัตถุสถาน

  • เจดีย์และลวดลายหน้าบันของวิหารที่มองเห็นกันส่วนใหญ่เป็นศิลปะแบบพม่า เนื่องจากปี พ.ศ.25460 หรือปีมะเส็ง ปี จ.ศ.1279 ได้มีคหบดีท่านหนึ่ง คือ หลวงโยนะการพิจิตร หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า คุณหลวงโยฯ ซึ่งเป็นต้นตระกูล “อุปะโยคิน” ซึ่งมีพื้นเพเดิมเป็นชาวพม่าได้สละทุนทรัพย์สร้างขึ้นมาทดแทนของเดิมที่เสียหาย

รายนามเจ้าอาวาส

  • ท่านมหาชินวงษ์เถระ
  • ท่านพระครูบาชัยยะ
  • ท่านพระครูอนุสรณ์ศีลขันธ์ (ชมพู)
  • ท่านพระปลัดคำใส คุโณ
  • ท่านพระครูอนุสรณ์ศีลขันธ์ (อนันต์ ธมมธโร)
  • พระมหาโผน ภททจารี

สลากไทพลัส สลากออนไลน์ ใบละ 80บาท ถูกรางวัลรับเต็ม ไม่หักค่าทำเนียม

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม LINE : @STPLUS

หรือ คลิกที่รูปภาพด้านล่าง



อ่านบทความเพิ่มเติมของ สลากไทพลัส

สลากไทพลัส กองสลากไท เทศกาลแกลสตันบูรี




กองสลากไท สลากไทพลัส วัดพระธาตุเขาน้อย น่าน

 

กองสลากไท สลากไทพลัส พาชม วัดพระธาตุเขาน้อย จังหวัดน่าน

ไม่ว่าใครที่ได้ไปสัมผัส น่าน ก็คงจะติดใจในกลิ่นอายของเมืองเล็กๆ แต่มีเสน่ห์น่าค้นหา และอดใจไม่ได้ที่จะกลับมาที่นี่อีกครั้ง สำหรับวันนี้ กองสลากไท และ สลากไทพลัส จะพาไป เที่ยวน่าน กับ จุดชมทะเลหมอก วิวที่สวยที่สุดของจังหวัดน่าน ที่ วัดพระธาตุเขาน้อย พร้อมนมัสการองค์พระธาตุคู่บ้านคู่เมืองน่านกันค่ะ

วัดพระธาตุเขาน้อย

วัดพระธาตุเขาน้อย ตั้งอยู่บนยอด ดอยเขาน้อย ทางด้านตะวันตกของตัวเมืองน่านค่ะ องค์พระธาตุตั้งอยู่บนยอดดอยเขาน้อย สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 240 เมตรเลยทีเดียว เป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูนทั้งองค์ งดงามแบบศิลปะพม่าผสมล้านนา สันนิษฐานว่ามีสร้างขึ้นในสมัยเดียวกับ พระธาตุแช่แห้ง อีกด้วย

ภายในองค์พระธาตุบรรจุ พระเกศาธาตุ ของพระพุทธเจ้า จึงเป็นปูชนียสถานที่สำคัญและเก่าแก่อีกแห่งหนึ่งของจังหวัดน่าน จึงทำให้ที่นี่เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่มีผู้คนมาสักการะอยู่เป็นประจำค่ะ

ประวัติ วัดพระธาตุเขาน้อย

ตามประวัติ พระธาตุเขาน้อย สร้างในสมัยของเจ้าปู่แข็ง เจ้าผู้ครองนครน่าน เมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 20 องค์พระธาตุเป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูนทั้งองค์ เป็นศิลปะพม่าผสมล้านนา จนกระทั่งมีการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ ในสมัยพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ ในปี พ.ศ.2449-2454 โดยช่างชาวพม่า

พระพุทธมหาอุตมมงคลนันทบุรีศรีเมืองน่าน

นอกจากเราจะได้มาสักการะบูชาพระธาตุคู่บ้านคู่เมืองน่านกันแล้ว ตรงจุดลานปูนนั้น ประดิษฐานพระพุทธรูปองค์ใหญ่ คือ พระพุทธมหาอุตมมงคลนันทบุรีศรีเมืองน่าน ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางประทานพร บนฐานดอกบัวสูง 9 เมตร บนยอดพระเกศาทำจากทองคำหนัก 27 บาท สร้างขึ้นเนื่องในมหามงคลที่ รัชกาลที่ 9 ทรงเจริญ พระชนมพรรษา 6 รอบ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2542 ค่ะ

จุดชมวิวทะเลหมอก วัดพระธาตุเขาน้อย

และในบริเวณที่ประดิษฐาน พระพุทธมหาอุตมมงคลนันทบุรีศรีเมืองน่าน นี้ ยังเป็น จุดชมวิวทะเลหมอก ในยามเช้า ที่เราจะสามารถมองเห็นหมอกปกคลุมไปทั่วบริเวณสวยงามจริงๆ ค่ะ แต่ในช่วงกลางวัน แม้จะไม่ได้สายหมอก แต่ก็เป็นจุดชมวิวเมืองน่านที่สวยงามมากๆ เราจะมองเห็นวิวของเมืองน่านได้ทั้งเมือง โดยมีภูเขาเป็นฉากหลังที่โอบล้อมเมืองอยู่อย่างสวยงามอลังการมากทีเดียวค่ะ

ข้อมูลเพิ่มเติม วัดพระธาตุเขาน้อย น่าน

ที่อยู่ : ตำบลดู่ใต้ อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน
พิกัด : https://goo.gl/maps/cv8AoPvPbwP98bDu8
เปิดให้เข้าชม : 06.00-18.00 น.

ที่พักใกล้เคียง

โรงแรมน้ำทองน่าน

ทำเลที่ตั้งของโรงแรมน้ำทองน่านเรียกว่าดีงามสุดๆ ค่ะ เพราะอยู่ใจกลางเมืองใกล้กับสถานีขนส่งน่าน เรียกได้ว่าลงรถทัวร์ปุ๊บก็เดินมาที่พักได้เลย และบริเวณหน้าที่พักยังมีร้านอาหารให้เลือกทานมากมาย อีกทั้งจากที่พักสามารถเดินทางไปเที่ยวที่เที่ยวสำคัญในเมืองอาทิ วัดศรีพันต้น วัดภูมินทร์ วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร และกาดข่วงเมืองน่าน ด้วยการปั่นจักรยานได้ค่ะ ใกล้มากๆ ใช้เวลาประมาณ 10 นาทีเท่านั้น

ที่พักมาพร้อมมาตรฐาน SHA (Amazing Thailand Safety and Health Administration) มาตรฐานในเรื่องความปลอดภัยด้านสุขอนามัยเพื่อนักท่องเที่ยว ทำให้ที่นี่มีมาตรการในเรื่องความสะอาดสุขอนามัย และการป้องกันการแพร่กระจายโรคเชื้อไวรัสโควิด-19 อย่างรัดกุม

สำหรับที่พักจะสร้างเป็นอาคารสไตล์โมเดิร์นค่ะ มีสระว่ายน้ำส่วนกลางให้บริการ

ส่วนห้องพักจะมีให้เลือก 2 แบบ คือห้อง Superior และ Deluxe ค่ะ วันนี้เราขอนำห้องแบบ Superior มาให้เพื่อนๆ ชมกันค่ะ ซึ่งห้องพักที่นี่จะมีขนาด 29 ตารางเมตร พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกภายในห้องมากมาย อาทิ ผ้าขนหนู, รองเท้าแตะ ,ไดร์เป่าผม, ตู้เย็นมินิบาร์,โทรศัพท์, กาน้ำร้อนพร้อมชา กาแฟ ในห้องพัก,แอลซีดีทีวี,ฟรีไวไฟ,พร้อมระเบียงให้ชมบรรยากาศด้านนอก และที่สำคัญที่เราชอบที่นี่มากคือเครื่องนอนของเขาจะใช้ระดับโรแรม 5 ดาว ทำให้นอนสบายไม่อยากตื่นเลยค่ะ 

ที่ตั้ง : 321 ม.6 ต.ดู๋ใต้ อ.เมืองน่าน จ.น่าน
เบอร์ติดต่อ : 054775777, 088-2574413
พิกัด GPS : https://goo.gl/maps/dzVxNwK5TuY6sphu9

น่านการ์เดนรีสอร์ท

เป็นรีสอร์ทน่านแห่งใหม่อยู่ห่างจากเขตเทศบาลเมืองน่านเพียง  1.5 กม ในสวนธรรมชาติที่สวยงาม เนื้อที่ 18 ไร่ ท่านจะได้สัมผัสกับบรรยากาศอันร่มรื่น เงียบสงบ ในที่พักส่วนตัว กระท่อมมุงคาทรงกลม ภายในตกแต่งเรียบง่ายแต่สะอาดและสะดวกสบาย มีสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น เครื่องปรับอากาศและโทรทัศน์ มีระเบียงชมวิวและดูดาวของน่านฟ้า เรามีสระว่ายน้ำมาตรฐาน ขนาด 6X12 เมตร สำหรับผู้ใหญ่พักผ่อนคลายร้อน และสระเด็กขนาด 3X3 เมตร สำหรับบุตรหลานของท่านได้สนุกสนาน สำหรับท่านที่ชื่นชอบการวิ่งออกกำลังกายหรือขี่จักรยาน เรามีทางที่ร่มรื่นยาวประมาณหนึ่งกิโลเมตร ห้องพักของเรามีให้เลือกทั้งแบบเตียงคิงไซส์และเตียงคู่ ทางโรงแรมมีบริการฟรีอินเตอร์เน็ตด้วยสัญญาณ wifi และมีรถบริการรับ-ส่งฟรีจากสนามบินหรือสถานีขนส่งของจังหวัดน่าน

ที่นี่ไม่เป็นแค่ห้องสำหรับค้างคืน รีสอร์ทของเราเหมาะสำหรับการมามาหาความเงียบสงบ พักผ่อน อ่านหนังสือ เล่นน้ำในสระ หรือเดินชมไม้พรรณต่างฯกว่า 500ชนิดที่อยู่ในบริเวณรีสอร์ท

สามารถนำสัตว์เลี้ยงเข้ามาพักได้

ที่ตั้ง : 371 ม.6 ต.ผาสิงห์ อ.เมือง
เบอร์ติดต่อ : 0875294466
พิกัด GPS : https://www.google.com/travel/hotels/s/4tJYomjwdQGCcXNn9

สลากไทพลัส สลากออนไลน์ ใบละ 80บาท ถูกรางวัลรับเต็ม ไม่หักค่าทำเนียม

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม LINE : @STPLUS

หรือ คลิกที่รูปภาพด้านล่าง



อ่านบทความเพิ่มเติมของ สลากไทพลัส

สลากไทพลัส กองสลากไท เทศกาลแกลสตันบูรี




วันเสาร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

สลากไทพลัส กองสลากไท เทศกาลเบิร์นนิ่งแมน

 

เทศกาลเบิร์นนิ่งแมน สหรัฐอเมริกา (Burning Man, USA)

สวัสดีทุกคน วันนี้ สลากไทพลัส ร่วมกับ กองสลากไท ขอพาทุกคนมาทำความรู้จักกับ เทศกาลเบิร์นนิ่งแมน Burning Man จัดขึ้นมาตั้งแต่เมื่อ 33 ปีก่อน โดยสองผู้ก่อตั้งอย่าง ลาร์รี ฮาร์วี และเจอร์รี เจมส์ โดยจัดขึ้นบนชายหาดเบเกอร์ รัฐซานฟรานซิสโก ในครั้งแรกสุดของเทศกาล Burning Man นั้นมีผู้เข้าร่วมเพียง 35 คนเท่านั้น โดยเป็นการมานัดเจอระหว่างเพื่อนเพื่อสังสรรค์กัน 

และในช่วงท้ายของค่ำคืนได้มีการสร้างหุ่นจำลองลักษณะคล้ายมนุษย์ผู้ชาย พวกเขาเผามันเพื่อแสดงถึงการ ‘แสดงออกอย่างรุนแรง’ ของธรรมชาติที่กระทำต่อมนุษย์ และใครจะไปรู้ว่าเพียงแค่การมานั่งสังสรรค์กันริมหาดในวันนั้น การเผาหุ่นจำลองคล้ายจะเป็นการบูชายัญเหมือนในหนังเรื่อง The Wicker Man (1973) จะกลายมาเป็นเทศกาลที่มีผู้เข้าร่วมเหยียบแสนคนในปีล่าสุดนี้

ชื่อเทศกาล Burning Man นี้ตั้งมาจากไฮไลต์สำคัญของเทศกาลเอง ที่จะมีการก่อสร้างหุ่นฟางขนาดใหญ่ไว้ในงานและเผามันในช่วงท้ายๆ ของเทศกาล ซึ่งการเผาที่ว่านี้มีจุดเริ่มต้นจากการจัดงาน Burning Man เล็กๆ นี้บนชายหาดเบเกอร์ ในรัฐซานฟรานซิสโก ซึ่งการเผาหุ่นที่เสมือนเป็นมนุษย์นั้นเป็นการสร้างความทรงจำและเป็นสักขีพยานในการมารวมตัวกันของพวกเขาในครั้งแรก

ซึ่งเป็นไอเดียเดียวกับสิ่งที่เรียกว่า Bonfire Ritual หรือพิธีกรรมที่จะมีการก่อกองไฟเพื่อการรวมกลุ่มกันของมนุษย์ ก่อนที่พวกเขาจะหยิบจับกิจกรรมตรงนี้มาตั้งเป็นชื่อเทศกาล ทั้งยังเป็นการสร้างภาพจำให้กับผู้คนที่มาร่วมงานในปีหลังๆ อีกด้วย

สลากไทพลัส : สัญลักษณ์แห่งความอบอุ่น ใน เทศกาลเบิร์นนิ่งแมน

ย้อนกลับไปเมื่อครั้งมนุษย์เพิ่งจะค้นพบสิ่งที่เรียกว่า ‘ไฟ’ เจ้าเปลวเพลิงร้อนแรงนี้คือสัญลักษณ์ของความอบอุ่น ความปลอดภัย และการป้องกันตัว ก่อนที่กองไฟดังกล่าวจะพัฒนาจนเป็นสัญลักษณ์หนึ่งของการรวมตัวกันของมนุษย์ ลองนึกถึงวิชาลูกเสือเนตรนารีที่เราจะมีกิจกรรมการแสดงรอบกองไฟ จริงๆ แล้วก็คงคล้ายๆ เช่นนั้นเลย ซึ่งในเทศกาล Burning Man ก็เช่นกัน

เขานำเอาหุ่นขนาดยักษ์มาตั้งไว้ก่อนจะเผามันในคืนวันก่อนสิ้นสุดเทศกาล เพื่อเป็นการบ่งบอกถึงการมาอยู่ร่วมกันของทุกๆ คนในเทศกาล โดยเริ่มต้นจากไซส์เพียง 8 ฟุต (ประมาณ 2.4 เมตร) ในปีแรก ก่อนจะค่อยๆ พัฒนาขึ้นมาเป็น 12 เมตร 15 เมตร และ 22 เมตร ตามลำดับ และสูงที่สุดเท่าที่มีการบันทึกไว้ได้คือ 32 เมตรในปี 2011 และ 2014 ก่อนจะค่อยๆ ลดขนาดลงมาเหลือเพียง 13 เมตรในปี 2016-2017 เนื่องด้วยเหตุผลของความปลอดภัยนั่นเอง

ไฮไลต์ของงาน เทศกาลเบิร์นนิ่งแมน

จุดเด่นของ เทศกาลเบิร์นนิ่งแมน คงหนีไม่พ้นการมาร่วมกันแสดงพลังไอเดียของงานศิลปะที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นงานอินสตอลเลชัน งานประติมากรรม คอสตูม หรือการรังสรรค์รถยนต์ทุกคันที่ขับเข้ามาในบริเวณแบล็กร็อกซิตี้ ซึ่งเป็นพลังที่ยิ่งใหญ่จริงๆ เมื่อเทียบกับขนาดและสถานที่จัดงานบนทะเลทรายเวิ้งว้าง ใครจะไปคิดว่าเราจะสามารถกินนอนบนรถกลางทะเลทรายแบบไม่มีฟูกนอนก็ได้ หรือพบเจอประติมากรรมขนาดท่วมหัวได้ สลากไทพลัส กองสลากไท

ประเด็นหลักของการนำเอางานศิลปะหลากหลายแขนงมาไว้ที่แบล็กร็อกซิตี้แห่งนี้ก็เพื่อสร้างความเข้าใจให้กับผู้คนที่มาร่วมงานให้ร่วมกันแสดงออกถึงจิตวิญญาณของความสร้างสรรค์ ทั้งยังเคารพและให้เกียรติศิลปะที่เต็มไปด้วยเรื่องราวที่หลากหลายจากผู้คนมากมาย เพราะพวกเขาเชื่อว่าศิลปะคือการสร้างการสื่อสารที่มีพลัง ทั้งยังสร้างปฏิสัมพันธ์ให้กับผู้คนมากมาย

ขอบคุณข้อมูล : https://thestandard.co/burning-man/

สลากไทพลัส สลากออนไลน์ ใบละ 80บาท ถูกรางวัลรับเต็ม ไม่หักค่าทำเนียม

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม LINE : @STPLUS

หรือ คลิกที่รูปภาพด้านล่าง


อ่านบทความเพิ่มเติมของ สลากไทพลัส

สลากไทพลัส กองสลากไท อุโมงค์แห่งความรัก




ป้อมไพรีพินาศ

ที่เที่ยวโบราณ ป้อมไพรีพินาศ จังหวัดจันทบุรี ป้อมไพรีพินาศ ตั้งอยู่บนเขาแหลมสิงห์ หมู่ 1 ตำบลบางกะไชย อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี เป็นป้อ...