วันจันทร์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2566

วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร สลากไทพลัส กองสลากไท

 


วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร จ.สุพรรณบุรี สลากไทพลัส กองสลากไท

ถ้ามาเมืองสุพรรณ แล้วไม่ได้แวะมากราบไหว้หลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์ ก็เหมือนมาไม่ถึงเมืองสุพรรณ ด้วยที่วัดป่าเลไลยก์เป็นวัดสำคัญ คู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดสุพรรณ เป็นวัดที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน ในช่วงวันหยุดจะมีผู้คนมากมายมากราบไหว้ขอพร และยิ่งเป็นวันหยุดยาว จะเป็นที่ที่คนนิยมมากเป็นอันดับต้นๆของจังหวัดสุพรรณ ถ้าหากมีโอกาสมาเมืองสุพรรณ สถานที่แรกที่ไม่ควรผ่านเลยแวะชมความงดงามขอหลวงพ่อโต และกราบไหว้เพื่อเป็นศิริมงคล วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร จ.สุพรรณบุรี สลากไทพลัส กองสลากไท มีความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวสถานที่แห่งนี้ มาให้ทุกท่าน

ประวัติวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร จ.สุพรรณบุรี

   เป็นวัดเก่าแก่ สันนิษฐานว่ามีอายุราว 1200 ปี ตั้งอยู่ริมถนนมาลัยแมน ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมือง ชาวบ้านทั่วไปเรียกว่าวัดป่าภายในวิหาร เป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อโต ปางป่าเลไลยก์

ในพงศาวดารเหนือกล่าวว่า

“ขณะนั้นพระเจ้ากาแต เป็นเชื้อมาแต่นเรศน์ หงษาวดี ได้มาเสวยราชสมบัติ แล้วมาบูรณวัดโปรดสัตววัดหนึง วัดภูเขาทองวัดหนึ่ง วัดใหญ่วัดหนึ่ง สามวัดนี้แล้ว จึงให้มอญน้อยเปนเชื้อมาแต่พระองค์ ออกไปสร้างวัดสนามไชย แล้วมาบูรณวัดพระป่าเลไลยในวัดลานมะขวิด แขวงเมืองพันธุมบุรีนั้น ข้าราชการบูรณวัดแล้ว ก็ชวนกันบวชเสียสิ้นสองพันคน จึงขนานนามเมืองใหม่ชื่อว่าเมืองสองพันบุรีแล้วพระองค์จึงยกนาเปนส่วนสัดวัดไว้ พระองค์อยู่ในสิริราชสมบัติ ๔๐ ปีจึงสวรรคต จุลศักราช ๕๖๕ (พ.ศ. ๑๗๒๔) ขาลเบญจศก”

หลวงพ่อโต เป็นพระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์ ศิลปะสมัยอู่ทอง สุพรรณภูมิ (คือประทับนั่งห้อยพระบาท)  มีนักปราชญ์หลายท่านว่า เดิมคงเป็นพระพุทธรูปปางปฐมเทศนา สร้างไว้กลางแจ้งอย่างพระพนัญเชิงสมัยแรกต่อมาได้มีการบูรณะ ซ่อมแซมใหม่ และทำเป็นปางป่าเลไลยก์ ดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ภายในองค์พระพุทธรูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ 36 องค์ ที่ได้มาจากพระมหาเถรไลยลาย

วัดป่าเลไลยก์ มีความเกี่ยวข้องกับวรรณคดีอันลือชื่อของไทย  คือ เสภาขุนช้างขุนแผน นิราศเมืองสุพรรณของสุนทรภู่  ปัจจุบัน วัดป่าเลไลยก์ มีสถานะเป็น พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหา

ประวัติวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร (อีกทางหนึ่ง) โดย สลากไทพลัส

วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมืองฯ จังหวัดสุพรรณบุรี ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำสุพรรณบุรี หรือท่าจีน ห่างจากฝั่งประมาณ2 กิโลเมตร เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร เนื้อที่กว้าง 82 ไร่ 1 งาน มีโบราณสถานอันเป็นประธานของวัด คือ พระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์ ซึ่งเรียกกันว่า “ หลวงพ่อโตวัดป่าไลไลยก์” 

ตามหลักฐานเดิมสันนิษฐานกันว่า มีอายุในราวสมัยอู่ทอง เนื่องด้วยขณะนั้น ยังไม่ได้มีการศึกษาค้นคว้า จึงเชื่อกันอย่างนั้นเรื่อยมาเมื่อมีการศึกษาค้นคว้าในระยะหลังๆ ทำให้ทราบได้ว่า วัดป่าเลไลยก์น่าจะมีอายุไม่น้อยกว่า 1000 ปีขึ้นไป โดยมีหลักฐานต่างๆ จากโบราณวัตถุเป็นข้อสนับสนุน อ้างอิง เพียงพอที่จะตั้งเป็นสมมติฐานใหม่ขึ้นได้

หลวงพ่อโตวัดป่าเลไลยก์ เป็นพระก่ออิฐถือปูนขนาดใหญ่ มีความสูงถึง 23.47 เมตร สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ มีลายพระหัตถ์ถึงศาสตราจารย์หลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ อดีตอาจารย์มหาวิทยาลัยศิลปากรว่า “พระพุทธรูปป่าเลไลยก์ เป็นของเก่าก่อนวัตถุอื่น ลักษณะทันสมัยอู่ทอง และสร้างเป็นพระพุทธรูปปางแสดงพระธรรมจักรเหมือนอย่างพระประทานที่พระปฐมเจดีย์ มีกุฏิครอบเฉพาะองค์พระ มาร้างวิหารต่อชั้นหลัง 

ส่วนองค์พระนั้นเคยชำรุดถึงพระกรหักหาย คนชั้นหลังปฏิสังขรณ์ เมื่อมีความรู้เรื่องพระแสดงปฐมเทศนาสูญเสียแล้วจึงทำเป็นปางป่าเลไลยก์ ความกล่าวในข้อนี้ยังมีข้อสังเกตด้วยพระกรเล็กกว่ากันเกือบข้างหนึ่ง และซุ้มเดิมที่สร้างวิหารก็ยังปรากฏอยู่ “

ตามที่กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงพระวินิจฉัยว่า หลวงวัดป่าเลไลยก์ มีอายุทันสมัยอู่ทองนั้นมีความจริงอยู่บ้าง โดยความเป็นจริงแล้วอาจจะสูงกว่าสมัยอู่ทองขึ้นถึงสมัยลพบุรีและทวารวดีเสียด้วยซ้ำไป เมื่อ พ.ศ. 1706 พระเจ้ากระแต ผู้ซึ่งมีเชื้อสายนเรศวรหงสาววดีพาไพรพลมาครองราชย์ที่เมืองพันธุมบุรี ได้ให้มอญน้อยเป็นเชื้อสายพระวงศ์ของพระองค์ ไปสร้างวัดสนามไชยแล้วมาบูรณะ วัดป่าเลไลยก์ในวัดลานมะขวิด แขวงเมืองพันธุมบุรี เมื่อข้าราชการบูรณะวัดแล้วพากันออกบวชเสียสิ้นสองพันคน จึงขนานนามเมืองใหม่ว่า “เมืองสองพันบุรี” พระเจ้ากาแตอยู่ในราชสมบัติ 40 ปี สวรรคต พ.ศ.1741 ซึ่งในช่วงนี้อยู่ในสมัยลพบุรี

   โดยพุทธลักษณะของหลวงพ่อโตวัดป่าเลไลยก์แล้ว พระพักตร์มีเค้าเป็นศิลปะอู่ทองกลาย ๆ เพราะพระหนุ (คาง) เป็นเหลี่ยม ความเป็นจริงแล้วพระหนุเป็นเหลี่ยม นี่ส่อเค้าให้เห็นว่าได้รับอิทธิพลถ่ายทอดมาจากศิลปะทวารวดี

หลวงพ่อวัดป่าเลไลยก์ได้รับการบูรณะถึง 3 ครั้ง ครั้งแรก เมือ พ.ศ.1706 โดยมอญน้อย ครั้งที่ 2 ในสมัยอยุธยาตอนปลาย สมเด็จพระที่นั่งสุริยาสน์ อมรินทร์ ในราชกาลที่ 3 กษัตริย์พระองค์สุดท้ายแห่งกรุงศรีอยุธยา ทรงโปรดให้พระยาสีหราชเดโชไชย ไปสร้างวิหารวัดป่าเลไลยก์ ครั้งที่ 3 ในราชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้พระยานิกรบดินทร์ มาบูรณะปฏิสังขรณ์ 

การบูรณปฏิสังขรณ์ในราชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์นั้น อันสืบเนื่องมาจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในขณะที่ยังไม่ได้ครองราชย์ พระองค์ทรงผนวชเสด็จธุดงค์มาจังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อนมัสการหลวงพ่อโตวัดป่าเลไลกย์ ทรงพบเห็นวัดป่าเลไลยก์รกร้าง ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา และปกครองวัด จึงทำให้สภาพของวัดป่าเลไลยก์เสื่อมโทรมมาก เมื่อเข้านมัสการหลวงพ่อโตวัดป่าเลไลยก์ แล้วทรงอธิษฐานว่า ถ้าหากได้ขึ้นครองราชย์เมื่อไดก็จะมาบูรณะปฏิสังขรณ์ถวาย 

เมื่อพระองค์ขึ้นครองราชย์ในช่วงของการครองราชย์ โปรดเกล้าให้พระยานิกรบดินทร์มาบูรณะปฏิสังขรณ์วัดป่าเลไลยก์ โดยขุดคลองตั้งแต่วัดประตูสาร ซึ่งอยู่ริมแม่น้ำสุพรรณ ล่องแพซุงเข้าไปจนถึงวัดป่าเลไลยก์ สร้างหลังคาข้างละสองชั้น ทำฝาผนังรอบนอก รวมหลังคาพระวิหาร ข้างละ 5 ชั้น พร้อมซ่อมองค์หลวงพ่อโตวัดป่าเลไลยก์ด้วย สร้างพระพุทธรูปไว้อีก 2 องค์ อยู่ในวิหารเบื้องหน้าหลวงพ่อวัดป่าเลไลยก์ทั้งซ้าย และ ขวาประดิษฐานตราพระมงกุฏอยู่ที่หน้าบันพระวิหารเป็นเครื่องหมาย

วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร ในปัจจุบันนี้ กองสลากไท

การเดินทางไปวัดป่าเลไลยก์นั้นไม่ยากเลย เพราะว่าวัดนี้ตั้งอยู่ในตัวเมืองสุพรรณบุรี ถ้าท่านเดินทางมาด้วยรถส่วนตัวจะยิ่งสดวก แต่ถ้าท่านมาโดยรถประจำทางก็มาลงในตัวจังหวัดหรือที่สถานีขนส่ง จะมีรถรับจ้างเป็นรถสองแถววิ่งรอบๆตัวเมือง ซึ่งผ่านวัดด้วย ถ้าดูตามแผนที่ข้างล่างนี้จะเห็นได้ว่า วัดป่าเลไลยก์ ไปได้อย่างสะดวกในหลายๆเส้นทาง

หลวงพ่อโตวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร จ.สุพรรณบุรี ในปัจจุบันนี้ โดย สลากไทพลัส

กองสลากไท : วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร จ.สุพรรณบุรี สลากไทพลัส

ในจดหมายเหตุรัชกาลที่ ๔ จ. ศ. ๑๒๒๐ ซึ่งตรงกับพุทธศักราช ๒๔๐๑ ทำให้ทราบได้แน่ชัดว่า วิหารพร้อมองค์หลวงพ่อโตได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ ดังเนื้อความในจดหมายเหตุที่ว่า

    สารตรา ท่านเจ้าพระยาจักรี มาถึงพระยาสุพรรณ พระปลัด กรมการ ด้วยบอกเข้าไปแล้วว่า ได้เกณฑ์เลขโยมสงฆ์เมืองสุพรรณขอแรงขุนหมื่นในกรมการผลัดเปลี่ยนกันทำวัดพระป่าเลไลยเดือนละ ๔ ผลัด เป็นคน ๒๐ คน ได้ปลูกทำร่มพระและก่อปั้นต่อพระกรตั้งแต่พระอังสะจนถึงฝ่าพระหัตถ์ที่ชำรุดแตกพังเสร็จแล้ว ยังแต่พระรัศมี ยังไม่มีไม้ขอนสักจะทำ ได้ลงรักพระปฏิมากร ๒ ครั้ง ยังแต่จะลงรักน้ำเกลี้ยงต่อไป

    ได้ปลูกศาลา ๒ หลัง จ้างจีนขุดสระๆ หนึ่ง ได้รื้อผนังด้านเหนือด้านใต้ แต่ผนังด้านหน้ายังไม่ได้รื้อ ถ้ารื้อเสร็จแล้วไปขอเลข ๑๒๐คน ผลัดเปลี่ยนกันมาทำวัดนั้น ได้ทำหนังสือบอกขึ้นกราบบังคมทูลแด่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทราบใต้ฝ่าละอองแล้ว

    มีพระบรมราชโองการดำรัสเหนือเกล้าว่า วัดพระป่าเลไลยเป็นวัดเก่าโบราณ พระพุทธปฏิมากรชำรุดแตกหักมาก ได้โปรดให้เจ้าพระยา นิกรบดินทร์ฯ ออกมาดูการสิ่งใดชำรุด ได้บัญชาให้พระยาสุพรรณ กรมการ เร่งจัดทำขึ้นนั้นชอบดีอยู่แล้ว และพระยาสุพรรณ กรมการ บอกขอเลข ขอไม้ยอดพระรัศมี ขอไม้ขอนสัก ไม้เสาใช้สอยเป็นการวัดพระป่าเลไลยนั้น ก็ให้เจ้าพระยานิกรบดินทร์ฯดูแลอย่าให้ขัดสน พระยาสุพรรณ กรมการ จะได้เร่งรัดทำต่อไป

 เจ้าพระยานิกรบดินทร์ฯ กราบบังคมทูลพระกรุณา ยอดพระรัศมีก็ได้ให้แต่งตัวใหม่อยู่ทุกวัน เสาไม้ก็ได้ให้ขุนหมื่นคุมเงินไปจัดซื้ออยู่ แล้วจะส่งไม้ออกไปภายหลัง แต่เลขเมืองสุพรรณนั้นให้พระยาสุพรรณ กรมการ เกณฑ์ขอแรงผลัดเปลี่ยนกันมาทำวัดป่าเลไลยก็ตามบอกขอเข้าไปเถิด

และการรื้อ – ต่อผนัง กับของสิ่งใดที่ควรจะต้องทำก็ให้พระยาสุพรรณ กรมการ เร่งรัดทำไปพลางๆ สุดแต่อย่าให้ของค้าง อย่าให้คนว่างเปล่าได้เป็นอันขาดทีเดียว กับให้จัดเรือและคนรับเงินปูนผงจากพวกด่านเขมร เข้าไปส่ง ณ กรุงเทพฯ จงเนืองๆ ด้วย ได้ลงมือทำสิ่งใดแล้วไปกี่ส่วน ยังกี่ส่วนจะต้องการของสิ่งใดบ้าง ให้พระยาสุพรรณ กรมการ บอกรายการเข้าไปจงเนืองๆ จะได้กราบบังคมทูลพระกรุณาให้ทราบใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทสารตรามา ณ วันศุกร์ ขึ้น ๒ ค่ำ เดือนอ้าย โทศก

งานเทศกาลสมโภช และ นมัสการ วัดป่าเลไลยก์ โดย สลากไทพลัส กองสลากไท

งานนมัสการหลวงพ่อโตวัดป่าเลไลย์ฯ เป็นประเพณีปฏิบัติสืบมาแต่สมัยโบราณ จัดขึ้นปีละ 2 ครั้ง ในวันขึ้น 5 ค่ำ – 9 ค่ำ เดือน 5 และวันขึ้น 5 ค่ำ – 9 ค่ำเดือน 12 แต่ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส covid-19 

ทางวัดได้ดำเนินการตามมาตรการของภาครัฐ งดจัดมหรสพทุกประเภทและจัดให้มีจุดคัดกรองโดยเจ้าหน้าที่ อสม. ชุมชนวัดป่าเลไลย์ มีจุดล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ ภายในบริเวณพระวิหาร และ ทางสลากไทพลัส ขอความร่วมมือผู้มาร่วมงาน พ่อค้า แม่ค้าต้องสวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัย

สลากไทพลัส สลากออนไลน์ ใบละ 80บาท ถูกรางวัลรับเต็ม ไม่หักค่าทำเนียม

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม LINE : @STPLUS

หรือ คลิกที่รูปภาพด้านล่าง


อ่านบทความเพิ่มเติมของ สลากไทพลัส

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ป้อมไพรีพินาศ

ที่เที่ยวโบราณ ป้อมไพรีพินาศ จังหวัดจันทบุรี ป้อมไพรีพินาศ ตั้งอยู่บนเขาแหลมสิงห์ หมู่ 1 ตำบลบางกะไชย อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี เป็นป้อ...