วันจันทร์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2566

วัดไผ่โรงวัว สลากไทพลัส กองสลากไท

 


พาชม และ สักการะ ขอพรที่ วัดไผ่โรงวัว กับ สลากไทพลัส กองสลากไท

ใครที่ได้มา จ.สุพรรณบุรี บอกเลยว่าไม่มีใครไม่รู้จัก กับสถานที่ชื่อดังแห่งนี้ ที่เป็นที่ชื่อดังเรื่องมีรูปปั้น ของเปรต กฎแห่งกรรม ให้ทุกคนได้ชม กับ วัดไผ่โรงวัว สลากไทพลัส กองสลากไท จะพาไปรู้ประวัติ ที่มาของวัดนี้กันค่ะ

ประวัติของ วัดไผ่โรงวัว โดย กองสลากไท และ สลากไทพลัส

วัดไผ่โรงวัว ตั้งอยู่ที่ ๑๑๘ หมู่ ๑๑ ต.บางตาเถร อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี ๗๒๑๑๐ ประเภทวัด วัดราษฎร์ ( มหานิกาย ) ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๙
 ทิศเหนือติดคลองพระยาบรรลือ ทิศใต้ติดถนนทางหลวงหมายเลข ๓๔๒๒ ลาดบัวหลวง – สองพี่น้อง ทิศตะวันออกติดหมู่บ้านไผ่โรงวัว ทิศตะวันตกติดโรงเรียนวัดไผ่โรงวัวและที่นาของชาวบ้านไผ่โรงวัว 

เดิมคลองพระยาบรรลือยังมิได้ขุดเป็นแต่ร่องน้ำทิศใต้จากไผ่ตาแบ้เรียกปากคลองยายบ้วย ( แยก จากแม่น้ำท่าจีน ) ถึงตลาดบัวหวั่น ต่อมามีโครงการขุดลอกคลองใน พ.ศ. ๒๔๘๐ ประชาชนเริ่มอพยพมาอยู่ที่ริมฝั่งคลองมากขึ้นตามลำดับ 

 บริเวณที่ตั้งวัดปัจจุบันนี้ แต่ก่อนมีแต่หญ้าคา และดงกอไผ่ ชาวบ้านนำฝูงโคที่เลี้ยงมาพักและอาศัยดงไผ่นี้ เป็นที่อยู่ ครั้งแรกมีพระชื่อ พระรุ่ง ธุดงค์มาอยู่ พระรุ่งนี้เมื่อเป็นฆราวาสเป็นเพื่อนกับนายสอน ซึ่งบ้านอยู่ ที่บ้านไผ่โรงวัวนี้ หมู่บ้านไผ่นี้เป็นที่ของนายชู ๒๐ไร่ ให้เป็นที่พักสงฆ์ พระรุ่งมาอยู่ได้ ๑ ปีกว่า ก็จาริกจากไป      

ชาวบ้านไผ่ ซึ่งมี นายสุข สุวรรณศรี , ผู้ใหญ่สุด วัชวงษ์ , นายบุตร , นายพุฒ , และนายสอน ได้ไปนิมนต์พระขอม ( หลวงพ่อขอม ) จากวัดบางสาม ให้มาอยู่ที่สำนักสงฆ์นี้ พระขอม ได้มาพร้อมกับพระขาว ซึ่งมีพรรษามากกว่าพระขอม มาอยู่ด้วยกัน พ.ศ. ๒๔๗๒ ณ.สำนักสงฆ์บ้านไผ่โรงวัว อยู่ได้ ๑ ปี พระขอม  (หลวงพ่อขอม ) ได้กลับไปเรียนพระปริยัติธรรม ที่วัดพระศรีมหาธาตุ อ.เมือง จังหวัดสุพรรณบุรี ๖ ปี จบ น.ธ.เอก 

 ส่วนทางสำนักสงฆ์บ้านไผ่โรงวัว เมื่อพระขอมไปเรียนพระปริยัติธรรมที่ตัวจังหวัดสุพรรณบุรี พระขาวปกครองสำนักสงฆ์บ้านไผ่โรงวัวได้ ๕ ปี ก็ลาสิกขาบท ได้มีพระรอด มาเป็นหัวหน้าคณะสงฆ์ต่อได้ ๑ ปี ก็ลาสิกขาบท และได้มีพระเงินมาอยู่ต่อ 

ชาวบ้านไผ่โรงวัว จึงได้ไปนิมนต์ พระขอม ( หลวงพ่อขอม ) ที่วัดพระศรีมหาธาตุสุพรรณบุรี มาอยู่ประจำ พ.ศ. ๒๔๗๙ พระขอม( หลวงพ่อขอม ) ได้บุกเบิกก่อสร้างพัฒนา วัดไผ่โรงวัวมาจากเนื้อที่ ๒๐ ไร่ ขยายต่อจนมีเนื้อที่ตั้งวัด ๒๔๘ ไร่ ๑ งาน ๒๑ ตารางวา ( มีโฉนด ) มีที่ธรณีสงฆ์ ๒๐ ไร่ ( มีโฉนด ) ได้รับวิสุงคามสีมา วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๙ ตั้งชื่อวัดตามการปกครองคณะสงฆ์ว่า วัดโพธาราม 

แต่ชาว บ้านก็ยังเรียกว่าวัดไผ่โรงวัวกันติดปาก มาเปลี่ยนชื่อจาก วัดโพธาราม เป็นชื่อ วัดไผ่โรงวัวในปี พ.ศ. ๒๕๓๓ ปัจจุบันเนื้อที่ตั้งวัด ถูกทางหลวงสายเลขหมาย ๓๔๒๒ ลาดบัวหลวง – สองพี่น้อง ตัดผ่านถูกเวนคืนเป็น ผาติกรรม จำนวน ๓ ไร่ ๒ งาน ๔.๙ ตารางวา ปัจจุบันจึงเหลือพื้นที่ตั้งวัดจำนวน ๒๔๔ ไร่ ๓ งาน ๑๗.๙ ตารางวา

วัดไผ่โรงวัว พื้นที่ตั้งวัด แบ่งเป็น  เขต

เขตพุทธาวาส วัดไผ่โรงวัว โด กองสลากไท สลากไทพลัส

 ทิศตะวันออกของวัด บริเวณเนื้อที่ ๑๐๗ ไร่ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย สมเด็จพระพุทธโคดมหลวงพ่อขอมเป็นผู้นำสร้าง เริ่มงาน พ.ศ. ๒๕๐๐ – ๒๕๑๒ หน้าตักกว้าง ๑๐.๒๕ เมตร สูงเฉพาะองค์พระ ๑๔ เมตร รวมทั้งบัลลังก์๒๖ เมตร สร้างด้วยเนื้อทองสัมฤทธิ์ น้ำหนักประมาณ ๕๐ ตัน พ.ศ. ๒๕๑๒ ทูลเชิญในหลวงรัชกาลที่ ๙ เสด็จมาทรงสวม พระเกตุ

วัดไผ่โรงวัว สลากไทพลัส กองสลากไท

สถานที่ทางพระพุทธประวัติขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตั้งแต่ทรงประสูติ จำลองเมืองกบิลพัสดุ์ จนถึงทรงพระนิพพานจำลองสังเวชนียสถานทั้ง ๔ ตำบล สถานที่ทรงประสูติ สถานที่ทรงตรัสรู้ สถานที่ทรงแสดงพระธรรมจักร และสถานที่ทรงปรินิพพาน

  1. สถานที่ประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ ผู้ซึ่งต่อมาตรัสรู้เป็นพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ตั้งอยู่ที่อำเภอไภรวา แคว้นอูธประเทศเนปาล
  2. พุทธคยานับเป็นพุทธสังเวชนียสถานที่สำคัญที่สุดและเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของชาวพุทธทั่วโลกเพราะเป็นจุดเริ่มต้นของพระพุทธศาสนา โดยเป็นสถานที่ที่เจ้าชายสิทธัตถะตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณเป็นสมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า นับเป็นเวลากว่า 2,500 ปีที่สถานที่แห่งนี้เป็นศูนย์รวมของจุดหมายในการแสวงบุญของชาวพุทธผู้มีศรัทธาทั่วโลกพุทธคยามีชื่อเรียกอีกชื่อว่า วัดมหาโพธิ์ (อังกฤษ: Mahabodhi Temple) ตั้งอยู่ที่จังหวัดคยา รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย ห่างจากริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา 350 เมตร
  3. สถานที่แสดงปฐมเทศนา ตั้งห่างจากเมืองพาราณสี เมืองศูนย์กลางทางศาสนาของศาสนาฮินดู ไปทางเหนือราวเก้ากิโลเมตรอยู่ในรัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดียในปัจจุบัน หรือ แคว้นมคธ ชมพูทวีป ในสมัยพุทธกาล
  4. สถานที่เสด็จดับขันธปรินิพพานแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตั้งอยู่ที่ตำบลมถากัวร์ อำเภอกุสินคร หรือกาเซีย หรือกาสยา (โรมัน:Kushinagar-Kasia-Kasaya) ในเขตจังหวัดเดวเย หรือ เทวริยา (โรมัน:Devria-Devriya-Kasia-Kasaya) รัฐอุตรประเทศ ประเทศอินเดีย

เขตสังฆาวาส วัดไผ่โรงวัว โดย สลากไทพลัส

วัดไผ่โรงวัว สลากไทพลัส กองสลากไท

ทิศตะวันตกของวัด บริเวณเนื้อที่ ๑๔๑ ไร่ เป็นที่อยู่ของพระสงฆ์ บริเวณเขตนี้เป็นที่ตั้งหอกลาง เป็นที่เก็บสรีระของหลวงพ่อขอม ( ผู้นำการก่อสร้างพัฒนาวัดไผ่โรงวัว ตั้งแต่เริ่มก่อสร้างวัดใหม่ๆ จนถึงมรณะภาพ วันที่ ๗ มกราคม ๒๕๓๓  มีคลังจำหน่ายวัตถุ มงคล , ที่รับถวายสังฆทาน ศาลาการเปรียญ ๑ , ๒ , และ ๓ โรงทานหลวงพ่อขอม , โรงเรียนพระปริยัติธรรม

ที่ตั้งของเมือง นรกภูมิ ในพื้นที่ประมาณ ๔ ไร่ มีเปรต อสุรกาย ต่างๆ สร้าง พ.ศ. ๒๕๑๔ สร้างตามคำภีร์พระมาลัยโปรดสัตว์นรกเป็นคติสอนใจ ในการกระทำชั่ว กระทำบาปจะได้รับผลเช่นไร ฯลฯ ข้อคิด…ชาวพุทธที่มาชมเปรตที่วัดไผ่โรงวัว มี 3 ชั้น

  1. ชาวพุทธชั้นสูง ท่านเป็นผู้อุดมธรรม ท่านไม่มีอะไร ท่านเห็นเป็นกฏของธรรมดา
  2. ชาวพุทธชั้นกลาง ยังมีรักมีชัง ก็ติบ้างชมบ้างไปตามวิสัย
  3. ชาวพุทธชั้นต่ำ ไม่รู้อีโหน่อีเหน่อะไร ได้แต่หัวเราะชอบใจไปตามอารมณ์

สลากไทพลัส สลากออนไลน์ ใบละ 80บาท ถูกรางวัลรับเต็ม ไม่หักค่าทำเนียม

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม LINE : @STPLUS

หรือ คลิกที่รูปภาพด้านล่าง


อ่านบทความเพิ่มเติมของ สลากไทพลัส

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ป้อมไพรีพินาศ

ที่เที่ยวโบราณ ป้อมไพรีพินาศ จังหวัดจันทบุรี ป้อมไพรีพินาศ ตั้งอยู่บนเขาแหลมสิงห์ หมู่ 1 ตำบลบางกะไชย อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี เป็นป้อ...