พระธาตุภูเพ็ก สลากไทพลัส กองสลากไท
พระธาตุภูเพ็ก สลากไทพลัส กองสลากไท ขอแนะนำเลย ที่เที่ยวสกลนคร ดินแดนศักดิ์สิทธิ์บน ยอดเขาภูพาน เป็นปราสาทหินที่อัดแน่นไปด้วยร่องรอยแห่งประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมที่มีมายาวนานกว่าพันปี อีกทั้งยังมีความสำคัญเกี่ยวกับดาราศาสตร์ที่สามารถบอกวันเวลา และฤดูกาลได้อีกด้วย ถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ที่สำคัญแห่งหนึ่งของ สกลนคร เลยค่ะ
พระธาตุภูเพ็ก ที่เที่ยวสกลนคร ปราสาทหินโบราณ บนยอดเขาภูพาน
ปราสาทพระธาตุภูเพ็ก หรือ พระธาตุภูเพ็ก เป็นปราสาทหินขอมโบราณ ตั้งอยู่บนยอดเขาภูพาน ตำบลนาหัวบ่อ อำเภอพรรณานิคมจังหวัดสกลนคร โดยการจะขึ้นไปชมความงามของปราสาทหินแห่งนี้ต้องเดินผ่านขั้นบันไดขึ้นไปถึง 491 ขั้น! เรียกว่าทำเอาเหนื่อยหอบพอสมควร แต่เมื่อขึ้นไปถึงแล้วก็จะพบกับองค์พระธาตุโบราณและบ่อน้ำที่ตั้งอยู่ข้างๆ กัน ตัวปราสาทพระธาตุสร้างด้วยหินทรายบนฐานศิลาแลงมีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุมที่เชื่อมต่อกับมณฑปจากทางด้านหน้า ชั้นที่ 1 สูงประมาณ 1.58 เมตร ชั้นที่ 2 สูงประมาณ 0.70 เมตร ส่วนตัวปราสาทนั้นมีความสูงอยู่ที่ 7.67 เมตร เป็นปราสาทที่ยังสร้างไม่แล้วเสร็จ ไม่มีหลังคาและยอดปราสาท มีเพียงแต่ขื่อที่ปรากฏให้เห็นในปัจจุบันค่ะ
ตามประวัติแล้ว พระธาตุภูเพ็กสร้างขึ้นเมื่อพุทธศตวรรษที่ 16 เพื่อเป็นสถานที่ประกอบพิธีทางศาสนาของฮินดู แต่ภายหลังก็ได้เปลี่ยนมาเป็นพุทธสถาน มีพระพุทธรูปศิลปะแบบขอมประดิษฐานอยู่ด้านใน มีตำนานกล่าวถึงการสร้างพระธาตุภูเพ็กว่าเกิดจากการแข่งขันระหว่างกลุ่มชายและกลุ่มหญิงสาวที่จะสร้างพระธาตุ 2 แห่งแข่งกันเพื่อรอบรรจุพระอุรังคธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ระหว่างการสร้างพระธาตุนั้น กลุ่มชายก็ได้เห็นดาวเพ็กบนท้องฟ้า ซึ่งเป็นกลอุบายของทางฝั่งหญิง จึงทำให้พวกเขายุติการสร้างพระธาตุองค์นี้ลง ทำให้ตัวปราสาทพระธาตุไม่มีหลังคาและยอดปราสาทอย่างที่เห็น และมีชื่อว่า พระธาตุภูเพ็ก ตามชื่อของ “ดาวเพ็ก“ ส่วนพระธาตุที่ฝั่งหญิงได้สร้างนั้นก็คือ พระธาตุนารายณ์เจงเวง ที่ประเทศกัมพูชานั่นเองค่ะ
พระธาตุภูเพ็ก ปฏิทินดวงอาทิตย์โบราณ สลากไทพลัส
นอกจากเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แล้ว ปราสาทแห่งนี้ยังเปรียบเสมือนเป็นปฏิทิน ที่ใช้ในการสังเกตการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์ ซึ่งบ่งบอกถึงฤดูกาลอีกด้วยค่ะ จากการศึกษาของ คุณสรรค์สนธิ บุณโยทยาน ที่นำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาประมวลผล ด้านดาราศาสตร์ ก็พบว่าเมื่อใส่ข้อมูลพิกัดตำแหน่ง ของปราสาท ตำแหน่งเส้นรุ้ง ที่ 17 องศาเหนือ และ ใส่วันที่ปรากฏการณ์สำคัญต่าง ๆ ก็จะได้มุมกวาดเป็น 65, 90 และ 115 องศา ซึ่งเป็นตำแหน่งดวงอาทิตย์ขึ้น และ หมุนเวียน
บริเวณปราสาทพระธาตุ จะมีช่องสี่เหลี่ยมอยู่ ตรงนั้นเองที่เป็นจุดที่แนวแสงของดวงอาทิตย์ จะพาดผ่าน ซึ่งบ่งบอกช่วงเวลา ของฤดูกาล เราจะสังเกตได้ว่าในแต่ละช่วงเวลาของปี เวลาตอนกลางวัน และ กลางคืน จะไม่เท่ากัน แต่ในวันที่ 21 มีนาคม ซึ่งเป็นวันเริ่มต้นปี จะเป็นวันที่ดวงอาทิตย์ทำมุมฉากกับเส้นศูนย์สูตรของโลก ทำให้เวลากลางวัน เท่ากับ เวลากลางคืน บ่งบอกว่าเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิแล้ว หลังจากนั้นดวงอาทิตย์จะค่อย ๆ เคลื่อนไปทางทิศเหนือ จนถึงจุดที่ไกลที่สุด ในวันที่ 21 มิถุนายน ทำให้กลางวันยาวนานที่สุด ช่วงเวลานั้นเองที่เป็นฤดูร้อน แต่เมื่อดวงอาทิตย์เคลื่อนมาถึงจุดที่ไกลที่สุดทางทิศใต้ ตรงกับ วันที่ 21 ธันวาคม จะเป็นช่วงเวลาที่กลางวันสั้นที่สุด นั่นคือฤดูหนาว
และด้วยการที่ใช้ช่องสี่เหลี่ยมของปราสาทเป็นการดูวันเวลาจากดวงอาทิตย์ ตำแหน่งที่ใช้ก่อสร้างพระธาตุภูเพ็ก หรือ ปราสาทขอมอื่น ๆ จึงต้องเป็นบริเวณที่โล่งแจ้ง ไม่มีป่าเขา หรือ ต้นไม้มาขวางกั้น เพื่อให้แสงสาดส่องลงมา ตัวปราสาทพอดี แสดงถึงความศักดิ์สิทธิ์ของสถานที่ที่ ใช้ในการประกอบพิธีทางศาสนาของที่นี่ค่ะ
ข้อมูล พระธาตุภูเพ็ก สกลนคร
- ที่อยู่ : บ้านภูเพ็ก ตำบลนาหัวบ่อ อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร
- เปิดให้เข้าชม : 06.00-18.00 น.
- โทร : –
สลากไทพลัส สลากออนไลน์ ใบละ 80บาท ถูกรางวัลรับเต็ม ไม่หักค่าทำเนียม
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม LINE : @STPLUS
หรือ คลิกที่รูปภาพด้านล่าง
อ่านบทความเพิ่มเติมของ สลากไทพลัส
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น