สลากไทพลัส พาไป
ปราสาทหินพิมาย
สลากไทพลัส กองสลากไท จะพาทุกท่านไปรู้จัก ปราสาทหินพิมาย ซึ่งถือเป็น อีกหนึ่ง พุทธสถานโบราณ อุทยานประวัติศาสตร์ ที่สำคัญของประเทศไทย มีที่ตั้งอยู่ที่ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา มีเนื้อที่ทั้งหมด 115 ไร่ กว้าง 565 เมตร ยาวประมาณ 1,030 เมตร
กองสลากไท : ประวัติที่มาและความสำคัญ
ปราสาทหินพิมาย
สลากไทพลัส กองสลากไท ปราสาทหินพิมาย อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย ตั้งอยู่ในอำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมาห่างจากตัวเมืองนครราชสีมา ประมาณ 60 กิโลเมตรเป็นศาสนาสถานที่สร้างขึ้นในพุทธศาสนาลัทธิมหายานชื่อ “พิมาย” นั้นน่าจะเป็นคำเดียวกันกับชื่อ “วิมายะ” ที่ปรากฏอยู่ในจารึกภาษาเขมรบนแผ่นหินกรอบประตูโคปุระระเบียงคดด้านหน้าของปราสาทพิมายคำว่า “พิมาย” นั้นปรากฏเป็นชื่อเมืองในศิลาจารึกพบในประเทศราชอาณาจักรกัมพูชาประชาธิปไตยหลายแห่ง แม้รูปคำจะไม่ตรงกันว่าเมืองวิมาย หรือวิมายะปุระ (จารึกปราสาทพระขรรค์ พุทธศตวรรษที่ 18) โดยเฉพาะข้อความในจารึกปราสาทพระขรรค์ที่กล่าวว่าพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 โปรดให้สร้างที่พักคนเดินทาง จากราชธานีมาเมืองพิมายรวม 17 แห่งแสดงถึงความสัมพันธ์อันใกล้ชิดระหว่างเมืองพิมายกับอาณาจักรเขมรและแสดงว่าเป็นเมืองสำคัญ บริเวณที่ตั้งของปราสาทพิมายเมื่อดูจากภาพถ่ายทางอากาศจะเห็นได้ชัดว่าเป็นเมืองโบราณขนาดใหญ่มีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีคู และ กำแพงเมืองล้อมรอบมีศาสนสถานอยู่กลางเมืองแวดล้อมด้วยชุมชนใหญ่น้อยรายรอบเป็นกลุ่มใหญ่ ตัวเมืองพิมายเองตั้งอยู่ที่ทำเลที่ดีและอุดมสมบูรณ์ เพราะมีลำน้ำไหล
ผ่านรอบเมืองได้แก่ แม่น้ำมูลไหลผ่านทางด้านทิศเหนือ และทิศตะวันออกด้านทิศใต้มีลำน้ำเค็มทางด้านทิศตะวันตกมีลำน้ำ จักราชไหลผ่านไปบรรจบกับแม่น้ำมูล บริเวณโดยรอบเป็นที่ราบลุ่มสามารถทำการกสิกรรมได้ดีแหล่งน้ำเพื่ออุปโภคบริโภคภายในเมือง ได้แก่ สระแก้ว สระพลุ่ง สระขวัญสระน้ำที่ขุดขึ้นภายนอกเมือง คือ สระเพลงทางทิศตะวันออก สระโบสถ์ และสระเพลงแห้งทางทิศตะวันตกและอ่างเก็บน้ำ (บาราย)ขนาดใหญ่อยู่ทางทิศใต้จังหวัดนครราชสีมาในปัจจุบันเป็น ปากประตูเข้าสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและเป็นศูนย์กลางสำคัญของภาคอีสานของประเทศไทยด้วยพัฒนาการ ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่มนุษย์รู้จักเพียงการใช้หินมาทำเครื่องมือเครื่องใช้จนกระทั่งมนุษย์ในอดีตที่ราบสูงบริเวณแอ่งโคราชแห่งนี้ รู้จักเทคนิควิธีการตัดหินจากภูเขาและยกเอาหินก้อนใหญ่ ๆ มาเป็นระยะทางไกลๆ เพื่อก่อสร้างสิ่งที่เราเรียกว่า “ปราสาท” ปราสาทที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย คือ ปราสาทพิมาย เป็นศูนย์กลางและเป็นปากประตูสำคัญจากลุ่มแม่น้ำมูล ไปสู่เมืองพระนครของอาณาจักรกัมพูชาและบ้านเมืองในเขตลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาอย่างน้อยตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 16 เป็นต้นมา
พิมายเป็นเมืองโบราณในลุ่มแม่น้ำมูลที่มีอดีตอันรุ่งเรืองและมีความอุดมสมบูรณ์เป็นอย่างมากตัวเมืองโบราณมีคูเมืองกำแพงเมืองล้อมรอบทั้ง 4 ด้าน มีประตูเมืองทั้ง 4 ทิศก่อด้วยศิลา ที่สำคัญคือประตูเมืองด้านทิศใต้ที่หันหน้าไปสู่ เมืองพระนครในประเทศกัมพูชาปัจจุบันกลางเมืองมีศาสนสถานขนาดใหญ่ก่อสร้างด้วยหินตั้งอยู่คือปราสาทพิมายนั่นเอง
ปราสาทพิมายนับเป็นพุทธสถานในลัทธิมหายานที่สร้างขึ้นในราวกลางพุทธศตวรรษที่ 16 กล่าวคือสร้างขึ้นก่อนปราสาทนครวัด เชื่อว่าส่วนยอดหรือหลังคาปราสาทพิมายเป็นต้นแบบของการก่อสร้างปราสาทนครวัดของเขมรในสมัยต่อมา เนื่องจากปราสาทพิมายนี้หันหน้าไปทางทิศใต้จึงเข้าใจว่าเพื่อรับกับถนนที่ตัดมาจากกัมพูชา และมีการสร้างอโรคยาศาลาและที่พักเดินทาง ขึ้นตามแนวถนนจนถึงพิมายในสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 มหาราชองค์สุดท้ายของกัมพูชาโบราณสถานที่ปรากฏอยู่ในเมืองพิมาย มีอยู่หลายแห่งทั้งนอกเมืองและในเมืองที่สำคัญได้แก่ปราสาทพิมาย เดิมมีสภาพปรักหักพังทรุดโทรมไปตามกาลเวลา ในพุทธศักราช 2507 กรมศิลปากรได้รับความร่วมมือจากรัฐบาลประเทศฝรั่งเศสบูรณซ่อมแซมปราสาทประธานของปราสาทพิมายจนแล้วเสร็จ ในพุทธศักราช 2512 ต่อมาเมืองพิมายและปราสาทพิมายก็ได้รับการพัฒนาให้เป็นอุทยานประวัติศาสตร์พิมายในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 5 ดำเนินการบูรณะโบราณสถานตั้งแต่ พุทธศักราช 2525 เป็นต้นมา จนแล้วเสร็จและเปิด เป็นอุทยานประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 12 เมษายน พุทธศักราช 2532 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ทรงโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินมาเป็นองค์ประธานในพิธี
สิ่งก่อสร้างภายในอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย
พลับพลา
ตั้งอยู่บริเวณด้านหน้ากำแพงชั้นนอก ด้านซ้ายมือของทางเดินเข้าสู่ตัวปราสาท เป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เดิมเรียกกันว่า “คลังเงิน” จากตำแหน่งที่ตั้งสันนิษฐานว่าคงเป็นที่พักเตรียมพระองค์สำหรับกษัตริย์ หรือเจ้านายชั้นสูงที่เสด็จมาประกอบพิธีกรรมทางศาสนา รวมทั้งเป็นสถานที่พักจัดขบวนสิ่งของถวายต่าง ๆ จากการขุดแต่งบริเวณนี้เมื่อปี พ.ศ. 2511 ได้พบโบราณวัตถุจำนวนมาก มีทั้งรูปเคารพ เครื่องประดับ และเหรียญสำริด เป็นเหตุให้เรียกกันว่า “คลังเงิน”
สะพานนาคราช
สะพานนาคราช ปราสาทหินพิมาย
ตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าทางเข้าโคปุระด้านทิศใต้สร้างด้วยหินทราย มีผังเป็นรูปกากบาท กว้าง 4 ม. ยาว 31.70 ม. ยกพื้นสูง ราวสะพานทำเป็นตัวนาค ที่ปลายราวสะพานทำเป็นรูปนาคราชชูคอแผ่พังพานเป็นรูปนาค 7 เศียร สะพานนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นในการเดินทางเข้าสู่ศาสนสถานอันศักดิ์สิทธิ์ตามคติความเชื่อเรื่องจักรวาล เชื่อว่าเป็นเส้นทางเชื่อมระหว่างโลกมนุษย์กับโลกสวรรค์ คตินีถือสืบกันมาในศาสนาฮินดูและพุทธศาสนานิกายมหายาน
ซุ้มประตูและกำแพงแก้ว
บริเวณชาลาทางเดินเข้าสู่ปราสาทประธานภายใน ซุ้มประตูหรือโคปุระ ตั้งอยู่กึ่งกลางของแนวกำแพงแก้ว อยุ่ในแนวตรงกันหมดทั้ง 4 ด้าน คือ ทิศเหนือ-ใต้ อยู่ตรงกึ่งกลางของกำแพง ทิศตะวันออก-ตะวันตกค่อนไปทางเหนือเล็กน้อย ผังโดยรอบของซุ้มประตูจะมีลักษณะเป็นรูปกากบาท จากกำแพงแก้วเข้ามาด้านในเชื่อกันว่าเป็นดินแดนของโลกสวรรค์ อันเป็นที่อยู่ของเทพเจ้า
ชาลาทางเดิน
ก่อสร้างด้วยหินทราย เชื่อมต่อระหว่างซุ้มประตูด้านทิศใต้ของระเบียงคดที่ล้อมรอบปราสาทประธาน โดยทำทางเดินยกพื้นสูงประมาณ 1 เมตร แบ่งเป็น 3 ช่องทางเดิน ผังทำเป็นรูปกากบาท จากการบูรณะพบเศษกระเบื้องมุงหลังคาและบราลีดินเผาจำนวนมาก สันนิษฐานว่าเดิมคงเป็นระเบียงโปร่ง หลังคามุงกระเบื้อง รองรับด้วยเสาไม้
ซุ้มประตูและระเบียงคด
เป็นอาคารก่อด้วยหินทรายยกพื้นสูง อยู่ล้อมรอบปราสาทประธาน ระเบียงคดมีลักษณะคล้ายกำแพงแก้วทั้ง 4 ด้าน โดยมีตำแหน่งที่ตั้งตรงกับแนวของประตูเมือง และประตูทางเข้าปราสาทประธาน ปรากฏหลักฐานสำคัญที่ซุ้มประตูด้านทิศใต้ บริเวณกรอบประตูพบจารึกภาษาเขมร อักษรขอมโบราณ ระบุศักราชตรงกับ พ.ศ. 1651–1655 กล่าวถึงการสร้างรูปเคารพ การสร้างเมือง ตลอดจนปรากฏพระนามของขุนนางชั้นสูง และพระนามมหากษัตริย์คือ พระเจ้าธรณินทรวรมันที่1
ปราสาทประธาน
ปรางค์ประธาน
เป็นส่วนสำคัญที่สุดของปราสาทหินพิมาย เป็นปราสาทองค์ใหญ่ สร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 16–17 ก่อสร้างด้วยศิลาทรายสีขาวหันหน้าไปทางทิศใต้ ซึ่งแตกต่างจากศาสนสถานแบบขอมในที่อื่น ๆ ซึ่งมักจะหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ปราสาทประธานประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วนคือ มณฑป และ เรือนธาตุ มีการจำหลักลวดลายประดับตามส่วนต่าง ๆ เช่น หน้าบัน ทับหลัง มักจำหลักเป็นภาพเล่าเรื่องรามเกียรติ์และเรื่องราวทางพุทธศาสนา ยกเว้นทางด้านทิศใต้ จำหลักเป็นภาพศิวนาฏราช ภายในเรือนธาตุเป็นส่วนสำคัญที่สุดเรียกว่า ห้องครรภคฤหะ เป็นที่ประดิษฐานรูปเคารพสำคัญ พื้นห้องตรงมุมด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือมีร่องน้ำมนต์ต่อลอดผ่านพื้นห้องออกไปทางด้านนอก เรียกว่า ท่อโสมสูตร
ปรางค์หินแดง
สร้างขึ้นราวปลายพุทธศตวรรษที่ 17 ตั้งอยู่ทางด้านขวาของปรางค์ประธาน มีมุขยื่นออกไปทั้ง 4 ทิศ เหนือกรอบประตูทางเข้าด้านทิศเหนือ มีทับหลังหินทรายจำหลักภาพเล่าเรื่องมหากาพย์มหาภารตะ ตอนอรชุนล่าหมูป่า ส่วนกรอบประตูด้านอื่นคงเหลือร่องรอยเฉพาะเสาประดับกรอบประตูศิลปะแบบเขมรประดับอยู่
หอพราหมณ์
เป็นอาคารก่อด้วยหินทรายและศิลาแลง ตั้งอยู่บนฐานเดียวกันกับปรางค์หินแดง ในปี พ.ศ. 2493 ได้ค้นพบศิวลึงค์ สลักด้วยหินทรายจำนวน 7 ชิ้นอยู่ภายในหอพราหมณ์ เชื่อกันว่าอาคารหลังนี้คงเป็นสถานที่ประกอบพิธีทางศาสนาพราหมณ์ แต่จากรูปแบบและตำแหน่งที่ตั้งเดิมคงเป็นที่ตั้งของบรรณาลัยมากกว่า
ปรางค์พรหมทัต
ลักษณะของปรางค์องค์นี้ สร้างด้วยศิลาแลงตั้งอยู่ด้านหน้าของ สันนิษฐานว่าเป็นรูปจำลองของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ชาวบ้านเรียกว่า ท้าวพรหมทัต ส่วนอีกรูปเป็นรูปสตรีนั่งคุกเข่าสลักด้วยหินทราย ส่วนศีรษะและแขนหักหายไป เชื่อกันว่าเป็นรูปของพระนางชัยราชเทวีมเหสี ชาวบ้านเรียกตามนิยายพื้นบ้านว่า นางอรพิม ปัจจุบันประติมากรรมทั้ง 2 ชิ้นนี้จัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพิมาย
บรรณาลัย
ตั้งอยู่บริเวณลานชั้นนอก ระหว่างกำแพงแก้วและซุ้มประตูระเบียงคด ด้านทิศตะวันตกเป็นอาคาร 2 หลังขนาดเดียวกัน ผังอาคารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ายกพื้นสูง ก่อด้วยหินทรายกั้นเป็นห้องยาวตลอดแนว พบร่องรอยหลุมเสารูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส เดิมคงเป็นหลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้อง เชื่อกันว่าบรรณาลัยคือสถานที่เก็บรักษาคัมภีร์อันศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนา
วันและเวลาทำการ
เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 7.00 – 18.00 น.
ไม่เว้นวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์
ค่าเข้าชม
ค่าเข้าชมชาวไทย คนละ ๒๐ บาท
ค่าเข้าชมชาวต่างชาติ คนละ ๑๐๐ บาท
ยกเว้นค่าเข้าชมสำหรับนักเรียน/นักศึกษาในเครื่องแบบ และภิกษุสามเณร
สลากไทพลัส สลากออนไลน์ ใบละ 80บาท ถูกรางวัลรับเต็ม ไม่หักค่าทำเนียม
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม LINE : @STPLUS
หรือ คลิกที่รูปภาพด้านล่าง
อ่านบทความเพิ่มเติมของ สลากไทพลัส
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น