สลากไทพลัส พาไปอีกหนึ่งวัดที่สวยงามเป็นเอกลักษณ์
วัดมิ่งเมือง
สลากไทพลัส กองสลากไท พาไปชมในบรรดาวัดสวยของจังหวัดน่าน วัดมิ่งเมือง เป็นอีกหนึ่งวัดที่ขึ้นชื่อเรื่องความสวยงามและเป็นเอกลักษณ์ รวมถึงเป็นที่ตั้งของ เสาพระหลักเมืองน่าน ที่ใครไปเที่ยวน่าน ต้องไปไหว้สักการะเพื่อความเป็นสิริมงคล
ประวัติความเป็นมา วัดมิ่งเมือง : กองสลากไท
สลากไทพลัส กองสลากไท ประวัติของ วัดมิ่งเมือง คือ เดิมเป็นวัดร้าง มีเสาหลักเมืองที่เป็นท่อนซุงขนาดใหญ่สองคนโอบ พบที่ซากวิหาร ในราวปี 2400 เจ้าอนันตวรฤทธิเดช เจ้าครองนครน่านสถาปนาวัด ใหม่ ตั้งชื่อว่า วัดมิ่งเมือง ตามชื่อที่เรียกเสาหลักเมืองว่า เสามิ่งเมือง
ต่อมาปี 2527 ด้วยระยะเวลาที่ยาวนานทำให้อุโบสถชำรุดทรุดโทรมลง พระครูสิริธรรมภาณี (เสน่ห์ ฐานสิริ) เจ้าอาวาสวัดมิ่งเมืองร่วมกับชาวบ้านคุ้มวัดมิ่งเมือง ได้ทำการรื้อถอนและสร้างอุโบสถหลังใหม่เป็น แบบล้านนาร่วมสมัยแบบในปัจจุบัน พร้อมทั้งอัญเชิญพระประธานองค์เดิมมาประดิษฐานไว้ สำหรับตัวอุโบสถหลังใหม่นี้พระครูสิริธรรมภาณีเป็นผู้ออกแบบตามจินตนาการ เป็นอุโบสถล้านนาร่วมสมัย ก่อสร้างตัวอาคารด้วยฝีมือสล่าพื้นบ้านเมืองน่าน ลวดลายปูนปั้นอันวิจิตรอลังการเป็นฝีมือของสล่าเสาร์แก้ว เลาดี สกุลช่างเชียงแสนโบราณ ส่วนภาพวาดจิตรกรรมฝาผนังในอุโบสถเป็นภาพตำนานประวัติความเป็นมาของเมืองน่าน เริ่มตั้งแต่สมัยพญาภูคาเจ้าเมืองน่านองค์ปฐมตั้งอยู่เมือง ณ เมืองย่าง (ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอปัว) มาจนถึงสมัยเจ้ามหาพรหมสุรธาดา เจ้าผู้ครองนครน่านองค์สุดท้าย โดยคุณสุรเดช กาละเสน จิตรกรพื้นบ้านเมืองน่าน เฉพาะงานประติมากรรมปูนปั้นใช้เวลาประมาณ 5 ปี และสร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2540 ใช้เวลาสร้างรวม 12 ปี
วัดมิ่งเมือง พระวิหารโทนขาวของเมืองน่าน
สลากไทพลัส กองสลากไท ความโดดเด่นของ “วัดมิ่งเมือง” ก็คือพระวิหารที่มีลักษณะเป็นลายปูนปั้นผนังด้านนอกโทนสีขาวทั้งหมด(ใครจะบอกว่าคล้ายกับวัดร่องขุ่นก็ได้ ผมไม่เถียงฮ่า ๆ) ภายในพระวิหารมีองค์พระพุทธรูปปูนปั้นสีทองศิลปะแบบเชียงแสน อายุมากกว่า 400 ปี ซึ่งมีนามว่า “หลวงพ่อพระศรีมิ่งเมือง” นอกจากนี้ภายในพระวิหารยังมีจิตรกรรมฝาผนังแสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตของชาวเมืองน่าน และประวัติความเป็นมาตั้งแต่ สมัยเจ้าพญาภูคา ผู้ครองนครน่านองค์แรก จนถึงสมัยเจ้ามหาพรหมสุรธาดาเจ้าผู้ครองนครน่านองค์สุดท้าย เขียนโดยจิตกรสวรรค์พื้นเมืองน่าน นอกจากนี้สถาปัตยกรรมตัวอาคารสีขาวยังถูกออกแบบโดยช่างชาวจังหวัดน่านในยุคปัจจุบันด้วย เรียกได้ว่าเป็นวันที่ Develop by คนน่านแท้ ๆ เลยครับ “วัดมิ่งเมือง” ตั้งอยู่บริเวณถนนสุริยพงศ์เส้นเดียวกับวัดภูมินทร์ ซึ่งห่างจากวัดภูมินทร์ไปทางทิศตะวันตกประมาณ 250 เมตร เลยศูนย์ขายของฝากเมืองน่านไปประมาณ 100 เมตร สามารถเดินจากวัดภูมินทร์มาได้ไม่ไกลมาก
เสามิ่งเมือง เสาหลักเมืองน่าน
“วัดมิ่งเมือง” เป็นที่ประดิษฐานเสาหลักเมืองของจังหวัดน่าน เสาหลักเมืองจะตั้งอยู่ในศาลาจตุรมุขสีขาว เสาทำจากอิฐปูนสูงประมาณ 1.50 เมตร และฐานสูงประมาณ 1 เมตร ประดับด้วยไม้แกะสลักลวดลายสีทอง ยอดเสาแกะสลักรูปหน้าพระพรหมที่แสดงถึง เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ส่วนใครที่เป็นสายบุญตามความเชื่อแล้ว “ หากมีโอกาสได้มาเมืองน่าน ก็ควรมาไหว้สักการะสักครั้ง และควรไหว้ทั้งหมด 4 ทิศ ” เพื่อความเป็นสิริมงคลกับชีวิต เพราะแต่ละทิศก็มีความหมายแตกต่างกัน
เริ่มจาก ทิศเหนือ ทิศตะวันออก ทิศใต้ และทิศตะวันตก โดยแต่ละทิศจะมีอุดมมงคลดังนี้
ทิศเหนือ คือพระเมตตา มีท่านท้าวเวสสุวรรณเป็นผู้รักษา เป็นทิศมงคลด้านอำนาจ มีบารมี มีความมั่นคง มีความกล้าแข็ง เข้มแข็ง เป็นที่เคารพ เกรงขาม
ทิศตะวันออก คือพระกรุณา มีท่านท้าวธะตะรัฎฐะเป็นผู้รักษา เป็นทิศมงคลด้านเสน่ห์ เมตตา มหานิยม เป็นที่รัก เป็นที่ปราถนา และชื่นชอบของคนและเทวดา
ทิศใต้ คือพระมุทิตา มีท่านท้าววิรุฬหะกะเป็นผู้รักษา เป็นทิศมงคลด้านความมั่งคั่ง ร่ำรวย อุดมสมบูรณ์ ทั้งทรัพย์สมบัติ ชื่อเสียง เกียรติยศ และบริวาร
ทิศตะวันตก คือพระอุเบกขา มีท่านท้าววิรูปักษ์เป็นผู้รักษา เป็นทิศมงคลด้านความสงบ ร่มเย็นเป็นสุข มีสันติภาพ ภราดร เป็นที่เคารพ นับถือ เชื่อถือ
สลากไทพลัส สลากออนไลน์ ใบละ 80บาท ถูกรางวัลรับเต็ม ไม่หักค่าทำเนียม
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม LINE : @STPLUS
หรือ คลิกที่รูปภาพด้านล่าง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น