วันอังคารที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

สลากไทพลัส กองสลากไท วัดเบญจมบพิตรฯ

 

สลากไทพลัส พาไปชม
วัดเบญจมบพิตรฯ ที่เก่าแก่

วัดเก่าแก่ที่งดงามแห่งหนึ่งของประเทศไทย ที่มีพระอุโบสถหินอ่อน ถือเป็นสถาปัตยกรรมที่สมบูรณ์แบบของศิลปะไทยอีกด้วย นั่นคือ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ราชวรวิหาร เรียกสั้นๆ วัดเบญจมบพิตรฯ สลากไทพลัส กองสลากไท

ภาพถ่ายตอนกลางคืน วัดเบญจมบพิตรฯ สลากไทพลัส

ประวัติ วัดเบญจมบพิตรฯ กองสลากไท

สลากไทพลัส กองสลากไท เปิดประวัติ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร หรือ วัดเบญจมบพิตรฯ เดิมเป็นวัดราษฎรวัดแหลม หลังจากปราบกบฏเจ้าอนุวงศ์แล้ว พระองค์เจ้าพนมวัน พร้อมพระอนุชาและพระขนิษฐาร่วมเจ้าจอมมารดาเดียวกันอีก 4 พระองค์ คือ
1. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระพิทักษเทเวศร์ (ต้นราชสกุลกุญชร)
2. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์ (ต้นราชสกุลทินกร)
3. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอินทนิล
4. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวงศ์
มีพระประสงค์ที่จะร่วมกันปฏิสังขรณ์วัดแหลม พร้อมทั้งทรงสร้างพระเจดีย์เรียงรายไว้หน้าวัด 5 องค์ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามใหม่ว่า วัดเบญจบพิตร หมายความว่า วัดของเจ้านาย 5 พระองค์
พระอุโบสถวัดเบญจมบพิตร เมื่อแรกสร้าง ในปี พ.ศ. 2441 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ซื้อที่ดินระหว่างคลองผดุงกรุงเกษมจนถึงคลองสามเสนเพื่อสร้างที่ประทับพักผ่อนพระอิริยาบถส่วนพระองค์ โดยพระราชทานนามว่า “สวนดุสิต” (พระราชวังดุสิต ในปัจจุบัน) ซึ่งบริเวณที่ดินที่ทรงซื้อนั้นมีวัดโบราณ 2 แห่ง คือ วัดดุสิตซึ่งอยู่ในสภาพทรุดโทรมโดยถูกใช้เป็นที่สร้างพลับพลา และวัดร้างอีกแห่งซึ่งจำเป็นต้องใช้ที่ดินของวัดสำหรับตัดเป็นถนน พระองค์จึงทรงกระทำผาติกรรม สร้างวัดแห่งใหม่เพื่อเป็นการทดแทนตามประเพณี โดยทรงเลือกวัดเบญจมบพิตรเป็นวัดที่ทรงสถาปนาตามพระราชดำริว่า การสร้างวัดใหม่หลายวัดยากต่อการบำรุงรักษา ถ้ารวมเงินสร้างวัดเดียวให้เป็นวัดใหญ่ และทำโดยฝีมือประณีตจะดีกว่า จึงโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เป็นผู้ทรงออกแบบก่อสร้างพระอุโบสถและถาวรวัตถุอื่น ๆ และมีพระยาราชสงคราม (กร หงสกุล) เป็นนายช่างก่อสร้าง
เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2441 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินมายังวัด ในการนี้มีพระบรมราชโองการประกาศพระบรมราชูทิศถวายที่ดินให้เป็นเขตวิสุงคามสีมาของวัด พร้อมทั้งพระราชทานนามวัดใหม่ว่า วัดเบญจมบพิตร อันหมายถึง วัดของพระเจ้าแผ่นดินรัชกาลที่ 5 และเพื่อแสดงลำดับรัชกาลในราชวงศ์จักรี ต่อมา พระองค์ได้ถวายที่ดินซึ่งพระองค์ขนานนามว่า ดุสิตวนาราม ให้เป็นที่วิสุงคามสีมาเพิ่มเติมแก่วัดเบญจมบพิตร และโปรดฯ ให้เรียกนามรวมกันว่า วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
เมื่อมีการจัดระเบียบพระอารามหลวงในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวในปี พ.ศ. 2458 วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามจัดเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร ดังนั้น ชื่อวัดจึงมีสร้อยนามต่อท้ายด้วย “ราชวรวิหาร” ดังเช่นในปัจจุบัน

ภาพถ่ายพระอุโบสถ วัดเบญจมบพิตรฯ สลากไทพลัส

ข้อมูล วัดเบญจมบพิตรฯ

วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม หรือ วัดเบญจมบพิตรฯ ตั้งอยู่ที่ เขตดุสิต กรุงเทพฯ ค่ะ แต่เดิมนั้นมีชื่อว่า วัดแหลม หรือ วัดไทร ทอง และไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อใด ต่อมาในภายหลังได้รับพระราชทานนามจาก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ใหม่ว่า วัดเบญจบพิตร ซึ่งหมายถึง วัดของเจ้านาย 5 พระองค์ที่ทรงร่วมกันปฏิสังขรณ์วัดแห่งนี้นั่นเอง
ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงสร้าง สวนดุสิต ขึ้น และพระองค์ทรงสถาปนาวัดด้วยศิลปะสถาปัตยกรรมไทยโบราณ มีการวางแปลนแยกสัดส่วนเป็นเขตพุทธาวาส สังฆาวาส และที่ธรณีสงฆ์ ทำให้ที่นี่เป็นวัดที่มีการวางแปลนแผนผังที่ดีที่สุดวัดหนึ่ง และพระราชทานนามว่า “วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม” ซึ่งหมายถึง “วัดของพระเจ้าแผ่นดินรัชกาลที่ 5” และเราก็ใช้ชื่อนี้มาจนถึงปัจจุบันค่ะ
ภายในวัดมีสถานที่สำคัญ และน่าสนใจมากมายทั้ง ศาลาสี่สมเด็จ พระที่นั่งทรงธรรม หอระฆังบวรวงศ์ พระอุโบสถ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ วัดเบญจมบพิตร ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์ที่สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อจัดแสดงพระพุทธรูปโบราณในสมัยต่างๆ ทั้งในและนอกประเทศ อีกทั้งยังมีสถานที่อื่นๆ ให้เยี่ยมชมอีกมากมายค่ะ สลากไทพลัส กองสลากไท

ภาพถ่ายพระพุทธรูป วัดเบญจมบพิตรฯ กองสลากไท

อาณาเขตวัดเบญจมบพิตร

ตั้งอยู่บริเวณถนนนครปฐมติดคลองเปรมประชากร ระหว่างสถานที่สำคัญๆ คือ พระราชวังดุสิต พระที่นั่งอนันตสมาคม พระตำหนักจิตลดารโหฐาน เขาดินวนา และทำเนียบรัฐบาล มีกำแพงล้อมรอบและซุ้มประตูเข้า-ออก เป็นเหล็กหล่อลวดลายโปร่งเหมือนกันหมดทั้ง 4 ด้าน
ทิศเหนือ : มี 3 ประตู
ทิศใต้ : มี 2 ประตู ทิศตะวันออก : มี 3 ประตู
ทิศตะวันตก : มี 2 ประตู

ที่ตั้ง วัดเบญจมบพิตร

ที่ตั้ง : 69 ถนนนครปฐม แขวงจิตรลดา เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300 เนื้อที่ 26ไร่ 1งาน 66ตารางวา

สลากไทพลัส สลากออนไลน์ ใบละ 80บาท ถูกรางวัลรับเต็ม ไม่หักค่าทำเนียม

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม LINE : @STPLUS

หรือ คลิกที่รูปภาพด้านล่าง


อ่านบทความเพิ่มเติมของ สลากไทพลัส


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ป้อมไพรีพินาศ

ที่เที่ยวโบราณ ป้อมไพรีพินาศ จังหวัดจันทบุรี ป้อมไพรีพินาศ ตั้งอยู่บนเขาแหลมสิงห์ หมู่ 1 ตำบลบางกะไชย อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี เป็นป้อ...