พาเที่ยว วัดเจดีย์ทอง จังหวัดปทุมธานี
พาเที่ยว วัดเจดีย์ทอง เป็นวัดราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายธรรมยุติกนิกาย วัดเจดีย์ทองตั้งอยู่บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ในหมู่ที่ 1 บ้านเจดีย์ทอง ตำบลคลองควาย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี ภายในวัดมีโบราณสถานและโบราณวัตถุมากมาย เช่น เจดีย์ทองแบบรามัญ หลวงพ่อขาวปางมารวิชัย กุฏิเรือนไทยทรงปันหยา ใบเสมาศิลาพายแดงขนาดใหญ่ เจดีย์พระปรางค์ เป็นต้น ตั้งอยู่ที่ ตำบลคลองควาย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี ว่ากันว่าวัดนี้ สร้างขึ้นในสมัยอยุธยา หลักฐาน ก็คือ เสมาขนาดใหญ่หินทรายแดง ที่ต่อมาในสมัยกรุงธนบุรีและต้นกรุงรัตนโกสินทร์ พระยาราม ราชบุตรเขยพระยาเจ่ง เป็นผู้ริเริ่มบูรณะและสร้างถาวรวัตถุและกุฏิศาลาขึ้นมาใหม่ค่ะ
ที่อยู่
หมู่ 1 ถนนปทุมธานี-สามโคก สามโคก, ปทุมธานี
ตั้งอยู่บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ตำบลคลองควาย การเดินทางใช้เส้นทางสายปทุมธานี-สามโคก ประมาณ 8 กิโลเมตร
เจดีย์ทองแบบรามัญทรงระฆัง ยอดเจดีย์เป็นปล้องไฉน ก่อด้วยอิฐฐานรูปสี่เหลี่ยมสวยงาม ภายในประดิษฐานพระพุทธรูป 4 ด้าน ลงรักปิดทอง ประดับกระจกสี และยอดประดับด้วยฉัตร 9 ชั้น สถาปัตยกรรมมอญที่เลียนแบบมาจากเจดีย์จิตตะกองของพม่า คือเอกลักษณ์และความงดงามของวัดเจดีย์ทอง วัดเก่าสมัยกรุงศรีอยุธยาที่มีหลักฐานคือ เสมาขนาดใหญ่หินทรายแดง ซึ่งต่อมาสมัยกรุงธนบุรีและต้นกรุงรัตนโกสินทร์ พระยารามราชบุตรเขยพระยาเจ่งเป็นผู้ริเริ่มบูรณะและสร้างถาวรวัตถุและกุฏิศาลาขึ้นใหม่ ภายในวัดนอกจากเจดีย์ทองแล้วยังมีพระพุทธรูปปางมารวิชัยสร้างขึ้นด้วยหยกขาวเป็นที่เคารพสักการะของชาวไทยรามัญ กุฏิเรือนไทย กุฏิทรงปั้นหยา หอสวดมนต์ตกแต่งด้วยลวดลายและแกะสลักและลายฉลุเชิงชายช่องลม ใบเสมาศิลาพายแดงศิลปอยุธยา เจดีย์พระปรางค์ประดับกระเบื้องเคลือบแบบจีนที่ไม่ควรพลาดมาเยี่ยมชมวัดมอญที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนานและเปี่ยมด้วยคุณค่าทางศาสนาและศิลปะ เปิดให้เข้าชมทุกวันทำการเวลา 08.00-16.30 น.
ประวัติ วัดเจดีย์ทอง
สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นตอนต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ชาวรามัญที่ได้อพยพจากพม่าจากเมืองเมาะตะมะตั้งแต่สมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี แล้วได้สร้างวัดแห่งนี้ โดยมีพระยารามราชบุตรเขยพระยาเจ่ง เป็นพระเจ้ามหาโยธาเป็นผู้นำเข้ามาและเป็นผู้ริเริ่มบูรณะและสร้างถาวรวัตถุ กุฏิศาลาขึ้นใหม่ วัดได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. 2508 เหตุที่ชื่อว่าวัดเจดีย์ทอง เข้าใจคงนำเอาชื่อนี้มาจากเมืองมอญซึ่งเคยเป็นสถานที่อยู่ของตนแต่เดิม
อาคารเสนาสนะ
แบบรามัญทรงระฆัง รูปแบบคล้ายอานานดาพะย่าในพม่า ตั้งอยู่หน้าบริเวณวัดได้สร้างขึ้นพร้อม ๆ กับการสร้างวัดนี้ ยอดเจดีย์เป็นปล้องไฉน ก่อด้วยอิฐฐานรูปสี่เหลี่ยม ภายในประดิษฐานพระพุทธรูป 4 ด้าน ลงรักปิดทอง ประดับกระจกสี และยอดประดับด้วยฉัตร 9 ชั้น วัดมีเสมาขนาดใหญ่หินทรายแดง พระยารามราชบุตรเขยพระยาเจ่งเป็นผู้ริเริ่มบูรณะและสร้างถาวรวัตถุและกุฏิศาลาขึ้นใหม่ มีกุฏิเรือนไทย กุฏิทรงปั้นหยา หอสวดมนต์ตกแต่งด้วยลวดลายและแกะสลักและลายฉลุเชิงชายช่องลม เจดีย์พระปรางค์ประดับกระเบื้องเคลือบแบบจีน
ปูชนียวัตถุที่สำคัญ มีพระพุทธรูปปางมารวิชัยสร้างขึ้นด้วยหยกขาว หน้าตักกว้าง 1 ศอก สูง 2 ศอก ประดิษฐานอยู่ที่หอสวดมนต์
เอกลักษณ์ของ วัดเจดีย์ทอง
คือ เจดีย์สีทอง ที่สร้างในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ โดยชาวมอญ เป็นสถาปัตยกรรมมอญที่เลียนแบบมาจาก เจดีย์จิตตะกอง ของเมียนม่า เป็นเจดีย์ทองผสมสีขาว รูปแบบรามัญ ทรงระฆัง ยอดเจดีย์เป็นปล้องไฉนก่อด้วยอิฐฐานสี่เหลี่ยมสวยงาม ภายในประดับด้วยกระจกสี และยอดจะประดับด้วยฉัตร 9 ชั้น ประดิษฐานพระพุทธรูป คือ พระพุทธรูปหยกขาว หรือ หลวงพ่อขาว ที่เป็นศิลปะแบบล้านนาอีกด้วยค่ะ
ถัดจาก เจดีย์ทอง ก็จะมีเจดีย์ขนาดเล็กๆ อีกอัน ที่มีสีสันสดใส ประดับตกแต่งด้วยชิ้นส่วนกระเบื้องเคลือบสีสันต่างๆ มากมาย เป็นรูปแบบของศิลปะแบบจีน รูปดอกไม้ รูปตุ๊กตาคนนั่งในมุมต่างๆ ที่แปลกตาแต่ดูแล้วก็มีความน่ารักมากๆ อย่างบอกไม่ถูกเลยค่ะ นี้ จะตั้งอยู่ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา โดยเส้นทางริมน้ำนี้ นอกจากวัดนี้ ก็ยังมี วัดสวย อีกหลายแห่งมากมาย และยังมีสถานที่ที่สะท้อนเรื่องราวในอดีตของชุมชนมอญอีกด้วยค่ะ
การเดินทาง ไป วัดเจดีย์ทอง
สามารถใช้เส้นทาง สายปทุมธานี-สามโคก ขับไปประมาณ 8 กิโลเมตร จากนั้นให้เลี้ยวแยกไปขวา เข้าไปอีก 500 เมตรก็จะถึงวัดค่ะ ใครมีโอกาสได้ขับรถไปเที่ยว ปทุมธานี ก็อย่าลืมแวะไปกราบสักการะ หลวงพ่อขาว และไปชมวัดสวยๆ กันได้ค่ะ ที่สำคัญอย่าลืมถ่ายภาพกับเจดีย์สีทองกันมาด้วยนะคะ
สลากไทพลัส สลากออนไลน์ ใบละ 80บาท ถูกรางวัลรับเต็ม ไม่หักค่าทำเนียม
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม LINE : @STPLUS
หรือ คลิกที่รูปภาพด้านล่าง
อ่านบทความเพิ่มเติมของ สลากไทพลัส
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น