กอตะลุยเที่ยว ประเพณียี่เป็ง ของภาคเหนือ
กองสลากไท ร่วมกับ สลากไทพลัส ขอเสนอ ประเพณียี่เป็ง หรือ ประเพณีเดือนยี่ คือ ประเพณีลอยกระทงแบบล้านนาโดยคำว่า ยี่ แปลว่า สอง ส่วน เป็ง แปลว่า เพ็ญ หรือ คืนพระจันทร์เต็มดวง ซึ่งหมายถึงประเพณีในวันเพ็ญเดือนสองของชาวล้านนา ซึ่งตรงกับเดือนสิบสองของไทย
กองสลากไท ทราบมาว่างานประเพณีจะมีสามวัน
วันขึ้นสิบสามค่ำ หรือ วันดา เป็นวันซื้อของเตรียมไปทำบุญที่วัด
วันขึ้นสิบสี่ค่ำ จะไปทำบุญกันที่วัด พร้อมทำกระทงใหญ่ไว้ที่วัดและนำของกินมาใส่กระทงเพื่อทำทานให้แก่คนยากจน
วันขึ้นสิบห้าค่ำ จะนำกระทงใหญ่ที่วัดและกระทงเล็กส่วนตัวไปลอยในลำน้ำ เพื่อบูชารอยพระพุทธบาท
ในช่วงวันยี่เป็งจะมีการประดับตกแต่งวัด บ้านเรือน ทำประตูป่า ด้วยต้นกล้วย ต้นอ้อย ทางมะพร้าว ดอกไม้ ตุง ช่อประทีป และชักโคมยี่เป็งแบบต่าง ๆ โดยจำลองเหตุการณ์ที่ชาวเมืองจัดบ้านเมืองเพื่อต้อนรับการเสด็จกลับจากป่าของพระเวสสันดร และมีการจุดถ้วยประทีป(การจุดผางปะตี๊บ) เพื่อบูชาพระรัตนตรัย และมีการจุดว่าวไฟปล่อยขึ้นสู่ท้องฟ้าเพื่อบูชาพระเกตุแก้วจุฬามณีบนสรวงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
การตั้งธรรมหลวง ข้อมูลจาก สลากไทพลัส
การตั้งธรรมหลวง หรือเทศน์มหาชาติ ในอดีตเป็นหัวใจหลักของงานยี่เป็ง โดยแบ่งการเทศน์เป็น วันแรกเทศน์ธรรมวัตร วันที่สองเทศน์คาถาพัน ก่อนที่จะเทศน์มหาชาติก็จะเทศน์เรื่องอื่นไปเรื่อย ๆ พอถึงวันสุดท้ายก็จะเทศน์ด้วยคัมภีร์ชื่อ มาลัยต้น มาลัยปลาย และอานิสงส์มหาชาติ รุ่งขึ้นเวลาเช้ามืดก็จะเริ่มเทศน์มหาชาติตั้งแต่กัณฑ์ทศพรเรื่อยไป จนครบทั้ง 13 กัณฑ์ ซึ่งมักจะไปเสร็จเอาในเวลาทุ่มเศษ แล้วจะมีการเทศนธรรมพุทธาภิเษกปฐมสมโพธิ สวดมนต์เจ็ดตำนานย่อ ธัมมจักกัปปวัตนสูตร และสวดพุทธาภิเษก ปัจจุบันนิยมเทศน์จบภายในวันเดียว ก่อนการจัดพิธีตั้งธรรมหลวง พระเณรและชาวบ้านต้องช่วยกันเตรียมงานเป็นการใหญ่ ล่วงหน้าอย่างน้อยเป็นเดือน เพราะต้องเตรียมการในหลายส่วน เช่น การ “ตกธรรม” คือการไปนิมนต์พระเสียงดีมาเทศน์ การตกแต่งสถานที่ การทำรั้วราชวัตร ประตูป่า ประดับโครงซุ้มด้วยทางมะพร้าว ประดับด้วยฉัตร ธง ช่อช้าง ต้นกล้วย ต้นอ้อย ต้นข่า ต้นกุก มาปักไว้ให้ดูเหมือนกับประตูเข้าป่า การที่จัดทำประตูป่านี้ คาดว่าคงจำลองมาจากเรื่องในเวสสันดรชาดก คือตอนที่พระเวสสันดรถูกขับให้ออกจากเมือง พร้อมทั้งพระมเหสีและโอรสธิดา จึงพากันเข้าไปอยู่ในป่าเพื่อบวชเป็นฤาษีบำเพ็ญบารมี เมื่อไปถึงประตูป่าที่มีพรานเจตบุตรเป็นผู้เฝ้า ได้ชี้ทางไปเขาวงกตให้และอาจมีการจำลองเขาวงกตไว้ภายในวัดให้ได้เดินเล่น
ด้านข้างพระประธานในวิหารก็จะมีอ่างน้ำมนต์ โดยใช้น้ำมันงา หรือน้ำมันมะพร้าว ใส่ลงไป โยงสายสิญจน์จากพระประธาน ไปยังธรรมมาสน์ โยงมาพันที่อ่างน้ำมนต์สามรอบ แล้วโยงกลับไปยังธรรมมาสน์ให้พระถือไว้ขณะเทศน์กัณฑ์ต่างๆ เชื่อว่าอานุภาพของการเทศน์ตั้งธรรมหลวงจะทำให้น้ำมนต์นี้ศักดิ์สิทธิ์ ใช้ทาแผล แก้ปวดเคล็ดขัดยอก แก้ผื่นคัน และเชื่อว่าจะทำให้อยู่ยงคงกระพัน
การปล่อยว่าว
ว่าว ในภาษาล้านนา หมายถึง เครื่องเล่นชนิดหนึ่งทำด้วยกระดาษ สำหรับปล่อยให้ลอยไปตามลม คล้ายกับบอลลูน ตามวัฒนธรรมของล้านนา ในช่วงยี่เป็งจะมีการปล่อยว่าว 2 แบบ คือ
ว่าวฮม (ว่าวลม) หรือ ว่าวควัน นำกระดาษหลายสี มาทำเป็นถุงรับความร้อนจากควันไฟ ใช้ควันไฟที่มีความร้อนอัดเข้าไปในตัวว่าว เรียกว่า ฮมควัน เพื่อให้พยุงให้ลอยขึ้นไปในอากาศได้ มี2ชนิดคือ ว่าวสี่แจ่ง คือว่าวทรงสี่เหลี่ยม และ ว่าวมน คือว่าวทรงมน มักจะผูกสายประทัดติดที่หางว่าวและจุดเมื่อปล่อย นิยมปล่อยกันในช่วงกลางวัน
ว่าวไฟ ใช้หลักการเดียวกันกับการทำว่าวฮม แต่ใช้กระดาษน้อยกว่า และอาศัยความร้อนจากลูกไฟที่ผูกติดกับแกนกลาง ทำให้ว่าวลอยขึ้นสู่อากาศ ลูกไฟที่ผูกติดแกนกลางในอดีตนั้น ใช้ขี้หญ้าหล่อเป็นแท่ง ปัจจุบันนิยมใช้กระดาษชำระชุบขี้ผึ้งเทียน นิยมจุดในตอนกลางคืน
ปัจจุบันนิยมเรียกหรือเรียกเพราะไม่รู้ตามแบบภาคกลางโดยเรียก ว่าวควันหรือว่าวฮม ว่า“โคมลอย” และเรียกว่าวไฟว่า “โคมไฟ” ทั้งๆ ที่โคมแปลว่าเครื่องใช้ที่ให้แสงสว่าง สันนิฐานว่าการปล่อยว่าวน่าาจะเป็นการทำตามแบบของพวกฝรั่งหรือมิชชันนารี ในเมืองเชียงใหม่
โคมยี่เป็ง
ในช่วงก่อนจะถึงวันยี่เป็ง จะมีการประดิษฐ์โคมรูปลักษณะต่างๆ (ภาษาล้านนาออกเสียง โคม ว่า โกม ) เพื่อเตรียมใช้ในการจุดผางประทีปบูชา โดยการแขวนใส่ค้างโคมบูชาตามพระธาตุเจดีย์ แขวนไว้หน้าวิหาร กลางวิหาร หรือในปัจจุบันนิยมแขวนประดับตกแต่งตามอาคารบ้านเรือน มีหลากหลายรูปทรง เช่น โคมรังมดส้ม โคมไห โคมกระจัง โคมดาว โคมกระบอก โคมเงี้ยว(โคมเพชร) โคมหูกระต่าย โคมผัด โคมแอว โคมญี่ปุ่น และอีกมากมาย
บอกไฟ
ในช่วงยี่เป็ง สล่าบอกไฟ (ดอกไม้ไฟ) จะมีการจัดเตรียมทำบอกไฟชนิดต่างๆ เพื่อใช้จุดเป็นพุทธบูชา บูชาพระเกศแก้วจุฬามณี จุดบูชาประกอบพิธีเทศน์มหาชาติหรือตั้งธรรมหลวง และเป็นเครื่องเล่นของเด็กๆ บอกไฟที่นิยมจุด ได้แก่ บอกไฟยิง บอกไฟข้าวต้ม บอกไฟดอก บอกไฟดาว บอกไฟบะขี้เบ้า(บอกไฟน้ำต้น) บอกไฟช้างร้อง บอกไฟเทียน เด็กๆก็มักจะเล่นบอกถบ หรือประทัด หรือจุดมะผาบ และสะโปก เพื่อให้เกิดเสียงดัง
ล่องสะเปา
ในอดีตชาวล้านนาไม่นิยมลอยกระทง แต่นิยมล่องสะเปา หรือไหลเรือสำเภา นิยมทำสะเปากันที่วัด โดยชาวบ้านช่วยกันทำสะเปาเป็นรูปเรือลำใหญ่ วางบนแพไม้ไผ่ และนำสะตวง พร้อมด้วยข้าวของต่างๆ ทั้งหม้อ ไห เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม เครื่องอุปโภค บริโภคต่างๆ ใส่ลงไปในสะเปา ในช่วงหัวค่ำของวันยี่เป็ง จึงพากันหามสะเปา พร้อมแห่ด้วยฆ้องกลองจากวัดไปลอยที่แม่น้ำ และทำพิธีเวนทานที่ท่าน้ำก่อนปล่อยสะเปาลอยลงไป ขณะที่สะเปาลอยไปได้ระยะหนึ่ง จะมีคนยากจนคอยดักรอสะเปากลางแม่น้ำ เพื่อนำเอาของอุปโภคต่างๆมาใช้อุปโภคและบริโภค จึงเป็นการบริจาคทานแบบหนึ่ง
การลอยกระทง
รับมาจากภาคกลางในช่วงหลัง โดยเจ้าดารารัศมี พระราชชายา เป็นผู้ที่ริเริ่มการลอยกระทงที่เชียงใหม่เป็นคนแรก ในช่วง พ.ศ.2460-2470 โดยจุดเทียนบนกาบมะพร้าวทำเป็นรูปเรือเล็ก หรือรูปหงส์ และใช้ท่อนไม้ปอทำเป็นรูปเรือ แต่ยังไม่เป็นที่นิยมมากนัก ต่อมานายทิม โชตนา นายกเทศมนตรีเมืองเชียงใหม่ ในช่วง พ.ศ.2490 ได้สนับสนุนการท่องเที่ยวโดยจัดให้มีการลอยกระทงมากขึ้น และมีการจัดงานขึ้นที่ประตูท่าแพ และพุทธสถาน หลังจากนั้นการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ได้ส่งเสริมการลอยกระทงแบบกรุงเทพฯ ที่จังหวัดเชียงใหม่ขึ้นอย่างจริงจังและร่วมกับเทศบาลนครเชียงใหม่ โดยมีการประกวดขบวนกระทงเล็ก และขบวนกระทงใหญ่ ต่อมาสมาคมผู้ประกอบการย่านไนท์บาร์ซา ได้จัดประกวดขบวนโคมยี่เป็งขึ้นอีกวันหนึ่งปัจจุบันประเพณีล่องสะเปา จัดขึ้นที่ จังหวัดลำปาง เป็นประเพณีลอยกระทงของจังหวัด
การจัดตกแต่งซุ้มประตูป่า
ก่อนจะถึงวันยี่เป็ง ประมาณ 1-2 วัน ชาวล้านนาจะเตรียมจัดตกแต่งประตูบ้านแบะประตูวัด ด้วยซุ้มประตูป่า โดยนำต้นกล้วย ใบมะพร้าว ต้นอ้อย ต้นข่า โคมหูกระต่าย โคมเงี้ยวหรือโคมชนิดอื่นๆ ดอกตะล่อม(บานไม่รู้โรย) ดอกคำปู้จู้ (ดาวเรือง) ฯลฯ ตกแต่งเป็นซุ้มประตูป่าอย่างงดงาม มีจุดมุ่งหมาย เพื่อเป็นเครื่องสักการะถวายการต้อนรับพระเวสสันดรในวันยี่เป็ง ครั้งเสด็จออกจากป่าเข้าสู่เมือง ซึ่งปรากฏในเวสสันดรชาดก อันเป็นชาติสุดท้ายของพระโพธิสัตว์ก่อนจะประสูติเป็นพระพุทธเจ้า พระครูอดุลสีลกิตติ์ (ฐานวุฑโฒ) (สัมภาษณ์, 4 พฤศจิกายน 2551) ผู้รู้ด้านประเพณีล้านนากล่าวว่า ในช่วงประเพณีเดือนยี่เป็ง ชาวล้านนานิยมที่จัดเทศนาธรรมเรื่อง เวสสันดรชาดกและในกัณฑ์ที่ 13 กัณฑ์สุดท้ายหรือนครกัณฑ์ เป็นการพรรณนาเกี่ยวกับเหตุการณ์หลังจากพระเวสสันดรทรงลาผนวช และทรงเครื่องกษัตริย์เสด็จกลับจากป่าหิมพานต์เพื่อเข้าครองนครสีพี ชาวบ้านชาวเมืองต่างดีใจจึงประดับตกแต่งเมืองด้วยซุ้มประตูป่าอย่างงดงาม จากเรื่องราวที่ปรากฏในเวสสันดรชาดกนี้คนล้านนาจึงจำลองฉากเวสสันดรชาดกมาไว้ยังบ้านของตนเอง ด้วยการตกแต่งประดับประดาจำลองเป็นป่าหิมมพานต์ และเชื่อว่าถ้าใครตกแต่งซุ้มประตูป่าได้งดงาม อาจทำให้พระเวสสันดรเสด็จหลงเข้ามาในซุ้มประตูป่าที่จำลองเป็นป่าหิมพานต์ภายในบ้านของของเรา จะทำให้ได้อานิสงส์อย่างมาก
การสร้างซุ้มประตูป่า นอกจากมีคติความเชื่อ ในเรื่องการต้อนรับการเสด็จกลับจากป่าของพระเวสสันดรแล้ว ยังเป็นซุ้มที่ใช้จุดผางประทีส เพื่อบูชาพระเจ้าห้าพระองค์ โดยจุดไว้ในโคมหูกระต่ายหรือโคมชนิดอื่นๆ ที่ใช้ในการประดับตกแต่ง
สลากไทพลัส สลากออนไลน์ ใบละ 80บาท ถูกรางวัลรับเต็ม ไม่หักค่าทำเนียม
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม LINE : @STPLUS
หรือ คลิกที่รูปภาพด้านล่าง
อ่านบทความเพิ่มเติมของ สลากไทพลัส
สลากไทพลัส กองสลากไท ศาลาแก้วกู่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น