วันพฤหัสบดีที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2566

สะพานซูตองเป้ สลากไทพลัส กองสลากไท

 

สะพานซูตองเป้ สลากไทพลัส กองสลากไท

ความสวยงามที่เปลี่ยนแปลงไปในทุกฤดู และ ความงดงามทางวัฒนธรรม มีให้เห็นได้ที่นี่ สะพานอธิษฐานสำเร็จ… ซูตองเป้ เมื่อปลายปี 2022 ที่ผ่านมา ได้มีโอกาสไปเยือน สะพานซูตองเป้ สลากไทพลัส กองสลากไท คราวนี้ไปในช่วงที่นาข้าวเปลี่ยนเป็นสีทอง และชาวบ้านกำลังเริ่มทยอยเกี่ยวข้าวจากนาพอดี  เลยได้เห็นภาพทั้งความสวยงามของสิ่งปลูกสร้าง และ ทุ่งนาทองอร่าม รวมไปถึงความสนุกสนาน ของชาวบ้าน ที่มาเกี่ยวข้าว แม้ว่าแดดจะร้อนขนาดไหน ในระหว่างทำงาน ก็ยังมรการหยอกล้อ เสียงหัวเราะ และ รอยยิ้มกันตลอดเวลา

สะพานแห่งศรัทธา หรือ สะพานซูตองเป้ โดย สลากไทพลัส กองสลากไท

สะพานซูตองเป้ สลากไทพลัส กองสลากไท

สะพานแห่งศรัทธา หรือ สะพานซูตองเป้ ตั้งอยู่ที่บ้านกุงไม้สัก ต.ปางหมู อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน ห่างจากตัวเมืองไปประมาณ 8 กิโลเมตร สะพานซูตองเป้ เป็นสะพานไม้ ( โครงสร้าง เสา – คาน ) ส่วนพื้นปูด้วยไม้ไผ่ ที่ทำในลักษณะพื้นสับฟาก พื้นขัดแตะ (เหมือนฝาบ้าน ) และ พื้นไม้ไผ่สาน มีความกว้างประมาณ 2 เมตร แต่ยาวถึง 500 เมตร ซึ่งได้รับการยกย่อง ให้เป็นสะพานไม้ไผ่ ที่ยาวที่สุดในเมืองไทย

สะพานแห่งนี้ เกิดจากแรงกายแรงใจ ของทั้งพระภิกษุ สามเณร ชาวบ้านกุงไม้สัก และ คณะศรัทธาต่าง ๆ ( โดยการนำของ พระปลัดจิตตพัฒน์ อคคฺปัญโญ ประธานสงฆ์สวนธรรมภูสมะ ) ที่ได้ร่วมกันสร้างขึ้นทอด ข้ามแม่น้ำสะงาข้ามทุ่งนาของชาวบ้าน เชื่อมระหว่าง“ สวนธรรมภูสมะ ” สถานปฏิบัติธรรมอันปลีกวิเวกสงบ กับ “ หมู่บ้านกุงไม้สัก ” เพื่อให้พระภิกษุสามเณร จากสวนธรรมภูสมะเดินบิณฑบาตรวมถึงชาวบ้าน เกษตรกรที่อยู่ในบริเวณนั้น ได้เดินข้ามสัญจร ไป-มา 

ซูตองเป้ เป็นภาษาไทใหญ่ แปลว่า อธิษฐานสำเร็จสัมฤทธิผล ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสถานที่ ที่สร้างจากแรงศรัทธา ของพุทธศาสนิกชน โดยเจ้าของที่นาได้ถวายผืนนา ที่สะพานสร้างทอดผ่าน ส่วนคณะศรัทธาอื่น ๆ ก็ได้บริจาคเสาไม้ บริจาคไม้ไผ่ แรงงาน และ ปัจจัยอื่น ๆ ในการสร้างสะพานแห่งนี้

ส่งผลให้สะพานซูตองเป้ ใช้งบประมาณในการก่อสร้างไม่มากไม่มาย เพียง 8 แสนกว่าบาท (ถ้าเป็นของทางราชการ หรือ นักการเมืองท้องถิ่น นี่คงปาเข้าหลายล้าน เพราะต้องเสียค่าหักหัวคิวด้วย ) ใช้เวลาก่อสร้างไม่นานราว 3 เดือนกว่า โดยได้ทำการวางเสาเอก ในวันที่ 20 เม.ย. 2554 และ ทำการก่อสร้างเสร็จสิ้น เปิดใช้อย่างเป็นทางการ ในวันที่ 5 ส.ค. 2554 

หลังสะพานแห่งนี้สร้างแล้วเสร็จนอกจากประโยชน์ด้านการสัญจรแล้ว ด้วยความสวยงามคลาสสิก เป็นเอกลักษณ์ของสะพาน กับทำเลที่ตั้งที่มีทิวทัศน์สวยงาม รวมถึงวิถีปฏิบัติของ พระ – เณรแห่งสวนธรรมภูสมะนั้น ก็เปี่ยมศรัทธาน่าเลื่อมใส ส่งผลให้สะพานซูตองเป้ กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นมาในเวลาไม่นาน

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อภาพของสะพานซูตองเป้ ได้ถูกนำไปเผยแพร่บนโลกออนไลน์ มีการโพสต์ การแชร์กันอย่างกว้างขวาง นั่นจึงทำให้สะพานแห่งนี้มีชื่อเสียงโด่งดังขึ้นมาอย่างรวดเร็ว กลายเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวที่มาแรง และ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวสุดฮอตในอันดับต้น ๆ ของเมืองสามหมอก จังหวัดแม่ฮ่องสอน 

เปี่ยมศรัทธา น่าเลื่อมใส 

ด้วยความโด่งดังของสะพานซูตองเป้ ทำให้เมื่อมีโอกาสขึ้นไปแอ่วเมืองสามหมอก ผมจึงไม่พลาด การไปสัมผัสกับสะพานไม้ไผ่ที่ยาวที่สุดในประเทศไทยแห่งนี้ ด้วยประการทั้งปวง

ชาวบ้านแถวนั้นมีการบอกต่อ ๆ กันว่า สมัยก่อนตอนยังไม่สร้างสะพาน พระ-เณร ที่ออกบิณฑบาตยามเช้าจากสวนธรรมภูสมะต้องเดินอ้อมแม่น้ำไกลเพื่อเข้ามาในหมู่บ้าน ส่วนชาวบ้านกุงไม้สักจะมาทำบุญที่สวนธรรมฯก็ต้องเดินอ้อมกัน ถือว่าลำบากน่าดู(สวนธรรมยังมีเส้นทางขั้นได้อีกทางหนึ่งหากไม่ได้มาทางสะพาน)

สำหรับสวนธรรมภูสมะ เป็นพุทธศาสนาสถานอันปลีกวิเวก บรรยากาศดี และวิวดี ภายในบริเวณ(ที่ตั้งอยู่บนเนินเขา) ดูงดงามไปด้วยศิลปะพม่าและไทใหญ่รวมถึงงานร่วมสมัยที่ทางวัดนำมาประดับไว้ โดยอาคารต่าง ๆ จะดูโดดเด่นไปด้วยหลังคาฉลุสังกะสี ในแบบศิลปะพม่า 

ส่วนที่ถือเป็นไฮไลท์ก็คือองค์ “ พระพุทธรูปทรงเครื่อง ” พระประธานแห่งสวนธรรมฯ องค์ที่งดงามไปด้วยศิลปะพม่าสีทองอร่ามประดิษฐานอยู่ภายในวิหารโถง ไม่มีผนัง ส่วนข้าง ๆ ก็มีอาคารขนาดรองประดิษฐาน พระพุทธรูปให้สักการะบูชา รวมไปถึง อาคารที่ให้คนมาไหว้พระแล้วทำบุญ ด้วยการเขียนชื่อใส่ป้ายแขวนไว้ ที่ผมเห็นแล้วชวนให้นึกถึงวัดจำนวนมาก ในญี่ปุ่นหรือเกาหลีไม่น้อยเลย

นอกจากนี้ภายในสวนธรรมก็ยังมีถ้อยคำธรรมะ คติเตือนใจ และรูปปั้นปริศนาธรรมที่ทรงเสน่ห์ไปด้วยงานศิลปะร่วมสมัย อีกทั้งยังมีจุดชมวิวที่มองลงไปเห็นสะพานซูตองเป้ทอดยาวอย่างสวยงาม 

นับเป็นอีกหนึ่งจุดชมสะพานซูตองเป้ยอดนิยม โดยเฉพาะยามที่ พระ-เณร ออกเดินบิณฑบาต ยามขากลับที่มีคนนิยมถ่ายภาพมุมนี้ออกมากันเป็นจำนวนมาก

ลงจากสวนธรรมฯเรายังไม่ได้ไปไหนไกล เพราะ ช่วงนี้แสงแดดอ่อน ๆ ยามเช้ากำลังสาดส่อง บรรยากาศถือว่าดีเป็นบ้า เราจึงยังคงใช้เวลาละเลียดเสพความงามของสะพาน และ ทิวทัศน์รอบข้างกันอย่างเท่าที่ใจต้องการ 

สะพานซูตองเป้ มีหลากหลายมุมให้สัมผัส ถ่ายรูปเที่ยวชม ไม่ว่าจะเป็นในช่วงโค้งสะพาน ใต้สะพาน พื้นไม้ไผ่ (สาน) เหลี่ยมเสา หัวสะพาน หรือ มองผ่านทุ่งนา ซึ่งในช่วงฤดูฝนที่ท้องทุ่งนาเขียวขจี กับ ช่วงหน้าหนาวที่ข้าวออกรวงเหลืองทอง มุมมองของสะพานถือว่าสวยงามมาก เป็นช่วงไฮไลท์ของการถ่ายรูปสะพานเลยทีเดียว

พื้นสะพานซูคตองเป้ จ.แม่ฮ่องสอน โดย กองสลากไท

สะพานซูตองเป้ สลากไทพลัส กองสลากไท

พื้นสะพานทำด้วยไม้ไผ่ ไม่ได้สร้างขึ้นมารองรับการกระโดด กระแทกกระทั้น ทำให้สะพานซูตองเป้กลายเป็นดังสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นมา ในทางอ้อม และ มีนักท่องเที่ยวเดินทางไปถ่ายรูปสะพานแห่งนี้เป็นจำนวนมาก ซึ่งนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ต่างก็ไปด้วยจุดประสงค์ที่ดีงาม โดยนอกจากจะไปถ่ายรูปสะพานแห่งนี้แล้ว ก็ยังไปใส่บาตรพระภิกษุสามเณร ที่ออกบิณฑบาตในตอนเช้าตรู่ ไปทำบุญ ไหว้พระที่สวนธรรมภูสมะกัน 

อย่างไรก็ดีในข้อเท็จจริงนั้น แม้สะพานซูตองเป้ จะมีโครงสร้างของเสา คาน เป็นไม้จริง และ โครงสร้างบางส่วนเป็นเหล็ก แต่ว่าพื้นสะพานนั้น ทำเป็นไม้ไผ่สานที่ไม่แข็งแรงนัก เนื่องจากมีวัตถุประสงค์ในการสร้างขึ้นเพื่อ รองรับน้ำหนักในการเดินสัญจรไป – มาธรรมดา ไม่ได้สร้างขึ้น เพื่อรองรับน้ำหนัก การกระแทกกระทั้น กระโดด วิ่ง หรือการแบกสิ่งของที่มีน้ำหนักมาก ๆ

ดังนั้น การที่มีนักท่องเที่ยวขึ้นไปกระโดด หรือ วิ่งบนสะพานนั้น นับเป็นพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมด้วยประการทั้งปวง เพราะ นั่นเป็นการทำให้สะพานชำรุดทรุดโทรมเร็วขึ้น ซึ่งสำหรับคนที่มาเที่ยวสะพานแห่งนี้ เมื่อเราเข้าไปรบกวนสถานที่ปฏิบัติธรรม ของบรรพชิตท่าน ก็จำเป็นต้องสำรวมทั้ง กาย วาจา ใจ จะถ่ายรูป เซลฟี่ ต้องทำอย่างสำรวม เหมาะสม 

ความสำคัญของ สะพานซูตองเป้ โดย สลากไทพลัส

ในช่วงเทศกาลปีใหม่ของทุกปี ที่สะพานไม้แห่งนี้จะเต็มไปด้วยชาวบ้านจำนวนมาก มาทำบุญตักบาตร เพื่อสร้างบุญสร้างกุศล เป็นสิริมงคลต้อนรับปีใหม่ และ มีการจัดงานพุทธศิลป์สวดมนต์ข้ามปี เพื่อเสริมสร้างจิตใจให้สงบ และ ในบริเวณวัดได้มีการจัดตกแต่งด้วยตุงและธงสีหลากหลายสีสันอย่างสวยงาม

ปัจจุบัน

สะพานไม้ไผ่ได้รับการปรับปรุงให้มีฐานที่มั่นคงมากขึ้น เพื่ออำนวยความสะดวก และ ความปลอดภัยแก่ พระภิกษุสงฆ์ ชาวบ้าน และ นักท่องเที่ยว

การเดินทางไปสะพานซูตองเป้

       จากตัวเมืองแม่ฮ่องสอน ให้ใช้เส้นทางแม่ฮ่องสอน – ปางมะผ้า (ทางหลวงหมายเลข1095) ขับมาประมาณ 10 กิโลเมตรจะถึงแยกบ้านกุงไม้สัก เลี้ยวซ้ายไปทางบ้านกุงไม้สักอีกประมาณ 1.5 กิโลเมตร จะถึงทางแยกเข้าหมู่บ้าน ตรงเข้าไปทางขวามือ ตามถนนในหมู่บ้าน ทางเข้าสะพานซูตองเป้ จะเป็นทางเดินเล็ก ๆ ระหว่างบ้านในหมู่บ้าน นักท่องเที่ยวสามารถจอดรถไว้ ที่วัดกุงไม้สัก แล้วเดินย้อนออกมาอีกเล็กน้อย ก็จะถึงทางเดินเข้าสะพานซูตองเป้

  • ที่อยู่ : บ้านกุงไม้สัก หมู่ 2 ตำบลปางหมู อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน
  • เปิดให้เข้าชม : สามารถเที่ยวชมได้ตลอดทั้งวัน
  • โทร : –
  • เว็บไซต์ : –

สลากไทพลัส สลากออนไลน์ ใบละ 80บาท ถูกรางวัลรับเต็ม ไม่หักค่าทำเนียม

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม LINE : @STPLUS

หรือ คลิกที่รูปภาพด้านล่าง


อ่านบทความเพิ่มเติมของ สลากไทพลัส


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ป้อมไพรีพินาศ

ที่เที่ยวโบราณ ป้อมไพรีพินาศ จังหวัดจันทบุรี ป้อมไพรีพินาศ ตั้งอยู่บนเขาแหลมสิงห์ หมู่ 1 ตำบลบางกะไชย อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี เป็นป้อ...