วันพุธที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2566

กองสลากไท สลากไทพลัส วัดสุทัศน์

 

กองสลากไท ร่วมกับ สลากไทพลัส พาชม วัดสุทัศน์

กองสลากไท และ สลากไทพลัส ทราบมาว่า วัดสุทัศนเทพวราราม [สุ-ทัด-เทบ-พะ-วะ-รา-ราม] หรือที่นิยมเรียกสั้น ๆ ว่า วัดสุทัศน์ เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร ที่มีอยู่เพียงไม่กี่แห่งของประเทศไทย และถือเป็นวัดประจำรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร เป็นวัดที่ตั้งอยู่ในเขตพระนครชั้นใน และอยู่มีสิ่งก่อสร้างที่โดดเด่นคือ เสาชิงช้า อยู่บริเวณหน้าวัด วัดสุทัศน์ที่กล่าวถึงในที่นี้ อยู่ที่ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

ประวัติ วัดสุทัศน์ โดย กองสลากไท

ในต้นยุคกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1[1]โปรดเกล้าฯ ให้มีการสร้างวัดขึ้นในพื้นที่พระนครชั้นใน ในปี พ.ศ. 2350 เดิมพระราชทานนามว่า “วัดมหาสุทธาวาส” โดยมีพื้นที่ตั้งอยู่ในดงสะแก เป็นที่ลุ่มจึงโปรดเกล้าฯ ให้ถมที่และสร้างเป็นวัด และโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระวิหารขึ้นก่อนเพื่อประดิษฐานพระศรีศากยมุนี (พระโต) ซึ่งอัญเชิญมาจากพระวิหารหลวงวัดมหาธาตุ จังหวัดสุโขทัย แต่สิ้นรัชกาลก่อนที่จะประดิษฐานเป็นสังฆาราม จึงเรียกกันว่า วัดพระโต, วัดพระใหญ่ หรือวัดเสาชิงช้าบ้าง จนกระทั่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยโปรดเกล้าฯ ให้สร้างต่อ และทรงจำหลักบานประตูพระวิหารด้วยพระองค์เอง แต่ก็สิ้นรัชกาลเสียก่อนที่การก่อสร้างจะแล้วเสร็จ การก่อสร้างวัด มาเสร็จบริบูรณ์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ใน พ.ศ. 2390 และพระราชทานนามว่า “วัดสุทัศน์เทพวราราม” ปรากฏในจดหมายเหตุว่า “วัดสุทัศน์เทพธาราม” และในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงผูกนามพระประธานในพระวิหาร พระอุโบสถ และศาลาการเปรียญ ให้คล้องกันว่า “พระศรีศากยมุนี”, “พระพุทธตรีโลกเชษฐ์” และ “พระพุทธเสรฏฐมุนี”

วัดสุทัศน์

ภายในวัดสุทัศน์เทพวรารามเป็นที่ประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร และได้อัญเชิญ พระบรมราชสรีรางคารของพระองค์ มาบรรจุที่ผ้าทิพย์ด้านหน้าพุทธบัลลังก์พระศรีศากยมุนีเมื่อ พ.ศ. 2493 และมีพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทรในวันที่ 9 มิถุนายนของทุกปี

ภาพพระประธานทั้ง 3 องค์และประติมากรรมต่าง ๆ ในวัด
พระศรีศากยมุนี

พระพุทธตรีโลกเชษฐ์

พระพุทธเสรฏฐมุนี

พระพุทธเสรฏฐมุนี

ตุ๊กตาจีน หรือลั่นถัน

ประติมากรรมรูปม้า

พระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร

จิตรกรรมที่บานประตูรูปครุฑยุดนาค

พระวิหารหลวง

ภายนอกพระอุโบสถ

พระอุโบสถ

พระอุโบสถของวัดสุทัศน์ จัดว่าเป็นพระอุโบสถที่ยาวที่สุดในประเทศไทย พระประธานภายในพระอุโบสถ คือ พระพุทธตรีโลกเชษฐ์ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ทั้งพระอุโบสถและพระประธานนี้สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 ผนังด้านในของพระอุโบสถมีภาพจิตกรรมฝาผนังฝีมือช่างสมัยรัชกาลที่ 3 ซุ้มประตูและหน้าต่างเป็นซุ้มยอดเจดีย์ มีลักษณะแปลกตาและงดงามมาก รอบ ๆ พระอุโบสถ มีซุ้มเสมา 8 ซุ้ม ตั้งอยู่บนกำแพงแก้ว เป็นใบเสมาคู่ซึ่งทำจากหินอ่อนสีเทา สลักเป็นภาพช้าง 3 เศียร งวงชูดอกบัวตูมเศียรละ 1 ดอก เบื้องบนมีดอกบัวบาน 3 ดอก บนกำแพงแก้วด้านทิศเหนือและทิศใต้ มีเกยอยู่ด้านละ 4 เกย ซึ่งใช้เป็นที่สำหรับประทับโปรยทานแก่ประชาชนในงานพระราชพิธี เรียกว่า “เกยโปรยทาน”

เปรตวัดสุทัศน์

จิตรกรรม พระสงฆ์พิจารณาสังขารผีเปรต วัดสุทัศนเทพวราราม
ที่วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร มีเรื่องเล่าขานกันถึงเปรต สัตว์ที่เกิดในอบายภูมิตามความเชื่อของพุทธศาสนาและชาวไทย ว่ามีเปรตเคยปรากฏอยู่ที่นี่ โดยเรื่องนี้อาจมีที่มาจากภายในพระวิหารมีภาพวาดบนเสาด้านข้างขององค์พระศรีศากยมุนี เป็นภาพจิตรกรรมที่วาดขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มีรูปหนึ่งเป็นรูปเปรตตนหนึ่งนอนพาดกายอยู่และมีพระสงฆ์กำลังยืนพิจารณาสังขาร ซึ่งภาพนี้มีชื่อเสียงมากในสมัยอดีต เป็นที่ร่ำลือกันว่าหากใครได้มีโอกาสไปกราบไหว้พระศรีศากยมุนีในพระวิหารหลวง ต้องไปดูรูปจิตรกรรม “เปรตวัดสุทัศน์” ที่ขึ้นชื่อนี้ จนมีคำกล่าวคล้องจองกันว่า “แร้งวัดสระเกศ เปรตวัดสุทัศน์”

นอกจากนี้แล้วยังมีเรื่องเล่ากันจากปากต่อปากว่า ในอดีตที่บริเวณหน้าพระวิหารหลวงนี้ มีผู้พบเห็นเปรตในเวลาค่ำคืนบ่อย ๆ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทโว) ขณะที่ยังทรงดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสุทัศน์ ในเวลาประมาณ 3 ทุ่ม ยังเคยเปรยกับเปรต ความว่า “อยู่ด้วยกันนะ อย่าให้ชาวบ้านได้เดือดร้อน” จากนั้นเปรตก็ไม่มาปรากฏอีก

และมีความเป็นไปได้ว่า เปรตวัดสุทัศน์ อาจเป็นความเข้าใจผิดของผู้ที่มองเห็นเสาชิงช้าที่อยู่บริเวณหน้าวัดในเวลาเช้ามืดที่หมอกลง หรือทัศนวิสัยไม่ดี แล้วสำคัญผิดว่าเป็นเปรต หรืออาจจะมีที่มาจากพระราชนิพนธ์องค์หนึ่งของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงเคยนิพนธ์เรื่อง “เปรตสะพานหัน” ที่ทรงเปรียบขอทานที่สะพานหันว่าเหมือนเปรต และมีการนำไปเปรียบเทียบกับขอทานที่อาศัยอยู่หน้าเทวสถานโบสถ์พราหมณ์ที่อยู่ใกล้เคียง

ภายนอกวัด

ลำดับเจ้าอาวาส

ลำดับ เจ้าอาวาส[3] วาระ (พ.ศ.)
1 สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อู่) 2386 — 2401
2 พระพิมลธรรม (อ้น) 2401 — 2420
3 สมเด็จพระวันรัต (แดง สีลวฑฺฒโน) 2420 — 2443*
4 สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทโว) 2443* — 2487
5 สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โสม ฉนฺโน) 2489 — 2505
6 สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เสงี่ยม จนฺทสิริ) 2506 — 2527
7 สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (วีระ ภทฺทจารี) 2527 — 2559
8 พระพรหมวชิรมุนี (เชิด จิตฺตคุตฺโต) 2559 — ปัจจุบัน
*เดือนมกราคม พ.ศ. 2443 นับอย่างปัจจุบันเป็นต้นปี พ.ศ. 2444

สถาปัตยกรรม วัดสุทัศนเทพวราราม

สถาปัตยกรรมของ วัดสุทัศนเทพวราราม เป็นศิลปะแบบต้นกรุงรัตนโกสินทร์ บางส่วนมีกลิ่นอายจากศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยาด้วยเช่นกัน ประกอบไปด้วย พระวิหาร พระอุโบสถ พระวิหารคต ตำหนักสมเด็จพระสังฆราช ซึ่งเคยเป็นที่ประทับของ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาร (แพ ติสฺสเทโว) อดีตสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 12 แห่งกรุงรัตโกสินทร์ นอกจากนี้ภายในวัดยังมี ศาลาวิหารทิศ ศาลาลอย และหอระฆังด้วยเช่นกัน

วัดสุทัศน์ วัดสวย กรุงเทพ

เนื่องจาก พระวิหาร เป็นสิ่งก่อสร้างแรกภายในวัด จึงสะท้อนให้เห็นสถาปัตยกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจาก พระวิหารมงคลบพิตร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีขนาดกว้าง 23.84 เมตร ความยาว 26.35 เมตร หลังคาพระวิหารเป็นทรงไทยโบราณ 2 ชั้น ลด 1 มุงด้วยกระเบื้องเคลือบสี ประดับด้วยช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ ด้านหน้าและด้านหลังของพระวิหารมีประตูอยู่ด้านละ 3 บาน เป็นประตูไม้สลัก ว่ากันว่าเป็นผลงานชิ้นเอกจากฝีพระหัตถ์ของสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2

วัดสุทัศน์ วัดสวย กรุงเทพ

พระอุโบสถ ของ วัดสุทัศนเทพวราราม จัดว่าเป็นพระอุโบสถที่ยาวที่สุดในประเทศไทย สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 ด้วยความกว้าง 22.60 เมตร ความยาว 72.25 เมตร เป็นที่ประดิษฐานของ พระพุทธตรีโลกเชษฐ์ พระพุทธรูปปางมารวิชัยซึ่งเป็นพระประธานในพระอุโบสถ รอบๆ ปรากฏให้เห็นจิตรกรรมฝาผนังอันวิจิตรงดงาม จุดที่น่าสนใจของพระอุโบสถคือ เกยบนกำแพงแก้วทางทิศเหนือและใต้ ด้านละ 4 เกย ใช้เป็นที่ประทับเพื่อประกอบพระราชพิธี “เกยโปรยทาน” ให้แก่ประชาชนนั่นเองค่ะ

ตำนาน เปรตวัดสุทัศน์

แน่นอนว่าต้องมีคนคุ้นหูกับ ตำนานเปรตวัดสุทัศน์ ไม่มากก็น้อย แต่ก็ยังไม่มีใครสามารถพิสูจน์ได้ว่า วัดสุทัศนเทพวราราม เคยมีเปรตจริงหรือไม่ เพราะเป็นเพียงความเชื่อและข้อสันนิษฐานจากเรื่องที่เล่าต่อๆ กันมาตั้งแต่ในอดีตเท่านั้น ด้วยมีคนเชื่อว่าเคยเห็นเปรตในบริเวณวัดสุทัศน์ในยามค่ำคืน แต่แท้จริงแล้วเป็นเงาของเสาชิงช้าที่คนอาจเข้าใจผิดคิดว่าเป็นเปรตนั่นเองค่ะ นอกจากนี้ภายในพระวิหารก็ยังมีเสาต้นหนึ่ง ใกล้ๆ กับองค์ พระศรีศากยมุนี ปรากฏให้เห็นภาพจิตรกรรมที่มีชื่อเสียงมากในอดีต คือภาพของเปรตตนหนึ่งนอนพาดกายโดยมีพระสงฆ์ยืนพิจรณาสังขาร ซึ่งเป็นไปได้ว่า ภาพนี้อาจเป็นที่มาของ “เปรตวัดสุทัศน์” ก็เป็นได้

สลากไทพลัส สลากออนไลน์ ใบละ 80บาท ถูกรางวัลรับเต็ม ไม่หักค่าทำเนียม

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม LINE : @STPLUS

หรือ คลิกที่รูปภาพด้านล่าง


อ่านบทความเพิ่มเติมของ สลากไทพลัส

โป่งยุบหุตายน สลากไทพลัส กองสลากไท




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ป้อมไพรีพินาศ

ที่เที่ยวโบราณ ป้อมไพรีพินาศ จังหวัดจันทบุรี ป้อมไพรีพินาศ ตั้งอยู่บนเขาแหลมสิงห์ หมู่ 1 ตำบลบางกะไชย อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี เป็นป้อ...