วัดเก่าแก่ขึ้นชื่อ วัดชนะ สงครามราชวรวิหาร โดย กองสลากไท
วันนี้ทาง สลากไทพลัส และ กองสลากไท จะพามาทำความรู้จัก วัดดัง วัดเก่าแก่ ที่เด่นเรืองการขอพร และ ประสลความสำเร็จมากอย่างยาวนาน กับ วัดชนะสงครามราชวรวิหาร สลากไทพลัส กองสลากไท จะมีเกร็ดความรู้อะไรมาบอกมาตามดูกันได้ที่ด้านล่าง ได้เลยค่ะ
ประวัติ วัดชนะสงครามราชวรวิหาร โดย สลากไทพลัส
เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรมหาวิหาร ตั้งอยู่เลขที่ 77 แขวงชนะสงคราม เขตพระนคร กรุงเทพฯ ตามประวัติกล่าวว่า เดิมเป็นวัดโบราณเล็กๆ เรียกว่า “วัดกลางนา” เพราะบริเวณรอบวัดเป็นทุ่งนา และ เป็นที่ตั้งนิวาสถานของสมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท พระอนุชาในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 เมื่อครั้งยังทรงรับราชการในสมัยกรุงธนบุรี
ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงปราบดาภิเษกขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทได้ทรงรวบรวมชาวรามัญ และ พระสงฆ์รามัญที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร ให้ตั้งหลักฐานอยู่รอบวัดกลางนา ทรงปฏิสังขรณ์วัด เพื่อให้พระสงฆ์รามัญจำพรรษา แล้วทรงตั้งนามใหม่ว่า
“วัดตองปุ” โดยเลียนแบบชื่อวัดและขนบธรรมเนียมของวัดในกรุงศรีอยุธยา ที่พระสงฆ์รามัญพำนักอยู่
สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาททรงให้การอุปถัมภ์บำรุงวัดตองปุเรื่อยมา และเมื่อบ้านเมืองสงบสุขร้างศึกกับพม่าแล้ว จึงได้ทรงสถาปนาวัดตองปุใหม่ทั้งพระอาราม ทรงก่อสร้างพระอุโบสถ พระเจดีย์ กุฏิสงฆ์ และถาวรวัตถุอื่นๆ เมื่อแล้วเสร็จจึงน้อมเกล้าฯถวายเป็นพระอารามหลวง
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้พระราชทานนามใหม่ว่า “วัดชนะสงคราม” เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทที่ได้ทรงชนะศึกสงครามกับพม่าถึง 3 ครั้ง
และพระราชทานให้เป็นวัดสำหรับชาวรามัญ เพื่อเป็นการตอบแทนคุณและเชิดชูเกียรติทหารรามัญในกองทัพสมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทที่เป็นกำลังสำคัญในการรบกับพม่า
ในสมัยรัชกาลที่ 2 สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ ซึ่งได้รับการสถาปนาเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล หรือวังหน้า ได้โปรดให้รื้อพระที่นั่งพิมานดุสิตา ซึ่งเป็นหอพระวังหน้า นำไม้ไปสร้างเสนาสนะที่วัดชนะสงคราม
ต่อมาสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดชนะสงคราม โดยในปลายรัชกาลได้ทรงสร้างซุ้มประตู 2 ซุ้ม แต่ยังไม่แล้วเสร็จก็เสด็จสวรรคต
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างต่อจนแล้วเสร็จ จากนั้นจึงเสด็จฯ ไปยกช่อฟ้า แล้วโปรดให้สร้างพระวิหารด้านข้างพระอุโบสถ สร้างกุฏิใหม่เป็นตึก
ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โปรดให้มีการบูรณะซ่อมแซมกุฏิ เสนาสนะ หลังคาพระอุโบสถที่ถูกฟ้าผ่าเสียหาย และสิ่งก่อสร้างอื่นๆ ที่ชำรุดทรุดโทรม รวมทั้งสร้างถนนภายในวัด
สมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 โปรดให้มีการสร้างกุฏิเพิ่มขึ้น และได้ทำการปิดทองพระประธานและพระสาวกในพระอุโบสถ
นอกจากนี้ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พันปีหลวง ได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์สร้างที่บรรจุพระอัฐิเจ้านายฝ่ายพระราชวังบวรสถานมงคล ที่เฉลียงด้านหลังพระประธานในพระอุโบสถ แต่การยังไม่แล้วเสร็จก็สิ้นรัชกาลเสียก่อน
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ได้ทรงดำเนินการต่อมาจนแล้วเสร็จ และโปรดให้อัญเชิญพระอัฐิจากพระราชวังบวรสถานมงคลไปประดิษฐานที่วัดชนะสงคราม โดยได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงบำเพ็ญพระราชกุศลในการนี้ด้วย
สำหรับในรัชกาลปัจจุบัน วัดชนะสงครามได้มีการปฏิสังขรณ์เรื่อยมาจนปัจจุบัน พระเทพวิมลมุนี(กฤช กิตฺติวํโส) เป็นเจ้าอาวาส ได้ร่วมกับสำนักงานทรัพย์สิน
ส่วนพระมหากษัตริย์ จัดทำโครงการบูรณปฏิสังขรณ์วัด ระหว่างปี 2557-2561 บูรณปฏิสังขรณ์พระอุโบสถศาลาราย 8 หลัง รวมทั้งซุ้มประตูและพื้นลานเขตพุทธาวาส เพื่อยังความสง่างามของพระอารามหลวงให้ดำรงคงอยู่สืบไป
ปูชนียวัตถุที่สำคัญใน วัดชนะสงครามราชวรวิหาร
- พระอุโบสถ มีขนาดใหญ่ กว้าง 13 วา 2 ศอก ยาว 20 วา 2 ศอก สูง 15 วาเศษ หน้าบันแกะสลักเป็นภาพพระนารายณ์ทรงครุฑประดับฉัตร 5 ชั้น ซุ้มประตูหน้าต่างเป็นซุ้มเรือนแก้วปูนปั้นเป็นลายกนกประดับด้วยกระจกสีต่างๆ จิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถเป็นเรื่องเวสสันดรชาดก และภาพพุทธประวัติ
- พระประธานในพระอุโบสถ มีนามว่า “พระพุทธนรสีห์ตรีโลกเชฏฐ์ มเหทธิศักดิ์ ปูชนียะชยันตะโคดม บรมศาสดา อนาวรญาณ” หรือชาวบ้านเรียกขานว่า “หลวงพ่อปู่” เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นลงรักปิดทอง ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 2.50 เมตร สูง 3.50 เมตร เบื้องหลังพระประธานมีประภามณฑลโพธิพฤกษ์และภาพจินตนาการ เหนือพระประธาน มีฉัตร 7 ชั้นกางกั้น อันหมายถึงพระสัปตปฎลเศวตฉัตรของกรมพระราชวังบวรสถานมงคล
โดยรอบพระประธานมีพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย 15 องค์ แต่ละองค์หน้าตักกว้าง 0.95 เมตร สูง 1.20 เมตร และหลังพระประธานมีรูปปั้นพระมหากัจจายนะ 1 องค์
สำหรับคติพระประธาน 16 องค์นี้สันนิษฐานว่า สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ทรงนำแบบอย่างมาจากวัดชุมพลนิกายาราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยตามคติโบราณนับถือกันมาก
ถือว่าทรงพระคุณในการประสิทธิ์ประสาทชัยชนะเหนือศัตรู ถึงกับบัญญัติอักษรย่อขึ้นแทนพระนามเรียกว่าหัวใจคือ “นะมะนะอะ นอกอนะกะ กอออนออะ นะอะกะอัง” ผูกเป็นยันต์เรียกว่ายันต์พระเจ้า16 พระองค์ส่วนด้านหลังพระประธานเป็นเฉลียงกั้นห้อง ทำเป็นคูหาบรรจุพระอัฐิเจ้านายฝ่ายวังหน้า 5 รัชกาล
- พระเจดีย์ ตั้งอยู่ 4 มุม ของกำแพงแก้วอุโบสถ ด้านหน้า 2 องค์เป็นเจดีย์เหลี่ยมย่อมุมไม้ 20 ทรงจอมแห ศิลปะสมัยอยุธยา กว้าง 9 เมตร สูง 15 เมตร ด้านหลังเป็นพระเจดีย์ทรงกลม 2 องค์ กว้าง 4 เมตร สูง 8 เมตร
- พระบวรราชานุสาวรีย์สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ผู้ทรงสถาปนาวัดชนะสงคราม ประดิษฐานอยู่ในศาลด้านหน้าพระอุโบสถ
- เจดีย์พระบรมธาตุ ศิลปะรัตนโกสินทร์ มี 3 ชั้น ชั้นล่างเป็นหอระฆังและหอกลอง ชั้นที่สองเป็นหอพระพุทธรูป และชั้นบนสุดเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ
- ธรรมาสน์วอ เป็นธรรมาสน์ทรงวอไม้ จำหลักลวดลายปิดทอง และประดับกระจกสี ศิลปะรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีความงดงามอย่างยิ่ง ปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ในศาลาการเปรียญ (ศาลาชี)
ไฮไลต์ พระอุโบสถ วัดชนะสงครามราชวรวิหาร
ไฮไลต์หนึ่งของพระอุโบสถหลังนี้อยู่หลังพระประธานครับ บริเวณนี้มีการทำเฉลียงกั้นห้องทำเป็นคูหาบรรจุอัฐิเจ้านายฝ่ายวังหน้าค่ะโดยแบ่งเป็นออกเป็น 5 กรอบ แต่ละกรอบจะมีช่องทรง 6 เหลี่ยมบรรจุพระอัฐิโดยมีชื่อของเจ้านายฝ่ายวังหน้าแต่ละพระองค์อยู่
ซึ่งชื่อที่ผมเชื่อว่าน่าจะเคยได้ยินมาบ้าง เช่น พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระองค์เป็นเพียงพระองค์เดียวที่ช่องบรรจุพระบรมอัฐิของท่านแยกออกมาต่างหากไม่ได้อยู่ในกรอบ แต่อยู่ระหว่างกรอบที่ 3 และ 4 และมีกรอบเป็นของพระองค์เอง
หรือ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 8 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่องของท่านจะอยู่ในกรอบที่ 2 ในช่องของท่านเขียนว่า ‘พระองค์เจ้าชายฤกษ์ (สมเด็จกรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์)’
หรือ พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ปราชญ์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระบิดาแห่งสหกรณ์ไทย ช่องของท่านจะอยู่ในกรอบที่ 5 ในช่องท่านเขียนว่า ‘พระองค์เจ้าชายรัชนีแจ่มจรัส กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์’
เห็นไหมคะ แม้ว่าวัดชนะสงครามจะไม่ได้มีอาคารอะไรมากมาย มีพระอุโบสถเป็นอาคารประธาน มีศาลารายอยู่รอบและมีเจดีย์ย่อมุมไม้ยี่สิบอยู่ข้างหน้า และมีรอยพระพุทธบาทที่สร้างขึ้นใหม่เมื่อ พ.ศ. 2545
แต่กลับมีของมีค่าน่าสนใจให้ดูขนาดนี้ ดังนั้น ถ้าใครไปเที่ยวที่ไหนแล้วเจอวัดที่มีแต่โบสถ์หลังเดียวหรือเจดีย์องค์เดียวก็อย่าได้ประมาท ภายในความน้อยนั้นอาจจะซ่อนความมากเอาไว้ก็เป็นได้ค่ะ
เกร็ดแถมท้าย วัดชนะสงครามราชวรวิหาร สลากไทพลัส กองสลากไท
1.วัดชนะสงครามฯ ตั้งอยู่บนถนนจักรพงษ์ใกล้กับบางลำพู ถนนข้าวสารเลยค่ะ ถือว่าเดินทางมาง่ายมากๆ จะมาด้วยรถส่วนตัวหรือจะนั่งรถเมล์มาก็ตัวเลือกเยอะแยะ โดยป้ายรถเมล์อยู่ฝั่งตรงข้ามวัดครับ ใครสะดวกวิธีไหนก็เลือกเอาตามสะดวกเลยค่ะ
2.แถมใกล้กับวัดชนะสงครามฯ ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆ ที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นย่านบางลำพู ย่านเก่าแก่ของกรุงเทพฯ หรือถนนข้าวสาร ศูนย์รวมแบ็กแพ็กเกอร์ที่จะคึกคักมากๆ
ในช่วงสงกรานต์ และเต็มไปด้วยอาหารอันหลากหลาย หรือถ้าชอบเที่ยววัด ก็มีทั้งวัดบวรนิเวศวิหารหรือมัสยิดจักรพงษ์ ก็น่าสนใจไม่แพ้กันค่ะ
3.แต่ถ้าใครสนใจงานศิลปกรรมสกุลช่างวังหน้า ลองไปชมที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ได้เลยค่ะ เพราะ พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ตั้งอยู่ในพื้นที่ของพระราชวังบวรสถานมงคล หรือ วังหน้าเลยค่ะ หรือ ถ้าจะอยากจะชมวัด ลองไปชมที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์หรือวัดบวรสถานสุทธาวาสหรือวัดพระแก้ววังหน้า ซึ่งปัจจุบันอยู่ในพื้นที่ของสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ก็ได้ค่ะ
สลากไทพลัส สลากออนไลน์ ใบละ 80บาท ถูกรางวัลรับเต็ม ไม่หักค่าทำเนียม
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม LINE : @STPLUS
หรือ คลิกที่รูปภาพด้านล่าง
อ่านบทความเพิ่มเติมของ สลากไทพลัส
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น