วันพุธที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2566

วัดเล่งเน่ยยี่ สลากไทพลัส กองสลากไท

 

วัดดังแก้ชง ได้ที่ วัดเล่งเน่ยยี่ สลากไทพลัส กองสลากไท

ที่เที่ยวแบบฉบับสายบุญ ที่เราอยากแนะนำเลยก็คือ การไปไหว้พระ เพิ่มสิริมงคล รับปีใหม่กันค่ะ อีกทั้งตามความเชื่อแล้ว พอเริ่มต้นปีใหม่ ก็มักจะมี ปีชง ที่ผลัดเปลี่ยนไปด้วยเช่นกัน ใครที่กำลังอยากไปไหว้พระ ขอพร ตามเรามาได้เลยที่ วัดเล่งเน่ยยี่ สลากไทพลัส กองสลากไท บอกเลยว่าวัดนี้ทั้งสวยงาม และ โด่งดังในเรื่องของการขอพรแก้ชงนั่นเองค่ะ 

วัดเล่งเน่ยยี่

วัดมังกรกมลาวาส หรือที่เราชอบเรียกว่า ‘วัดเล่งเน่ยยี่’ (หรือจะออกเสียงว่า ‘วัดเหล่งเหน่ยหยี่’ ก็ได้ แล้วแต่สำเนียง) ถ้าเรียกเป็นภาษาจีนกลางก็จะออกเสียงว่า ‘หลงเหลียนซื่อ’ สร้างขึ้นในรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลือกชัยภูมิสร้างวัดบนเนื้อที่ 4 ไร่ 18 ตารางวา โดยให้พระยาโชฎึกราชเศรษฐี เจ้ากรมท่าซ้าย ร่วมกับพุทธศาสนิกชนชาวจีนดำเนินการก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2414 ใช้ระยะเวลาในการสร้างทั้งสิ้น 8 ปี เมื่อสร้างเสร็จจึงได้อาราธนา พระอาจารย์สกเห็ง มาเป็นเจ้าอาวาส และเลื่อนสมณศักดิ์เป็น พระอาจารย์จีนวังสสมาธิวัตร เจ้าคณะใหญ่จีนนิกายรูปแรกของประเทศไทย

วัดเล่งเน่ยยี่ สลากไทพลัส กองสลากไท

วัดมังกรกมลาวาสใช้ผังแบบวัดจีน มีรูปแบบศิลปกรรมแบบจีนตอนใต้ ประกอบด้วยอาคารหลักคืออุโบสถตั้งอยู่ตรงกลาง ด้านหน้ามีวิหารจตุโลกบาล ด้านหลังเป็นวิหารบูรพาจารย์ ส่วนด้านซ้ายขวาก็มีวิหารอื่นๆ อีกหลายหลัง

เมื่อเดินเข้ามาจากถนนเจริญกรุง เราจะเจอกับทางเข้าหลักที่มุ่งไปยังพื้นที่ด้านใน แต่ก่อนเดินเข้าไป แหงนดูข้างบนสักนิดหนึ่ง มีป้ายจารึกชื่อวัด 2 ป้าย ป้ายแนวนอนเป็นภาษาไทย เขียนว่า ‘ทรงพระราชทานนาม วัดมังกรกมลาวาส’ พร้อมดอกบัวขนาบซ้ายขวา 

โดยผู้พระราชทานนามวัดแห่งนี้ก็คือ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ส่วนป้ายแนวตั้งเป็นภาษาจีน ซึ่งเป็นป้ายที่มีความสำคัญเพราะเป็นลายมือของพระอาจารย์สกเห็งผู้สร้างวัดแห่งนี้ ขนาบข้างมีป้ายแขวนคำกลอนคู่ภาษาจีน ฝั่งขวามีความหมายว่า มังกรบินร่อนลงแผ่นดิน ฝั่งซ้ายมีความหมายว่า ประทุมประทีปส่องสว่างกลางเวหา

ป้ายกลอนคู่นี้สร้างขึ้นในปีรัชศกกวางสู ปีที่ 5 ปีเถาะ หรือตรงกับ พ.ศ. 2422 บริเวณทางเข้ามีสิงโตอยู่ 2 ตัว ข้างหนึ่งเป็นตัวผู้ อีกข้างหนึ่งเป็นตัวเมีย วิธีสังเกตเพศของสิงโตนั้นไม่ยาก ถ้าตัวไหนมีลูกสิงโต นั่นคือสิงโตตัวเมีย ส่วนสิงโตตัวผู้จะมีลูกบอลอยู่ใต้อุ้งเท้า

พอผ่านประตูเข้ามาก็เจอกับวิหารท้าวจตุโลกบาล หรือ ‘ซี่ไต่เทียนอ๊วง’ ประกอบด้วยเจ้าแห่งคนธรรพ์ ท้าวธตรฐถือพิณ เจ้าแห่งกุมภัณฑ์ ท้าววิรุฬหกถือร่ม เจ้าแห่งนาค ท้าววิรูปักษ์ถือดาบและงู และ เจ้าแห่งยักษ์ ท้าวเวสสุวรรณถือเจดีย์ ซึ่งเป็นลักษณะที่พบได้ทั่วไปตามวัดจีนต่าง ๆ 

ส่วนตรงกลางด้านหน้าเป็นรูปพระเมตไตรยโพธิสัตว์ หรือ พระศรีอริยเมตไตรยเวอร์ชันพระอ้วนตามที่นิยมในวัดจีน (พระอ้วนในวัดจีนไม่ใช่พระสังกัจจายน์ อย่าสับสน) ส่วนด้านหลังเป็นรูปพระเวทโพธิสัตว์ หรือ สกันทะโพธิสัตว์ หันหน้าเข้าหาอุโบสถ

อุโบสถของวัดมังกรกมลาวาสประดิษฐานพระพุทธรูปประธาน 3 องค์ ประกอบด้วย ‘พระศรีศากยมุนี’ อยู่ตรงกลาง ฝั่งขวาเป็น ‘พระอมิตาภพุทธเจ้า’ พระธยานิพุทธเจ้าผู้สถิตอยู่ในดินแดนสุขาวดี (และเป็นที่มาของการพูด “อามิตาพุทธ” ที่พระถังซำจั๋งชอบพูดนั่นเองครับ) ส่วนฝั่งซ้ายเป็น ‘พระไภษัชยคุรุพุทธเจ้า’ พระพุทธเจ้าแห่งการแพทย์ โดยมี 18 อรหันต์ตั้งขนาบทั้งสองข้าง 

และ เนื่องจากเป็นอุโบสถจึงมีใบเสมาด้วยนะ ใบเสมาของวัดแห่งนี้ฝังอยู่ในกำแพงด้านนอกอุโบสถ บนใบเสมามีข้อความทั้งภาษาไทยและภาษาจีน ภาษาไทยมีข้อความเขียนว่า “ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ ๑๗ มี.ค. ๒๔๙๔” ส่วนภาษาจีน 4 ตัวมีความหมายว่า พระราชทานหินเสมา ซึ่งน่าจะมีความหมายเดียวกันกับข้อความภาษาไทยนั่นเอง

พอชมอุโบสถเสร็จ เราเดินไปทางขวาค วิหารหลังแรกคือวิหารที่ประทับของสารพัดเทพเจ้า ซึ่งตรงนี้เป็นจุดที่คนมาแก้ชงกัน เพราะเป็นสถานที่ประดิษฐาน ‘ไท่ส่วยเอี๊ย’ เทพผู้คุ้มครองชะตาชีวิต อย่างไรก็ดี ยังมีเทพเจ้าอื่นๆ เช่น ปึงเถ่ากงม่า ไฉ่สิ่งเอี๊ย (เทพเจ้าโชคลาภ) ฮั่วท้อหรือฮัวโต๋ (หมอเทวดา) ซึ่งถ้าใครมาในช่วงที่คนมาไหว้กันเยอะ ๆ บริเวณตรงนี้จะมีคนแน่นสักหน่อย แล้วก็มีของไหว้วางอยู่เต็มโต๊ะ

ส่วนถัดมาจริง ๆ ยังมีวิหารอีกหลายหลัง ไม่ว่าจะเป็นวิหารพระกษิติครรภ์โพธิสัตว์ วิหารเจ้าแม่กวนอิม จุดสำคัญที่อยากให้ไปชม คือวิหารที่อยู่ด้านหลังอุโบสถพอดี เป็นวิหารบูรพาจารย์ สถานที่ประดิษฐานรูปของ พระอาจารย์สกเห็ง หรือ พระอาจารย์จีนวังสสมาธิวัตรปฐมบูรพาจารย์ผู้ก่อตั้งวัดแห่งนี้ และอีกจุดหนึ่งที่อยากให้ชมคือตู้ไม้คู่หนึ่ง ที่อยู่ด้านหน้าวิหารบูรพาจารย์ ภายในตู้เป็นที่เก็บพระพุทธรูปโบราณสมัยรัตนโกสินทร์นับสิบองค์ มีทั้งพระพุทธรูปครองจีวรปกติ พระพุทธรูปครองจีวรลายดอก และ พระพุทธรูปทรงเครื่องเรียกว่า ถ้าคุณดูศิลปะจีนจนเบื่อแล้ว อยากเปลี่ยนบรรยากาศบ้าง ก็ลองมาดูพระพุทธรูปที่นี่ได้ค่ะ

วัดนี้อาจจะดูแคบ แต่จริงๆ แล้วตัววัดกว้างพอดูเหมือนกัน แต่ถ้าช่วงที่คนมากันเยอะๆ โดยเฉพาะช่วงที่เขามาแก้ปีชงกันก็อาจจะแน่นสักหน่อย ดังนั้น ถ้าคุณไม่ได้อยากมาแก้ชง แต่อยากมาชมความงามของวัดนี้จริงๆ ก็แนะนำให้มาช่วงอื่นของปี วัดมังกรกมลาวาสพร้อมต้อนรับทุกๆ ท่านเสมอ

พิธีแก้ชง วัดเล่งเน่ยยี่ โดย สลากไทพลัส กองสลากไท

วัดเล่งเน่ยยี่ สลากไทพลัส กองสลากไท

พิธีแก้ชงของวัดเล่งเน่ยยี่ที่เรียกว่า ‘การฝากดวง’ นั้นเรียบง่ายกว่าที่เราคิดไว้มาก เมื่อไปถึงสถานที่ทำบุญแล้ว เพียงแค่ซื้อชุดสะเดาะเคราะห์ราคา 100 บาท มาเขียนชื่อ อายุ วันเดือนปีและเวลาเกิดลงไปให้ถูกต้อง (เคล็ดลับสำหรับคนที่ไม่รู้เวลาเกิดตัวเองแบบเป๊ะๆคือให้เขียนลงไปว่าเวลาดี) เดินตามลูกศรไปร่วมสวดมนต์ตามบทสวดที่ระบุที่อยู่ในชุดสะเดาะเคราะห์ต่อหน้ารูปปั้นเทพเจ้าไท้ส่วยเอี๊ย ใช้ชุดสะเดาะเคราะห์ปัดเป่าสิ่งไม่ดีออกจากตัว 13 ครั้งขณะอธิษฐาน และสุดท้าย ฝากชุดสะเดาะเคราะห์ของเราเอาไว้บริเวณหน้ารูปปั้นเทพเจ้าไท้ส่วยเอี๊ย ก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อยภายในเวลาไม่เกินสิบห้านาที

แม้จะรู้สึกสับสนนิดหน่อย เพราะเมื่ออ่านตามตารางปีเกิดที่ทางเล่งเน่ยยี่ติดเอาไว้ อายุที่ต้องเขียนลงไปในชุดสะเดาะเคราะห์ของตัวเองดันเพิ่มขึ้นมาจากอายุจริงตั้งสองปี แต่หลังจากกลับมาลองหาข้อมูลเรื่องนี้ดู พบว่าเป็นวิธีนับอายุตามปฏิทินจันทรคติตั้งแต่ยังอยู่ในท้องแม่นั่นเอง

คู่มือชาวปีชง ชงแล้วไปไหนต่อ โดย สลากไทพลัส

วัดเล่งเน่ยยี่ หรือวัดมังกรกมลาวาส ตั้งอยู่บนถนนเจริญกรุง ย่านเยาวราช เป็นวัดในสังกัดคณะสงฆ์จีนที่เรียกได้ว่ามีชื่อเสียงที่สุดในกรุงเทพฯ และเป็นศูนย์กลางในการจัดงานเทศกาลต่างๆ ของชาวไทยเชื้อสายจีน 

นอกจากจะเป็นวัดเก่าแก่ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์แล้ว สถาปัตยกรรมภายในวัดยังได้รับการออกแบบโดยช่างเชื้อสายแต้จิ๋วให้มีความสวยงามสไตล์จีนใต้ จึงเป็นหนึ่งในแลนด์มาร์กที่สำคัญที่ควรค่าอย่างยิ่งแก่การไปเที่ยวชม และถือโอกาสทำบุญแก้ชง

เกร็ดแถมท้าย วัดเล่งเน่ยยี่
  1. การเดินทางไปยังวัดมังกรกมลาวาสถือว่าง่ายมากๆ จะนั่งรถเมล์ก็ได้หลายสาย เช่น 1 21 35 หรือนั่งรถไฟฟ้าใต้ดินไปขึ้นที่สถานีวัดมังกรแล้วเดินมาแค่นิดเดียวเท่านั้น แต่ถ้าขับรถส่วนตัวมา อาจจะหาที่จอดรถยากสักหน่อยนะคะ
  2. จริงๆ แล้ว คำว่า ‘ยี่’ ในภาษาจีนแต้จิ๋ว หรือ ‘ซื่อ’ ในภาษาจีนกลางมีความหมายว่า ‘วัด’ เวลาเรียกวัดเล่งเน่ยยี่หรือวัดหลงเหลียนซื่อ ก็เหมือนเราออกคำว่าวัดซ้ำซ้อน จึงคิดว่าน่าจะเรียกเล่งเน่ยยี่หรือหลงเหลียนซื่อมากกว่า 
  3. จริงๆ ในกรุงเทพฯ เรามีวัดจีนเยอะอยู่ ไม่ว่าจะเป็นวัดบำเพ็ญจีนพรต (ย่งฮกยี่) วัดทิพยวารีวิหาร (กัมโล่วยี่) วัดโพธิ์แมนคุณาราม (โพวมึ้งป่ออึงยี่) หรือในต่างจังหวัดก็มี เช่น วัดจีนประชาสโมสร (เล่งฮกยี่) หรือวัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ คณะสงฆ์จีนนิกายรังสรรค์หรือเล่งเน่ยยี่ 2  
  4. อย่าสับสนระหว่างวัดจีนกับศาลเจ้า แม้ดูภายนอกจะคล้ายกัน แต่ประธานของอารามต่างกันอย่างสิ้นเชิง ถ้าเป็นวัดจีน จะมีพระพุทธรูปเป็นประธาน ถ้าเป็นศาลเจ้าก็จะเป็นเจ้าต่างๆ เช่น ปึงเถ่ากง โจวซือกง กวนอู เป็นต้น

สลากไทพลัส สลากออนไลน์ ใบละ 80บาท ถูกรางวัลรับเต็ม ไม่หักค่าทำเนียม

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม LINE : @STPLUS

หรือ คลิกที่รูปภาพด้านล่าง


อ่านบทความเพิ่มเติมของ สลากไทพลัส

ตลาดน้ำอัมพวา สลากไทพลัส กองสลากไท

พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย สลากไทพลัส กองสลากไท

สลากไทพลัส กองสลากไท วัดถ้ำพุหว้า



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ป้อมไพรีพินาศ

ที่เที่ยวโบราณ ป้อมไพรีพินาศ จังหวัดจันทบุรี ป้อมไพรีพินาศ ตั้งอยู่บนเขาแหลมสิงห์ หมู่ 1 ตำบลบางกะไชย อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี เป็นป้อ...