บทความนี้ สลากไทพลัส จะพาทุกท่านไปรู้จัก วัดโพธิ์ (ท่าเตียน) หรือ อีกชื่อ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม คือพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร และเป็นวัดประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทั้งยังเปรียบเสมือนมหาวิทยาลัยแห่งแรกในประเทศไทยด้วย เนื่องจากเป็นแหล่งรวมจารึกสรรพวิชาหลายแขนง และยูเนสโก้ ได้ขึ้นทะเบียนให้วัดโพธิ์ เป็นมรดกความทรงจำโลก ซึ่งเป็นแหล่งความทรงจำของ ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เมื่อ มีนาคม พ.ศ. 2551 และ วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2554 ทางยูเนสโก ได้ขึ้นทะเบียนจารึกวัดโพธิ์ จำนวน 1,440 ชิ้น เป็นมรดกแห่งความทรงจำของโลก ในทะเบียนนานาชาติ
วัดโพธิ์ หรือ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ตอนกลางวัน สลากไทพลัส
สลากไทพลัส : ประวัติและความเป็นมาของ วัดโพธิ์
วัดโพธิ์ หรือ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม สร้างตอนสมัยอยุธยา แต่ไม่ปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับการสร้าง แต่สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นหลัง พ.ศ. 2231 ในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช บ้างก็ว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเพทราชา เดิมเรียกว่า วัดโพธาราม หรือ วัดโพธิ์ สันนิษฐานว่าเพราะเป็นที่ประดิษฐานต้นพระศรีมหาโพธิ์ แต่ต่อมาคติความเชื่อเรื่องการบูชาพระศรีมหาโพธิ์เสื่อมคลายลงไป ไม่ได้รับความนิยมเหมือนครั้งอดีต จึงเหลือแต่ชื่อเรียกสืบต่อมา ยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวงในสมัยกรุงธนบุรี ซึ่งปรากฏอยู่ใน พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ว่า พระพิมลธรรม เป็นเจ้าอาวาสของวัดโพธาราม และจึงเริ่มมีพระราชคณะปกครองตั้งแต่นั้นมา
ครั้งถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาวัดนี้ใหม่ในปี พ.ศ. 2331 โดยทรงสร้างพระอุโบสถ พระระเบียง พระวิหาร ตลอดจนบูรณะของเดิม เมื่อแล้วเสร็จใน พ.ศ. 2344 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาวาส แปลว่า ที่อยู่อันงามของพระพุทธเจ้า เป็นวัดประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
สลากไทพลัส รูปปั้นท้าวเวสสุวรรณ
นับจากนั้นวัดพระเชตุพนได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และได้โปรดเกล้าฯ ให้จารึกสรรพตำราต่าง ๆ ลงบนแผ่นหินอ่อนประดิษฐ์ไว้ตามศาลารายต่าง ๆ ครั้งถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แก้สร้อยนามพระอารามว่า วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร นามวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามนี้ ปรากฏในประกาศรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. 2411 ว่า วัดนี้แม้จะมีนามพระราชทานมาตั้งแต่รัชกาลที่ 1 แต่ชื่อพระราชทานมีผู้เรียกแต่อยู่ในพระราชวัง คนยังเรียกว่าวัดโพธิ์กันทั้งแผ่นดิน และมีพระราชดำริว่า ชื่อพระราชทานเป็นชื่อตั้งไม่ปิดไม่แน่นจะคิดแปลงใหม่เห็นจะไม่ชนะ
ภายในพระอารามยังได้เคยใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีราชาภิเษกของพระบาทสมเด็จพระนโรดม บรมรามเทวาวตาร โดยนิตินัย ก่อนที่จะมีพิธีราชาภิเษกอีกครั้งที่กรุงพนมเปญ โดยพฤตินัย ส่วนการบูรณปฏิสังขรณ์ในรัชกาลพระองค์นั้น มีการสถาปนาพระมหาเจดีย์อีก 1 องค์ โดยมีความจำเป็นที่ต้องรื้อศาลารายพระมณฑปและพระระเบียง
ต่อมาได้มีบันทึกของนักเดินทางชาวนอร์เวย์ คือ คาร์ล บ็อก (Carl Bock) นักธรรมชาติวิทยา ที่เดินทางเข้ามาสำรวจสภาพภูมิศาสตร์ในสยามเมื่อ พ.ศ. 2424 เขามองว่าวัดโพธิ์เป็นหนึ่งในสามของวัดที่มีความสำคัญของกรุงเทพ เขาได้ตั้งข้อสังเกตว่า พระระเบียงที่วัดโพธิ์ในช่วงนั้นซึ่งทาสีขาวมีความสกปรกมาก ทำให้เมื่อ พ.ศ. 2444 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงให้กระทรวงโยธาธิการบูรณะ แต่พบว่าต้องใช้เงินถึง 67,000 บาท ในเวลานั้นเงินท้องพระคลังไม่พอ จึงได้ตัดรายการซ่อม และรื้ออาคารที่ไม่สำคัญ อย่างศาลารายถึง 13 หลัง และพระเจดีย์ราย 42 องค์ และไม่ได้มีการสร้างสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ เพิ่ม
สลากไทพลัส : ยักษ์วัดโพธิ์
ยักษ์ รูปปั้นยักษ์
ยักษ์วัดโพธิ์นั้นตั้งอยู่ที่ซุ้มประตูทางเข้าพระมณฑป โดยมีสีกายเป็นสีแดงและสีเขียว ลักษณะคล้ายยักษ์ในวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ ซึ่งมักมีผู้เข้าใจผิดว่าตุ๊กตาสลักหินรูปจีน หรือ ลั่นถัน นายทวารบาลที่ตั้งอยู่บริเวณหน้าประตูวัดนั้นคือ ยักษ์วัดโพธิ์นอกจากนี้ ยังมีตำนานเกี่ยวกับยักษ์วัดโพธิ์และยักษ์วัดแจ้งซึ่งทำให้เกิดท่าเตียนในปัจจุบัน นั่นคือ ยักษ์วัดโพธิ์ซึ่งทำหน้าที่ดูแลวัดโพธิ์และยักษ์วัดแจ้งซึ่งทำหน้าที่ดูแลวัดแจ้งนั้น ทั้ง 2 ตนเป็นเพื่อนรักกัน วันหนึ่งยักษ์วัดแจ้งไปขอยืมเงินจากยักษ์วัดโพธิ์ เมื่อถึงกำหนดส่งเงินคืน ยักษ์วัดแจ้งกลับไม่ยอมจ่าย ดังนั้น ยักษ์ทั้ง 2 ตนจึงเกิดทะเลาะกัน แต่เพราะรูปร่างที่ใหญ่โตและพละกำลังที่มหาศาลของยักษ์ทั้ง 2 ตน เมื่อเกิดต่อสู้กันจึงทำให้บริเวณนั้นราบเรียบโล่งเตียนไปหมด เมื่อพระอิศวรทราบเรื่องนี้ จึงได้ลงโทษให้ยักษ์วัดโพธิ์ยืนเฝ้าพระอุโบสถวัดโพธิ์ และยักษ์วัดแจ้งยืนเฝ้าวิหารวัดแจ้งตั้งแต่นั้นมา
สลากไทพลัส สลากออนไลน์ ใบละ 80บาท ถูกรางวัลรับเต็ม ไม่หักค่าทำเนียม
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม LINE : @STPLUS
หรือ คลิกที่รูปภาพด้านล่าง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น