วันศุกร์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2566

ประวัติวัดวัดพระธาตุดอยตุง:โดย สลากไทพลัส กองสลากไทพลัส

สลากไทพลัส จะพามาชมประวัติวัดวัดพระธาตุดอยตุง  อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย

ประวัติวัดพระธาตุดอยตุง



หลุมปักเสาตุงตามตำนานการก่อสร้างพระธาตุดอยตุง

ตามตำนานสิงหนติโยนกและตำนานพระธาตุดอยทุงเมืองเชียงแสนกล่าวว่า พระพุทธเจ้าได้เสด็จมายังดอยดินแดง ประทับบนหินก้อนหนึ่งมีรูปทรงเหมือนมะนาวผ่าซีก และทำนายว่าที่นี่จะเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุส่วนพระรากขวัญเบื้องซ้าย (กระดูกไหปลาร้า) และบอกพระอานนท์ว่า หลังพระองค์ปรินิพพาน ให้พระมหากัสสปะนำพระบรมสารีริกธาตุมาประดิษฐานที่นี่

พ.ศ. 1 สมัยพญาอชุตราช กษัตริย์ผู้ครองเมืองโยนกนครไชยบุรีราชธานีศรีช้างแส่นองค์ที่ 3 พระมหากัสสปะได้อัญเชิญโกศแก้วปัทมราช บรรจุพระบรมสารีริกธาตุส่วนพระรากขวัญเบื้องซ้าย (กระดูกไหปลาร้า) มายังเมืองโยนกนครไชยบุรีราชธานีศรีช้างแส่น แล้วบอกเรื่องราวที่พระพุทธเจ้าได้ทำนาย พญาอชุตราชยินดี จึงให้สร้างโกศเงิน โกศทองคำเข้าซ้อนโกศแก้วปัทมราช บูชาด้วยข้าวตอกดอกไม้ แล้วแห่ออกจากเมืองไปยังยอดดอยดินแดง พระมหากัสสปะตั้งโกศประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุบนหินที่พระพุทธเจ้าเคยประทับ แล้วอธิษฐานให้พระบรมสารีริกธาตุจมลงในหินประมาณ 8 ศอก พญาอชุตราชขอซื้อที่จากปู่เจ้าลาวจกและย่าเจ้า 1,000 คำ ด้านละ 3,000 วา และถวายครัวมิลักขุ 500 ครัวดูแลพระธาตุ พระมหากัสสปะได้ให้ทำตุง (ทุง) เสายาว 8,000 วา ตุงยาว 7,000 วา กว้าง 500 วา ปักบูชาพระธาตุ จึงเรียกว่า ดอยทุง (ดอยตุง) แต่นั้นมา




กัมมะโลฤๅษีได้มาอยู่อุปัฏฐากพระธาตุบริเวณดอยมุงเมือง ต่อมาแม่กวางตัวหนึ่งมาดื่มน้ำปัสสาวะพระฤๅษี ตั้งท้องเกิดลูกเป็นกุมารีน้อย กัมมะโลฤๅษีเก็บมาเลี้ยง ตั้งชื่อว่านางปทุมมาวติ เมื่ออายุได้ 16 ปี พญาอชุตราชได้มาสู่ขอนางไปเป็นมเหสีด้วยทองคำ 400,000 คำ กัมมะโลฤๅษีให้นำทองคำนั้นไปหล่อเป็นรูปกวางสมมุติเป็นแม่ให้นางปทุมมาวติกราบไหว้ทุกวัน

พ.ศ. 100 สมัยพระองค์มังรายนราช กษัตริย์ผู้ครองเมืองโยนกนครไชยบุรีราชธานีศรีช้างแส่นองค์ที่ 4 ตำนานสิงหนติโยนกว่า พระมหาวชิรโพธิเถระได้นำพระบรมสารีริกธาตุมาถวาย 150 องค์ ส่วนตำนานพระธาตุดอยทุงเมืองเชียงแสนว่า สุรเทโวฤๅษีได้นำพระบรมสารีริกธาตุมาถวาย 50 องค์ พระองค์มังรายนราชยินดี ให้ทำโกศเงิน โกศทองคำ โกศแก้วเข้าซ้อนกัน แล้วแห่ออกจากเมืองไปยังยอดดอยทุง (ดอยตุง) ตั้งโกศประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุบนหินที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุสมัยพญาอชุตราช แล้วอธิษฐานให้พระบรมสารีริกธาตุจมลงในหินประมาณ 7 ศอก พระองค์มังรายนราชให้ก่อเจดีย์ครอบหินสูง 7 ศอก บุเงินจังโก ทองจังโก ประดับแก้ว 7 ประการ ฉลองพระธาตุ 3 เดือน แล้วซื้อครัวมิลักขุ 500 ครัวที่พญาอชุตราชเคยถวายมาถวายพระธาตุอีกครั้ง ปู่เจ้าลาวจกและย่าเจ้าได้อุปัฏฐากพระธาตุ ด้วยอานิสงค์จึงไปจุติเป็นเทวบุตรและเทวธิดาบนสวรรค์




พ.ศ. 219 สมัยพระองค์เพิง กษัตริย์ผู้ครองเมืองโยนกนครไชยบุรีราชธานีศรีช้างแส่นองค์ที่ 8 พระมหารักขิตเถระได้นำพระบรมสารีริกธาตุมา 9 องค์ พระองค์เพิงให้ทำโกศเงิน โกศทองคำ โกศแก้วเข้าซ้อนกัน แบ่งเป็น 3 ส่วน ส่วนหนึ่งบรรจุที่ดอยโยนกปัพพตะ ส่วนหนึ่งบรรจุที่พระธาตุดอยทุง (ดอยตุง) ส่วนหนึ่งบรรจุที่พูกวาวหัวเวียงไชยนารายณ์เมืองมูล แต่เนื่องจากไม่สามารถประดิษฐานในหินที่เดียวกับที่เคยฝังพระบรมสารีริกธาตุได้ เพราะมีการสร้างเจดีย์ครอบทับแล้ว จึงสร้างเจดีย์อีกองค์ทางทิศตะวันออกของเจดีย์องค์เดิม เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุในครั้งนี้ แล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 221 ฉลองพร้อมกันทุกแห่ง ทำให้พระธาตุดอยทุง (ดอยตุง) มีเจดีย์ 2 องค์

พ.ศ. 270 สุรเทพาฤๅษีได้มาอุปัฏฐากพระธาตุดอยทุง (ดอยตุง) สร้างศาลาอยู่ที่ทางทิศตะวันตก ได้นำพระบรมสารีริกธาตุ 15 องค์มาอธิษฐานให้พระบรมสารีริกธาตุจมลงในหินรูปร่างเหมือนช้างมูบ (ช้างหมอบ) ประมาณ 5 ศอก แล้วก่อเจดีย์บนหินสูง 7 ศอก สุรเทพาฤๅษีอยู่รักษาอุปัฏฐากพระธาตุ 100 ปีก็จุติยังพรหมโลก คนทั้งหลายเรียกพระธาตุช้างมูบ พ.ศ. 300 กัมปติสโลเทวบุตรได้นำต้นนิโครธจากเมืองกุสินารามาปลูกทางทิศเหนือของพระธาตุช้างมูบ สูง 7 ศอก มีกิ่งก้านสาขา 4 กิ่ง


สลากไทพลัส สลากออนไลน์ ใบละ 80บาท ถูกรางวัลรับเต็ม ไม่หักค่าทำเนียม

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม LINE : @STPLUS

หรือ คลิกที่รูปภาพด้านล่าง



อ่านบทความเพิ่มเติมของ สลากไทพลัส


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ป้อมไพรีพินาศ

ที่เที่ยวโบราณ ป้อมไพรีพินาศ จังหวัดจันทบุรี ป้อมไพรีพินาศ ตั้งอยู่บนเขาแหลมสิงห์ หมู่ 1 ตำบลบางกะไชย อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี เป็นป้อ...