วันเสาร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2566

ประวัติวัดไทรน้อย:โดย สลากไทพลัส กองสลากไทพลัส

สลากไทพลัส ของเราพามาชมประวัติวัดไทรน้อย อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี

วัดไทรน้อยเป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย  เดิมสังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายรามัญนิกาย ตั้งอยู่ในชุมชนชาวไทยเชื้อสายมอญในท้องที่หมู่ที่ 1 บ้านไทรน้อย ตำบลไทรน้อย อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 15 ไร่ ที่ธรณีสงฆ์มีจำนวน 2 แปลง เนื้อที่ 56 ไร่ 3 งาน 72 ตารางวา บริเวณวัดยังมีตลาดน้ำวัดไทรน้อยซึ่งเปิดทุกวันเสาร์ วันอาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์




ประวัติวัดไทรน้อย

วัดไทรน้อยเริ่มสร้างเมื่อ พ.ศ. 2430 โดยกลุ่มชาวมอญจากมหาชัย บ้านบางกระเจ้า บ้านไร่ และบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งเข้ามาจับจองที่ดินด้วยการหักร้างถางพงเพื่อทำนา นานวันเข้าก็กลายเป็นชุมชนชาวมอญ ต่อมาจึงได้สร้างวัดขึ้นเพื่อเป็นศูนย์รวมจิตใจของชุมชน ชาวบ้านได้ช่วยตัดต้นไม้ใหญ่ในพื้นที่มาเลื่อยทำเสา กระดาน และไม้สำหรับใช้สร้างที่พักสงฆ์ หลวงตาโจ๊กซึ่งเป็นพระมอญมาดำเนินการก่อสร้างจนเป็นวัดมีพระสงฆ์มาจำพรรษา หลวงตาโจ๊กจำพรรษาที่วัดนี้และช่วยเหลือในการก่อสร้างเสนาสนะและสิ่งก่อสร้างภายในวัดอยู่นานประมาณ 30 ปี เดิมมีชื่อวัดว่า วัดสาลีมุนีภิรมย์ หมายถึงบริเวณที่ตั้งวัดอุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหาร




ในเวลาต่อมา ชาวบ้านได้นิมนต์พระอาจารย์เกร็บ จนฺทสิริ พระมอญจากวัดปรมัยยิกาวาส มาเป็นเจ้าอาวาสรูปแรกของวัด ในสมัยพระอธิการเผื่อน สิกขโร เจ้าอาวาสรูปที่ 2 ท่านร่วมกับนายพร ประสิทธิชัย กำนันตำบลไทรน้อยคนแรก และชาวบ้าน สร้างอุโบสถเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนเพื่อให้พระสงฆ์ได้ทำสังฆกรรม จนกระทั่ง พ.ศ. 2495 ได้เปลี่ยนชื่อวัดเป็น วัดไทรน้อย ตามชื่อหมู่บ้าน เนื่องจากชื่อเดิมออกเสียงยากสำหรับชาวมอญสมัยนั้น วัดได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2526




อาคารเสนาสนะ

พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบลุ่มอยู่ริมคลองพระพิมล ภายในวัดมีอาคารเสนาสนะต่าง ๆ ดังนี้ เขตพุทธาวาสประกอบด้วยอุโบสถกว้าง 20 เมตร ยาว 40 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2499 ลักษณะคอนกรีตเสริมเหล็ก มีสภาพชำรุด วัดจึงดำเนินก่อสร้างอุโบสถหลังใหม่กว้าง 12 เมตร ยาว 33 เมตร บริเวณด้านหน้าอุโบสถมีเสาหงส์คู่สำหรับแขวนธงตะขาบแสดงถึงอัตลักษณ์ความเป็นวัดที่ชาวไทยเชื้อสายมอญได้สร้างขึ้น ด้านหลังอุโบสถมีมหาเจดีย์มุนีภิรมย์ ซึ่งมีป้ายชื่อทำจากหินแกรนิต สลักชื่อมหาเจดีย์ทั้งภาษาไทยและภาษามอญ โดยรอบแผ่นหินแกรนิตที่สลักชื่อมหาเจดีย์ดังกล่าวประดับด้วยลวดลายปูนปั้นติดตั้งอยู่บนซุ้มประตูทางเข้าชั้น 2 ของมหาเจดีย์ เขตสังฆาวาสมีกุฏิสงฆ์จำนวน 7 หลัง ส่วนมากเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ชั้น หอสวดมนต์ ศาลาการเปรียญ ถาวรวัตถุอื่น ๆ ได้แก่ ศาลาท่าน้ำ ศาลาบำเพ็ญกุศล ฌาปนสถาน อาคารเรียนพระปริยัติธรรม และศาลแปจุโจ๊กหรือศาลหลวงปู่โจ๊กซึ่งเป็นศาลตะละทานประจำวัด เป็นต้น


ชื่อสามัญ วัดไทรน้อย, วัดสาลีมุนีภิรมย์

ที่ตั้ง เลขที่ 40 หมู่ที่ 1 ซอยวัดไทรน้อย 2 ถนนบางกรวย-ไทรน้อย ตำบลไทรน้อย อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี 11150

ประเภท วัดราษฎร์

นิกาย มหานิกาย

Maps       https://goo.gl/maps/1V8LGJsNVjK65raP7


สลากไทพลัส สลากออนไลน์ ใบละ 80บาท ถูกรางวัลรับเต็ม ไม่หักค่าทำเนียม

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม LINE : @STPLUS

หรือ คลิกที่รูปภาพด้านล่าง



อ่านบทความเพิ่มเติมของ สลากไทพลัส


ประวัติวัดสพานสูง:โดย สลากไทพลัส กองสลากไทพลัส

สลากไทพลัส พามาชมประวัติวัดสพานสูง อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

ประวัติวัดสพานสูง

วัดสพานสูง เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 3 บ้านแหลมเหนือ ตำบลคลองพระอุดม อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี




วัดสพานสูงสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2395 เดิมชื่อว่า วัดสว่างอารมณ์ ต่อมาสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้เสด็จมาตรวจคณะสงฆ์ที่วัดนี้ พระองค์ทอดพระเนตรเห็นสะพานสูงข้ามคลองบ้านแหลม (คลองพระอุดมในปัจจุบัน) จึงประทานชื่อใหม่ว่า "วัดสพานสูง"



อาคารเสนาสนะได้แก่ อุโบสถ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2470 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก มีช่อฟ้า ใบระกา คันทวย หน้าบันลงรักปิดกระจก ศาลาการเปรียญ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2516 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กทรงไทย 2 ชั้น มีมุข 3 ด้าน ลงรักปิดกระจกและปิดทองช่อฟ้าใบระกา หอสวดมนต์ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2538 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก กุฏิสงฆ์ เป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ วิหาร เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ศาลาอเนกประสงค์ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก และศาลาบำเพ็ญกุศล เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ส่วนปูชนียวัตถุมีพระประธานประจำอุโบสถปางมารวิชัย สร้างเมื่อ พ.ศ. 2470 และพระประธานประจำศาลาการเปรียญปางมารวิชัย สร้างเมื่อ พ.ศ. 2516





ชื่อสามัญ วัดสโมสร, วัดสโมสรศรัทธาราม, วัดหม่อมแช่ม, วัดคลองหนึ่ง

ที่ตั้ง หมู่ที่ 9 ทางหลวงชนบท นบ.3015 ตำบลไทรใหญ่ อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี 11150

ประเภท วัดราษฎร์

นิกาย มหานิกาย

Maps       https://goo.gl/maps/exqiAhpL4PCtCTQ59


สลากไทพลัส สลากออนไลน์ ใบละ 80บาท ถูกรางวัลรับเต็ม ไม่หักค่าทำเนียม

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม LINE : @STPLUS

หรือ คลิกที่รูปภาพด้านล่าง


อ่านบทความเพิ่มเติมของ สลากไทพลัส


ประวัติวัดสโมสร:โดย สลากไทพลัส กองสลากไทพลัส

สวัสดีวันนี้ สลากไทพลัส ของเราจะพามาชมประวัติวัดสโมสร อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี 

ประวัติวัดสโมสร




วัดสโมสร เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 9 บ้านหม่อมแช่ม ตำบลไทรใหญ่ อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี ปัจจุบันพระครูสถิตนันทสโมสร (วิเชียร กตปุญฺโญ) ซึ่งมีเชื้อสายมอญ ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส




วัดสโมสรตั้งวัดเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2460 โดยชาวมอญจากอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ กับชาวมอญจากจังหวัดสมุทรสาคร ได้ร่วมกันสร้างวัดขึ้น ชื่อว่า วัดสโมสรศรัทธาราม ภายหลังเจ้าคณะอำเภอบางบัวทองเห็นว่านามวัดยาวเกินไป จึงให้ตัดคำว่า "ศรัทธาราม" ออก เหลือเพียง "วัดสโมสร" ชาวบ้านเรียกว่า วัดหม่อมแช่ม หรือ วัดคลองหนึ่ง กล่าวกันว่า หม่อมแช่ม กฤดากร ได้จัดถวายที่ดิน 1 แปลง จำนวน 15 ไร่ ให้สร้างวัด




วัดสโมสรเป็นวัดมอญ มีเสาหงส์แสดงสัญลักษณ์ ยังคงใช้บทสวดมนต์และการทำสังฆกรรมทุกประเภทเป็นภาษามอญ มีกิจกรรมของชาวมอญในวันสงกรานต์ ได้แก่ การตักบาตรดอกไม้เข้าพรรษา การแห่หงส์ธงตะขาบ การปล่อยปลา การเล่นสะบ้าหนุ่มสาว และการแสดงมหรสพภาคกลางคืนเป็นต้น


ชื่อสามัญ วัดสโมสร, วัดสโมสรศรัทธาราม, วัดหม่อมแช่ม, วัดคลองหนึ่ง

ที่ตั้ง หมู่ที่ 9 ทางหลวงชนบท นบ.3015 ตำบลไทรใหญ่ อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี 11150

ประเภท วัดราษฎร์

นิกาย มหานิกาย

Maps       https://goo.gl/maps/ynBLAbxte7hu5DEM6


สลากไทพลัส สลากออนไลน์ ใบละ 80บาท ถูกรางวัลรับเต็ม ไม่หักค่าทำเนียม

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม LINE : @STPLUS

หรือ คลิกที่รูปภาพด้านล่าง



อ่านบทความเพิ่มเติมของ สลากไทพลัส


ประวัติวัดนาคปรก:โดย สลากไทพลัส กองสลากไทพลัส

สลากไทพลัส พามาชมประวัติวัดนาคปรก  เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร

วัดนาคปรก เป็นวัดราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่บนถนนเทอดไท แขวงปากคลองภาษีเจริญ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ด้านทิศตะวันออกติดกับวัดนางชีโชติการาม ทิศใต้ติดกับคลองบางหว้า และด้านทิศตะวันตกติดกับโรงเรียนวัดนาคปรก



ประวัติวัดนาคปรก

วัดนาคปรกสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2291 รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (ก่อนเสียกรุงศรีอยุธยา 19 ปี) เป็นช่วงสมัยอยุธยาตอนปลาย เป็นวัดที่ชุมชนร่วมกันสร้าง เดิมชื่อ วัดปก เนื่องจากตั้งอยู่กลางสวนเหมือนป่าปกคลุม หรือปกไว้ ต่อมาวัดเสื่อมโทรมลง จนในสมัยรัชกาลที่ 3 เจ้าสัวพุก แซ่ตัน (พระบริบูรณ์ธนากร) และภรรยาซึ่งเป็นคนไทย ได้บูรณะอุโบสถ ให้ช่างฝีมือจากเมืองจีน เขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังเป็นรูปเครื่องมงคลจีน และเครื่องไหว้ต่าง ๆ เป็นศิลปะจีนแบบมหายาน ยังได้ขอพระราชทานพระพุทธรูปสุโขทัยที่รัชกาลที่ 1 ทรงให้รวบรวมจากหัวเมืองต่าง ๆ มาเป็นพระประธาน โดยพระประธานองค์ประดิษฐานที่วิหารนั้นมีพญานาค 7 เศียรแผ่พังพาน เป็นรูปปูนปั้น องค์พระเป็นพระปางมารวิชัยสัมฤทธิ์ ชาวบ้านจึงได้เรียกว่า วัดนาคปรก




ต่อมา พ.ศ. 2506–2525 ในยุคพระครูศรีพัฒนคุณ เป็นเจ้าอาวาส มีการมุงหลังคาพระอุโบสถใหม่และปูพื้นหินอ่อน และต่อมาในสมัยพระครูวรกิตติโสภณ (เศรษฐกิจ) เป็นเจ้าอาวาส ราวปี พ.ศ. 2554 ได้ยกพื้นอุโบสถขึ้น 5 เมตร กลายเป็นโบสถ์ 2 ชั้น โดยได้รับความเห็นชอบจากกรมศิลปากร

การพระราชทานวิสุงคามสีมา เข้าใจว่าได้รับพระราชทานมาแต่เดิมประมาณ พ.ศ. 2291 กรมศิลปากรขึ้นทะเบียนวัดนาคปรกเป็นโบราณสถาน เมื่อ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2520



ที่ตั้ง                 ถนนเทอดไท

                        แขวงปากคลองภาษีเจริญ

                        เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร

ประเภท         วัดราษฎร์

นิกาย         มหานิกาย

เจ้าอาวาส พระกิตติโสภณวิเทศ

Maps               https://goo.gl/maps/btN3tFQkREsDqo8M7


สลากไทพลัส สลากออนไลน์ ใบละ 80บาท ถูกรางวัลรับเต็ม ไม่หักค่าทำเนียม

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม LINE : @STPLUS

หรือ คลิกที่รูปภาพด้านล่าง


อ่านบทความเพิ่มเติมของ สลากไทพลัส


วันศุกร์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2566

ประวัติวัดพุทไธศวรรย์:โดย สลากไทพลัส กองสลากไทพลัส

สลากไทพลัส ของเราจะพามาชมประวัติวัดพุทไธศวรรย์ ตำบลสำเภาล่ม อำเภอพระนครศรีอยุธยา 

ประวัติวัดพุทไธศวรรย์

วัดพุทไธศวรรย์ เป็นพระอารามหลวงตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตกใน ตำบลสำเภาล่ม อำเภอพระนครศรีอยุธยา 



ในสมัยกรุงศรีอยุธยา วัดพุทไธศวรรย์เป็นพระอารามหลวงที่ใหญ่โตและมีชื่อเสียงวัดหนึ่ง ปรากฏตามตำนานว่าสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ทรงสร้างขึ้นในบริเวณที่ซึ่งเป็นที่ตั้งพลับพลาที่ประทับเมื่อทรงอพยพมาตั้งอยู่ก่อนสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี 




ที่ตรงนี้มีชื่อปรากฏในพระราชพงศาวดารว่า "ตำบลเวียงเล็ก หรือ เวียงเหล็ก" ครั้นเมื่อสถาปนากรุงศรีอยุธยาแล้ว ถึง พ.ศ. 1896 จึงโปรดให้สร้างวัดนี้ขึ้นเป็นพระราชอนุสรณ์ ณ ตำบลซึ่งพระองค์เสด็จมาตั้งมั่นอยู่แต่เดิม และพระมหากษัตริย์องค์ต่อ ๆ มาก็คงจะได้โปรดให้สร้างถาวรวัตถุ 



เพิ่มเติมขึ้นอีกหลายอย่าง เมื่อเสียกรุงฯ ในปี พ.ศ. 2310 วัดพุทไธศวรรย์เป็นอีกวัดหนึ่งที่มิได้ถูกข้าศึกทำลายเหมือนวัดอื่น ๆ ทุกวันนี้จึงยังมีโบราณสถานไว้ชมอีกมากมาย


สลากไทพลัส สลากออนไลน์ ใบละ 80บาท ถูกรางวัลรับเต็ม ไม่หักค่าทำเนียม

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม LINE : @STPLUS

หรือ คลิกที่รูปภาพด้านล่าง



อ่านบทความเพิ่มเติมของ สลากไทพลัส


เปิดประวัติวัดรอยพระพุทธบาตรภูมโนรมย์:โดย สลากไทพลัส กองสลากไทพลัส

สลากไทพลัส พามาเปิดประวัติวัดรอยพระพุทธบาตรภูมโนรมย์ แลนด์มาร์คใหม่ของมุกดาหาร

วัดรอยพระพุทธบาตรภูมโนรมย์

วัดภูมโนรมย์ หรือ วัดรอยพระพุทธบาทภูมโนรมย์ อยู่ห่างจากตัวเมืองมุกดาหารประมาณ 5 กม. มีเนื้อที่ประมาณ 100 ไร่ อยู่ในเขตพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติมุกดาหาร มีพืชพันธ์ไม้หายากหลายชนิด เช่น ต้นช้างน้าว ผัหวาน ที่ในอดีต ชาวบ้านแถบนั้นจะขึ้นภูเก็บผักหวานกัน



อยู่ในเขตอำเภอเมืองมุกดาหาร เป็นภูเขาที่มีความไม่สูงมากนัก มีพืชพันธุ์ไม้หลายชนิดที่หายาก เช่น ต้นช้างน้าว ดอกไม้ประจำจังหวัด ผักหวาน นอกจากนั้นยังเป็นที่ตั้งวัดรอยพระพุทธบาทภูมโนรมย์ เป็นวัดเก่าแก่ มองเห็นทิวทัศน์ของจังหวัดมุกดาหาร แม่น้ำโขง และแขวงสะหวันนะเขต สปป.ลาว ภายในบริเวณวัดมีรอยพระพุทธบาทจำลอง สร้างขึ้นจากหินทราย กว้าง 80 เซนติเมตร ยาว 1.8 เมตร และขณะนี้จังหวัดมุกดาหารยังอยู่ระหว่างการก่อสร้างพระพุทธรูปเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เนื่องในโอกาสมหามงคงเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 เป็นพระพุทธรูปบางมารวิชัย ขนาดหน้าตัก 39.99 เมตร สูง 59.99 เมตร รวมความสูงจากฐานถึงยอดเศียร 84 เมตร โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากรัฐบาล 75 ล้านบาท และเงินบริจากจากพุทธศาสนิกชนทั่วไปอีกจำนวนหนึ่ง

ลักษณะเด่น

พระุทธรูปเฉลิมพระเกียรติ “พระเจ้าใหญ่แก้วมุกดาศรีไตรรัตน์” ประดิษฐานอยู่บนยอดภู พระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาดหน้าตัก 39.99 เมตร สูง 59.99 เมตร ความสูงจากฐานถึงยอดเศียร 84 เมตร

ประวัติ

การก่อตั้งวัดวัดภูมโนรมย์ จากหลักฐานการสร้างจากแผ่นศิลา ได้กล่าวว่า คนของ ท่านขุนศาลาและพระอาจารย์บุ นันทวโร เจ้าอาวาสวัดมโนภิรมย์ บ้านชะโนด และผู้สร้างวัดลัฎฐิกวัน เป็นผู้สร้าง และถือเป็นที่สำหรับการจำพรรษา และปฏิบัติธรรมกัมมัฎฐานของพระภิกษุ ได้สร้างพระธาตุรูปทรงแปดเหลี่ยมหนึ่งองค์ พร้อมสร้างร้อยพระพุทธบาทจำลอง และพระอาคารเพ็ญ ที่เป็นพระพุทธรูปขนาดเล็กไว้องค์หนึ่ง และสร้างกุฏิสำหรับพระสงฆ์อีกหลังหนึ่ง



โบราณสถานและโบราณวัตถุในวัดรอยพระพุทธบาทภูมโนรมย์ 

พระธาตุภูมโนรมย์ เป็นพระธาตุทรงแปดเหลี่ยมมีเอวเป็นฐานหักเชิงเป็นรูปแปดเหลี่ยมรัศมีประมาณ 2.5 เมตรเป็นรูปทรงปลีแบ่งเป็น 3 ท่อนคือเป็นลักษณะปริศนาธรรม ตามความหมายแรกเป็นนรกภูมิ ฐานที่สองเป็นโลกภูมิซึ่งมาก และสุดท้ายเป็นสวรรค์ภูมิ ความสูง 4.5 เมตร

พระอังคารเพ็ญ เป็นพระพุทธรูปขนาดเล็กสร้างพร้อมพระพุทธบาท เพื่อให้ครบคือพระธาตุ พระพุทธรูปและพระบาทตามความเชื่อของผู้สร้าง



บันทึกการสร้างวัดจำนวน 1 แผ่น ติดอยู่หลังของพระอังคารเพ็ญ

รอยพระพุทธบาทจำลอง เป็นรอยพระพุทธบาทขนาดเล็ก ซึ่งสร้างขึ้นจากหินทราย มีความกว้าง 80 เซนติเมตร ความยาว 1.8 เมตร สร้างเป็นลักษณะลอยตัวสูงขึ้นจากพื้นประมาณ 90 เซนติเมตร

และในขณะนี้ ทางจังหวัดมุกดาหารได้จัดสร้าง พระุทธรูปเฉลิมพระเกียรติ “พระเจ้าใหญ่แก้วมุกดาศรีไตรรัตน์” เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา รอบ เมื่อ วันที่ 5 ธันวาคม 2554 เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาดหน้าตัก 39.99 เมตร สูง 59.99 เมตร ความสูงจากฐานถึงยอดเศียร 84 เมตร โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาล 75 ล้านบาทและเงินบริจาคจากประชาชนอีกส่วนหนึ่ง รวมงบประมาณการก่อสร้างกว่า 100 ล้านบาท



วัดรอยพระพุทธบาทภูมโนรมย์เป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจที่อีกแห่งหนึ่ง ที่ควรแวะไปเที่ยวชม หากได้มาเยือนเมืองมุกดาหาร เพราะนอกจากเป็นสถานที่สำคัญทางศาสนาแล้ว ยังเป็นสถานที่ที่สวยงามทั้งจากธรรมชาติ และจากการก่อสร้างแต่งเติมของชาวจังหวัดมุกดาหาร เอาไว้เพื่อเป็นสถานที่พักผ่อนเที่ยวชม จากจุดนี้สามารถชมทิวทัศน์ของเมืองมุกดาหาร หอแก้ว แม่น้ำโขง รวมถึงสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 2 และแขวงสะหวันนะเขตได้เต็มๆ และทางองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้ปรับปรุงเส้นทางขึ้นพร้อมทั้งจัดจุดจอดรถ ศาลาชมวิวไว้รอบรับผู้เยี่ยมชม


สลากไทพลัส สลากออนไลน์ ใบละ 80บาท ถูกรางวัลรับเต็ม ไม่หักค่าทำเนียม

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม LINE : @STPLUS

หรือ คลิกที่รูปภาพด้านล่าง




อ่านบทความเพิ่มเติมของ สลากไทพลัส



ประวัติวัดวัดพระธาตุดอยตุง:โดย สลากไทพลัส กองสลากไทพลัส

สลากไทพลัส จะพามาชมประวัติวัดวัดพระธาตุดอยตุง  อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย

ประวัติวัดพระธาตุดอยตุง



หลุมปักเสาตุงตามตำนานการก่อสร้างพระธาตุดอยตุง

ตามตำนานสิงหนติโยนกและตำนานพระธาตุดอยทุงเมืองเชียงแสนกล่าวว่า พระพุทธเจ้าได้เสด็จมายังดอยดินแดง ประทับบนหินก้อนหนึ่งมีรูปทรงเหมือนมะนาวผ่าซีก และทำนายว่าที่นี่จะเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุส่วนพระรากขวัญเบื้องซ้าย (กระดูกไหปลาร้า) และบอกพระอานนท์ว่า หลังพระองค์ปรินิพพาน ให้พระมหากัสสปะนำพระบรมสารีริกธาตุมาประดิษฐานที่นี่

พ.ศ. 1 สมัยพญาอชุตราช กษัตริย์ผู้ครองเมืองโยนกนครไชยบุรีราชธานีศรีช้างแส่นองค์ที่ 3 พระมหากัสสปะได้อัญเชิญโกศแก้วปัทมราช บรรจุพระบรมสารีริกธาตุส่วนพระรากขวัญเบื้องซ้าย (กระดูกไหปลาร้า) มายังเมืองโยนกนครไชยบุรีราชธานีศรีช้างแส่น แล้วบอกเรื่องราวที่พระพุทธเจ้าได้ทำนาย พญาอชุตราชยินดี จึงให้สร้างโกศเงิน โกศทองคำเข้าซ้อนโกศแก้วปัทมราช บูชาด้วยข้าวตอกดอกไม้ แล้วแห่ออกจากเมืองไปยังยอดดอยดินแดง พระมหากัสสปะตั้งโกศประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุบนหินที่พระพุทธเจ้าเคยประทับ แล้วอธิษฐานให้พระบรมสารีริกธาตุจมลงในหินประมาณ 8 ศอก พญาอชุตราชขอซื้อที่จากปู่เจ้าลาวจกและย่าเจ้า 1,000 คำ ด้านละ 3,000 วา และถวายครัวมิลักขุ 500 ครัวดูแลพระธาตุ พระมหากัสสปะได้ให้ทำตุง (ทุง) เสายาว 8,000 วา ตุงยาว 7,000 วา กว้าง 500 วา ปักบูชาพระธาตุ จึงเรียกว่า ดอยทุง (ดอยตุง) แต่นั้นมา




กัมมะโลฤๅษีได้มาอยู่อุปัฏฐากพระธาตุบริเวณดอยมุงเมือง ต่อมาแม่กวางตัวหนึ่งมาดื่มน้ำปัสสาวะพระฤๅษี ตั้งท้องเกิดลูกเป็นกุมารีน้อย กัมมะโลฤๅษีเก็บมาเลี้ยง ตั้งชื่อว่านางปทุมมาวติ เมื่ออายุได้ 16 ปี พญาอชุตราชได้มาสู่ขอนางไปเป็นมเหสีด้วยทองคำ 400,000 คำ กัมมะโลฤๅษีให้นำทองคำนั้นไปหล่อเป็นรูปกวางสมมุติเป็นแม่ให้นางปทุมมาวติกราบไหว้ทุกวัน

พ.ศ. 100 สมัยพระองค์มังรายนราช กษัตริย์ผู้ครองเมืองโยนกนครไชยบุรีราชธานีศรีช้างแส่นองค์ที่ 4 ตำนานสิงหนติโยนกว่า พระมหาวชิรโพธิเถระได้นำพระบรมสารีริกธาตุมาถวาย 150 องค์ ส่วนตำนานพระธาตุดอยทุงเมืองเชียงแสนว่า สุรเทโวฤๅษีได้นำพระบรมสารีริกธาตุมาถวาย 50 องค์ พระองค์มังรายนราชยินดี ให้ทำโกศเงิน โกศทองคำ โกศแก้วเข้าซ้อนกัน แล้วแห่ออกจากเมืองไปยังยอดดอยทุง (ดอยตุง) ตั้งโกศประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุบนหินที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุสมัยพญาอชุตราช แล้วอธิษฐานให้พระบรมสารีริกธาตุจมลงในหินประมาณ 7 ศอก พระองค์มังรายนราชให้ก่อเจดีย์ครอบหินสูง 7 ศอก บุเงินจังโก ทองจังโก ประดับแก้ว 7 ประการ ฉลองพระธาตุ 3 เดือน แล้วซื้อครัวมิลักขุ 500 ครัวที่พญาอชุตราชเคยถวายมาถวายพระธาตุอีกครั้ง ปู่เจ้าลาวจกและย่าเจ้าได้อุปัฏฐากพระธาตุ ด้วยอานิสงค์จึงไปจุติเป็นเทวบุตรและเทวธิดาบนสวรรค์




พ.ศ. 219 สมัยพระองค์เพิง กษัตริย์ผู้ครองเมืองโยนกนครไชยบุรีราชธานีศรีช้างแส่นองค์ที่ 8 พระมหารักขิตเถระได้นำพระบรมสารีริกธาตุมา 9 องค์ พระองค์เพิงให้ทำโกศเงิน โกศทองคำ โกศแก้วเข้าซ้อนกัน แบ่งเป็น 3 ส่วน ส่วนหนึ่งบรรจุที่ดอยโยนกปัพพตะ ส่วนหนึ่งบรรจุที่พระธาตุดอยทุง (ดอยตุง) ส่วนหนึ่งบรรจุที่พูกวาวหัวเวียงไชยนารายณ์เมืองมูล แต่เนื่องจากไม่สามารถประดิษฐานในหินที่เดียวกับที่เคยฝังพระบรมสารีริกธาตุได้ เพราะมีการสร้างเจดีย์ครอบทับแล้ว จึงสร้างเจดีย์อีกองค์ทางทิศตะวันออกของเจดีย์องค์เดิม เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุในครั้งนี้ แล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 221 ฉลองพร้อมกันทุกแห่ง ทำให้พระธาตุดอยทุง (ดอยตุง) มีเจดีย์ 2 องค์

พ.ศ. 270 สุรเทพาฤๅษีได้มาอุปัฏฐากพระธาตุดอยทุง (ดอยตุง) สร้างศาลาอยู่ที่ทางทิศตะวันตก ได้นำพระบรมสารีริกธาตุ 15 องค์มาอธิษฐานให้พระบรมสารีริกธาตุจมลงในหินรูปร่างเหมือนช้างมูบ (ช้างหมอบ) ประมาณ 5 ศอก แล้วก่อเจดีย์บนหินสูง 7 ศอก สุรเทพาฤๅษีอยู่รักษาอุปัฏฐากพระธาตุ 100 ปีก็จุติยังพรหมโลก คนทั้งหลายเรียกพระธาตุช้างมูบ พ.ศ. 300 กัมปติสโลเทวบุตรได้นำต้นนิโครธจากเมืองกุสินารามาปลูกทางทิศเหนือของพระธาตุช้างมูบ สูง 7 ศอก มีกิ่งก้านสาขา 4 กิ่ง


สลากไทพลัส สลากออนไลน์ ใบละ 80บาท ถูกรางวัลรับเต็ม ไม่หักค่าทำเนียม

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม LINE : @STPLUS

หรือ คลิกที่รูปภาพด้านล่าง



อ่านบทความเพิ่มเติมของ สลากไทพลัส


ชมประวัติวัดบางระโหง:โดย สลากไทพลัส กองสลากไทพลัส

สลากไทพลัส จะพามาชมประวัติวัดบางระโหง อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี 

วัดบางระโหง เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 9 บ้านบางระโหง ตำบลบางกร่าง อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี



ประวัติวัดบางระโหง

วัดบางระโหงเป็นวัดโบราณ สร้างเมื่อใดไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่ได้รับการบูรณะซ่อมแซมในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มีเรื่องเล่าต่อกันมาว่าผู้สร้างวัดนี้มีชื่อว่าโหง เป็นชาวจีน (แต่บ้างว่าเป็นชาวมอญ) ที่ย้ายถิ่นฐานมาจากหงสาวดี นายโหงคงเป็นผู้ที่มียศถาบรรดาศักดิ์หรือเศรษฐีในยุคนั้น สังเกตจากซุ้มที่ครอบใบเสมาและใบเสมามีความสวยงามยิ่งนัก




เดิมมีเสาหงส์อยู่หน้าวัดพร้อมทั้งเจดีย์คู่และสิงโต หลวงพ่อใหญ่ในอุโบสถและหลวงพ่อขาวในพระวิหารนั้นศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เคารพสักการะ เมื่อแม่ค้าพายเรือผ่านหน้าวัดมักตั้งจิตอธิษฐานแล้ววักน้ำมาลูบเนื้อลูบตัว เชื่อว่าจะทำให้ค้าขายดี ในช่วงการเกณฑ์ทหาร มักมีคนมาบนบานกับหลวงพ่อใหญ่และหลวงพ่อขาว ขอให้ไม่ถูกเกณฑ์ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง มีคนอพยพหนีภัยมาอาศัยที่วัด เช่น พระยาภิรมย์ภักดี (บุญรอด เศรษฐบุตร) หรือก่อนหน้านั้น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคำรบ ก็เคยโดยสารเรือมาพักที่วัด



อาคารเสนาสนะ

อุโบสถสร้างเมื่อ พ.ศ. 2549 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ศาลาการเปรียญสร้างเมื่อ พ.ศ. 2533 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กทรงไทย 2 ชั้น กุฏิสงฆ์เป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ วิหารสร้างเมื่อ พ.ศ. 2536 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ศาลาบำเพ็ญกุศลสร้างเมื่อ พ.ศ. 2539 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ส่วนปูชนียวัตถุ มีพระประธานประจำพระอุโบสถปางมารวิชัยซึ่งสร้างเมื่อ พ.ศ. 2545 และพระประธานประจำศาลาการเปรียญปางมารวิชัยซึ่งสร้างเมื่อ พ.ศ. 2533


สลากไทพลัส สลากออนไลน์ ใบละ 80บาท ถูกรางวัลรับเต็ม ไม่หักค่าทำเนียม

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม LINE : @STPLUS

หรือ คลิกที่รูปภาพด้านล่าง




อ่านบทความเพิ่มเติมของ สลากไทพลัส


วันพฤหัสบดีที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2566

ชมวัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร:โดย สลากไทพลัส กองสลากไทพลัส

สลากไทพลัส จะพามาชมวัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร  อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี

วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ที่ อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี ตามพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยากล่าวว่า มีพระภิกษุไทยคณะหนึ่ง เดินทางไปยังลังกาทวีป เพื่อนมัสการรอยพระพุทธบาท พระสงฆ์ลังกากล่าวว่า ประเทศไทยก็มีรอยพระพุทธบาทอยู่แล้วที่เขาสุวรรณบรรพต จึงได้นำความกราบทูลสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมให้ทรงทราบ และได้สืบหาจนพบรอยพระพุทธบาท เพื่อเป็นที่สักการบูชา เป็นศูนย์รวมแห่งพลังศรัทธาอันยิ่งใหญ่ พระพุทธบาทสระบุรีเป็นพระอารามหลวง ที่พระมหากษัตริย์แทบทุกพระองค์ทรงทำนุบำรุงและเสด็จไปนมัสการตลอดมา ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาจนถึงรัตนโกสินทร์




ประวัติวัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร

วัดพระพุทธบาทในสมัยรัชกาลที่ 4 วาดโดยอ็องรี มูโอ

ในสมัยกรุงศรีอยุธยา รัชกาลสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ปรากฏว่ามีพระภิกษุสงฆ์ชาวไทยคณะหนึ่งเดินทางไปยังลังกาทวีป ด้วยหวังจะสักการบูชาพระพุทธบาท ณ เขาสุมนกูฏ การไปคราวนั้นเป็นเวลาที่พระสงฆ์ชาวลังกาทวีปกำลังสอบประวัติและที่ตั้งแห่งรอยพระพุทธบาททั้งปวงตามที่ปรากฏอยู่ในตำนานว่ามีทั้งสิ้น 5 แห่ง ภายหลังสืบได้ความว่าภูเขาที่ชื่อว่า สุวรรณบรรพต มีอยู่ในสยามประเทศจึงได้นำความดังกล่าวสอบถามพระภิกษุสงฆ์ไทย




เมื่อพระภิกษุสงฆ์คณะนั้นได้รับคำบอกเล่าและกลับมาสู่กรุงศรีอยุธยา จึงนำความขึ้นถวายสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม พระองค์จึงโปรดเกล้าฯ ให้มีท้องตราสั่งบรรดาหัวเมืองทั้งปวงให้เที่ยวตรวจตราค้นภูเขาต่างๆ ว่ามีรอยพระพุทธบาทอยู่ ณ ที่แห่งใด



ครั้งนั้น เจ้าเมืองสระบุรี สืบได้ความจากนายพรานบุญว่า ครั้งหนึ่งออกไปล่าเนื้อในป่าใกล้เชิงเขา ยิงถูกเนื้อตัวหนึ่งเจ็บลำบากหนีขึ้นไปบนไหล่เขา ซุกเข้าเชิงไม้หายไป พอบัดเดี๋ยวก็เห็นเนื้อตัวนั้น วิ่งออกจากเชิงไม้เป็นปกติอย่างเก่า นายพรานบุญนึกประหลาดใจ จึงตามขึ้นไปดูสถานที่บนไหล่เขาที่เนื้อหนีขึ้นไป ก็พบรอยปรากฏอยู่ในศิลา มีลักษณะเหมือนรูปรอยเท้าคน ขนาดยาวประมาณสักศอกเศษ และในรอยนั้นมีน้ำขัง นายพรานบุญเข้าใจว่าบาดแผลของเนื้อตัวที่ถูกตนยิงคงหายเพราะดื่มน้ำในรอยนั้น จึงวักน้ำลองเอามาทาตัว บรรดาโรคผิวหนังคือ กลากเกลื้อน ซึ่งเป็นเรื้อรังมาช้านานแล้วก็หายสิ้นไป


ชื่อสามัญ พระพุทธบาทสระบุรี

ที่ตั้ง   อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี

ประเภท พระอารามหลวงชั้นเอกพิเศษ ชนิดราชวรมหาวิหาร

นิกาย เถรวาท มหานิกาย

Maps       https://goo.gl/maps/eqG8vsvAFRKXtMhB8


สลากไทพลัส สลากออนไลน์ ใบละ 80บาท ถูกรางวัลรับเต็ม ไม่หักค่าทำเนียม

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม LINE : @STPLUS

หรือ คลิกที่รูปภาพด้านล่าง



วัดเทพนิมิตร:โดย สลากไทพลัส กองสลากไทพลัส

วันนี้ทาง สลากไทพลัส ของเราจะพามาชมวัดเทพนิมิตร อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา

วัดเทพนิมิตร เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายธรรมยุติกนิกาย ตั้งอยู่ในตำบลหน้าเมือง อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา มีเนื้อที่ทั้งหมด 25 ไร่เศษ




วัดเทพนิมิตรสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2411 โดยท่านพระครูศิริปัญญามุนี (อ่อน เทวนิโก) นามสกุล (ตงติ๊ด) จากวัดสัมพันธวงศารามวรวิหาร กรุงเทพมหานคร ได้ธุดงค์ผ่านมา ญาติโยมเกิดความศรัทธา อุบาสิกาอิ่ม อุบาสิกาขำ อุบาสิกาหนู อุบาสิกาแมว อุบาสิกาอิน อุบาสิกาง่วน และคนอื่น ๆ ได้ซื้อที่ดินจากอุบาสิกาเล็ก เป็นราคา 3 ชั่ง (250 บาท) ส่วนอุบาสิกาเล็ก เจ้าของที่ดินช่วยออก 20 บาท พร้อมยกเหย้าเรือนถวายเพื่อสร้างวัด ท่านอ่อน เทวนิโภ เมื่อได้รับถวายที่ดินได้ลงมือสร้างกุฎิสงฆ์เป็นที่พัก ปลูกเป็นหมู่กุฎิล้อมหอฉัน มีที่สวดมนต์อยู่ตรงกลางปลูกตามแนวริมคลองบ้านใหม่ ต่อมาสร้างศาลาการเปรียญ 1 หลัง กว้าง 5 วา ยาว 7 วา 2 ศอก มุงด้วยกระเบื้องมอญมีศาลาเล็กด้านหน้า 2 หลัง แต่ศาลาเล็ก กว้าง 3 วา 3 ศอก ยาว 7 วา ส่วนมากใช้ไม้สักมุงกระเบื้องมอญ สร้างแล้วเสร็จราว พ.ศ. 2421–2422 ตั้งชื่อวัดว่า "วัดเทพนิมิตร" มีพระท้วมปกครองวัด ชื่อของวัดมาจากกการก่อสร้างเสร็จโดยเร็วเปรียบประหนึ่งว่า มีเทวดามาช่วยสร้างให้ วัดได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. 2479




ปูชนียวัตถุที่สำคัญ คือ พระพุทธไสยาสน์ขนาดใหญ่ที่สุดในจังหวัดฉะเชิงเทรา ชาวบ้านเรียก หลวงพ่อโต เป็นพระประธานประจําอุโบสถ พระครูศิริปัญญามุนี(อ่อน เทวนิโภ) ได้มาจากวัดแห่งหนึ่งทางจังหวัดราชบุรี เนื้อทองสัมฤทธิ์ลงรักปิดทอง ปางสมาธิ สังฆาฏิ จีวร ลายดอกพิกุล และมีพระนอนกระจก สร้างโดยท่านพระครูศิริปัญญามุนี (อ่อน เทวนิโภ) ราว พ.ศ. 2419 วัดยังได้รับพระราชทานพระรูปหล่อรัชกาลที่ 8 รูปหนึ่ง เป็นทองแดงลักษณะกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 44 ซม. เมื่อ พ.ศ. 2480 ซึ่งปัจจุบันพระบรมรูปหล่อนี้ประดิษฐานไว้ด้านหน้าอุโบสถ




ที่ตั้ง ตำบลหน้าเมือง อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา

ประเภท วัดราษฎร์

นิกาย ธรรมยุติกนิกาย

Maps      https://goo.gl/maps/skjHprRYPuZ9jFkA9


สลากไทพลัส สลากออนไลน์ ใบละ 80บาท ถูกรางวัลรับเต็ม ไม่หักค่าทำเนียม

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม LINE : @STPLUS

หรือ คลิกที่รูปภาพด้านล่าง



เปิดประวัติวัดสระเกศ:โดย สลากไทพลัส กองสลากไทพลัส

สลากไทพลัส จะพามาชมประวัติวัดสระเกศ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร



วัดสระเกศ เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ริมคลองมหานาค เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย มีจุดเด่นคือ พระบรมบรรพต



ประวัติ

วัดสระเกศ เป็นวัดโบราณในสมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมชื่อวัดสะแก พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์และขุดคลองรอบพระอาราม แล้วพระราชทานนามใหม่ว่า วัดสระเกศ ซึ่งแปลว่า ชำระพระเกศา เนื่องจากเคยประทับทำพิธีพระกระยาสนาน เมื่อเสด็จกรีธาทัพกลับจากกัมพูชามาปราบจลาจลในกรุงธนบุรี และเสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติใน พ.ศ. 2325 มูลเหตุที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชพระราชทานเปลี่ยนชื่อวัดสะแก เป็นวัดสระเกศนี้ มีหลักฐานที่ควรอ้างถึงคือ พระราชวิจารณ์ในพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่องจดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวีข้อ 11 ว่า"รับสั่งพระโองการ ตรัสวัดสะแกเรียกวัดสระเกศแล้วบูรณปฏิสังขรณ์ เห็นควร ที่ต้นทางเสด็จพระนคร"ทรงพระราชวิจารณ์ไว้ว่า"ปฏิสังขรณ์วัดสะแกและเปลี่ยน ชื่อเป็น วัดสระเกศเอามากล่าวปนกับวัดโพธิ์เพราะเป็นต้นทางที่เสด็จเข้ามาพระนครมีคำ เล่า ๆ กันว่า เสด็จเข้าโขลนทวารสรงพระมุธาภิเษกตามประเพณีกลับจากทางไกลที่ วัดสะแก จึงเปลี่ยนนามว่า "วัดสระเกศ"




ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้บูรณะและสร้างพระบรมบรรพตหรือภูเขาทอง ทรงกำหนดให้เป็นพระปรางค์มีฐานย่อมุมไม้สิบสอง แต่สร้างไม่สำเร็จในรัชกาล เมื่อถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงให้เปลี่ยนแบบเป็นภูเขาก่อพระเจดีย์ไว้บนยอด เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ การก่อสร้างแล้วเสร็จในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้รับพระราชทานนามว่า "สุวรรณบรรพต" มีความสูง 77 เมตร บนยอดสุวรรณบรรพตเป็นที่ตั้งของพระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่ขุดค้นพบที่เมืองกบิลพัสดุ์ และพิสูจน์ได้ว่าเป็นของพระสมณโคดมซึ่งเป็นส่วนแบ่งของพระราชวงศ์ศากยราชเพราะมีคำจารึกอยู่ 




ชื่อสามัญ วัดสระเกศ

ที่ตั้ง  ริมคลองมหานาคและคลองรอบกรุง แขวงบ้านบาตร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร

ประเภท พระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรมหาวิหาร

นิกาย เถรวาท มหานิกาย

Maps       https://goo.gl/maps/56baQCyjEkV5Rokt9


สลากไทพลัส สลากออนไลน์ ใบละ 80บาท ถูกรางวัลรับเต็ม ไม่หักค่าทำเนียม

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม LINE : @STPLUS

หรือ คลิกที่รูปภาพด้านล่าง



วัดกษัตราธิราชวรวิหาร:โดย สลากไทพลัส กองสลากไทพลัส

สลากไทพลัส จะพามาชมวัดกษัตราธิราชวรวิหาร อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา




วัดกษัตราธิราชวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา อำเภอพระนครศรีอยุธยา นอกเกาะเมืองทางด้านทิศตะวันตก ตรงข้ามกับวังหลังหรือวังสวนหลวง เดิมชื่อ "วัดกษัตรา" หรือ "วัดกษัตราราม"




วัดกษัตราธิราชวรวิหาร เป็นวัดโบราณสร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี มีพระปรางค์เป็นประธานของวัด ในสมัยรัชกาลที่ 1 สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมพระอนุรักษ์เทเวศร์ กรมพระราชวังบวรสถานพิมุข และสมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์ (เกศ) ทรงปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ทั้งพระอารามวัดกษัตราเปลี่ยนชื่อเป็น "วัดกษัตราธิราช" ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว




สถานที่สำคัญภายในวัด คือ พระประธานในพระอุโบสถที่มีแท่นฐานผ้าทิพย์ปูนปั้น ฝีมือประณีตงดงาม ใบเสมาของพระอุโบสถเป็นใบเสมาคู่แกะสลักลวดลายวิจิตรบรรจง ปัจจุบันเป็นวัดที่มีพระสงฆ์จำพรรษา พระสงฆ์ที่เป็นที่นับถือ คือพระเกจิอาจารย์หลวงปู่เทียม




ชื่อสามัญ วัดกษัตราธิราช

ที่ตั้ง 15 หมู่ 7 ตำบลบ้านป้อม อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 

ประเภท พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร

นิกาย เถรวาท มหานิกาย

Maps       https://goo.gl/maps/25PpxCaao1SmfGUPA


สลากไทพลัส สลากออนไลน์ ใบละ 80บาท ถูกรางวัลรับเต็ม ไม่หักค่าทำเนียม

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม LINE : @STPLUS

หรือ คลิกที่รูปภาพด้านล่าง



อ่านบทความเพิ่มเติมของ สลากไทพลัส


ป้อมไพรีพินาศ

ที่เที่ยวโบราณ ป้อมไพรีพินาศ จังหวัดจันทบุรี ป้อมไพรีพินาศ ตั้งอยู่บนเขาแหลมสิงห์ หมู่ 1 ตำบลบางกะไชย อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี เป็นป้อ...