วันอาทิตย์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2566

ประวัติ วัดสว่างอารมณ์วรวิหาร หรือวัดจวนโดย สลากไทพลัส กองสลากไทพลัส

สลากไทพลัส พามาเปิดประวัติวัดสว่างอารมณ์วรวิหาร ตั้งอยู่ริมแม่น้ำยม ในเขตตำบลเมืองสวรรคโลก



พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดสว่างอารมณ์วรวิหาร หรือวัดจวน ตั้งอยู่ริมแม่น้ำยม ในเขตตำบลเมืองสวรรคโลก อำเภอสวรรคโลก เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองของชาวสวรรคโลกมาแต่ช้านานเคยเป็นวัดที่เจ้าเมืองและกรมการเมืองสวรรคโลกกระทำพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา ณ เบื้องพระพักตร์พระพุทธเรืองฤทธิ์ ในระหว่างปี พ.ศ. 2372-2475 เคยเป็นที่ตั้งโรงเรียนประจำอำเภอสวรรคโลก คือโรงเรียนสวรรควิทยา ปัจจุบันคือโรงเรียนสวรรค์อนันต์วิทยา  ได้รับการสถาปนาขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2338   นอกจากนี้ยังเป็นวัดที่สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และสมเด็จพระมาตุจฉาเจ้า เคยเสด็จกราบมนัสการพระพุทธเรืองฤทธิ์ ที่อุโบสถวัดสว่างอารมณ์ และมีพระราชศรัทธาพระราชทานทรัพย์เพื่อการบูรณะปฏิส้งขรณ์วัด ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2455 (ร.ศ.130) เมื่อคราวเสด็จประพาศหัวเมืองสวรรคโลก ดังมีหลักฐานปรากฏใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 29 ตอน ง 0 วันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2455

ที่ตั้ง

สถานที่ตั้ง ตั้งอยู่เลขที่ 163 ถนน จรดวิถีถ่อง ตำบลเมืองสวรรคโลก อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย พื้นที่วัดโดยทั่วไปเป็นที่ราบอยู่ติดริมแม่น้ำยม มีกำแพงล้อมรอบ มีอาณาเขตทิศเหนือติดกับถนนสาย 8 ทิศใต้ติดกับถนนราษฎร์ ทิศตะวันออกติดกับถนนจรดวิถีถ่อง และทิศตะวันตกติดกับถนนหน้าเมือง



ประวัติ

วัดสว่างอารมณ์วรวิหารหรือวัดจวน เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองของชาวสวรรคโลกมาแต่ช้านาน เพราะคำว่า “จวน” นั้นมาจากความหมายที่ว่า ที่ว่าการของผู้ปกครอง อันหมายถึงจวนของพระยาวิชิตภักดี (ชื่อเดิม “นาค”/พ.ศ. 2378-2385) ต้นสกุลวิชิตนาค[4] พระยาผู้ปกครองเมืองสวรรคโลกในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 และได้ทำการโยกย้ายเมืองสวรรคโลกมาที่นี่ จึงได้สร้างวัดเพื่อเป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองแก่เมืองสวรรคโลกโดยใช้ชื่อว่าวัดสว่างอารมณ์วรวิหาร และมอบถวายที่ดินถึง 42 ไร่ ให้เป็นที่ตั้งวัดและบริจาคจวนหรือเรือนพักให้เป็นเสนาสนะสงฆ์ด้วย ชาวบ้านจึงเรียกว่าวัดจวนที่ติดปากชาวบ้านเรียกกันจนถึงปัจจุบัน   วัดสว่างอารมณ์ ได้รับการจดทะเบียน และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อประมาณ พ.ศ. 2330 ต่อมาเมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2501 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร



ปูชนียวัตถุที่สำคัญ

พระพุทธเรืองฤทธิ์ เป็นพระพุทธรูปหล่อสำริดสมัยสุโขทัย หน้าตักกว้าง 2.30 เมตร สูง 2.80 เมตร มีพุทธลักษณะสวยงามมาก แต่เดิมประดิษฐานอยู่ที่อุโบสถวัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง (วัดพระปรางค์) เมืองสวรรคโลกเก่า (อำเภอศรีสัชนาลัยในปัจจุบัน) ต่อมาเมื่อพระยาวิชิตภักดี (นาค) สร้างวัดสว่างอารมณ์เสร็จแล้วได้อัญเชิญมาประดิษฐาน เป็นพระประธานภายในพระอุโบสถ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา 

พระอุโบสถ สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2330 เป็นอาคารทรงไทย กว้าง 8 เมตร ยาว 22 เมตร สูง 16 เมตร เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธเรืองฤทธิ์

พระวิหาร สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2330 เป็นอาคารทรงไทย กว้าง 7.50 เมตร ยาว 14 เมตร สูง 15 เมตร เป็นที่เก็บรักษาพระพุทธรูปปางต่าง ๆ ของวัด

พระมณฑป สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2424 โดยตระกูลคันธนาค เป็นอาคารทรงไทยจตุรมุข กว้างยาวด้านละ 11.50 เมตร มีกำแพงล้อมรอบ พร้อมซุ้มประตูทั้งสี่มุขเป็นที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลอง

สลากไทพลัส สลากออนไลน์ ใบละ 80บาท ถูกรางวัลรับเต็ม ไม่หักค่าทำเนียม

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม LINE : @STPLUS

หรือ คลิกที่รูปภาพด้านล่าง


อ่านบทความเพิ่มเติมของ สลากไทพลัส

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ป้อมไพรีพินาศ

ที่เที่ยวโบราณ ป้อมไพรีพินาศ จังหวัดจันทบุรี ป้อมไพรีพินาศ ตั้งอยู่บนเขาแหลมสิงห์ หมู่ 1 ตำบลบางกะไชย อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี เป็นป้อ...