สวัสดีวันนี้ สลากไทพลัส พามาชมประวัติความเป็นมาของหมู่บ้านบางระจัน
หมู่บ้านบางระจัน
หมู่บ้านบางระจัน เป็นหมู่บ้านแห่งหนึ่งซึ่งอยู่ในทางเหนือของกรุงศรีอยุธยา เมืองหลวงเก่าของสยาม รัฐช่วงก่อนหน้าของประเทศไทยในสมัยใหม่ ปัจจุบัน หมู่บ้านแห่งนี้ตั้งอยู่ในอำเภอค่ายบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี หมู่บ้านแห่งนี้เป็นที่จดจำในประวัติศาสตร์ไทยอันลือลั่นสำหรับการสู้รบต่อต้านการรุกรานของพม่าในสงครามพม่า-สยาม(พ.ศ. 2308 - พ.ศ. 2310) เป็นอันจุดจบของอาณาจักรอยุธยา
เบื้องหลัง
ปี พ.ศ. 2307 กองทัพพม่าภายใต้การนำของเนเมียวสีหบดียกเข้ามาในขอบคัณธสีมาด้านด่านระแหงแขวงเมืองตาก โดยกวาดต้อนผู้คนตัดกำลังของกรุงศรีอยุธยาทางหัวเมืองเหนือ ในขณะที่มังมหานรธา ตีเข้ามาทางหัวเมืองใต้ สกัดกำลังจากชายทะเลทิศใต้ โดยหมายใจบรรจบเข้าที่กรุงศรีอยุธยา
การตีค่ายบางระจัน
การรบครั้งที่ 1
ทหารพม่าที่เมืองวิเศษชัยชาญยกพลมาประมาณ 100 เศษ มาตามจับพันเรืองเมื่อถึงบ้านบางระจัน ก็หยุดอยู่ ณ ฝั่งลำธารบางระจัน นายแท่นจัดคนให้รักษาค่ายแล้วนำคน 200 ข้ามแม่น้ำไปรบกับพม่า ทหารพม่าไม่ทันรู้ตัวยิงปืนได้เพียงนัดเดียวชาวไทยซึ่งมีอาวุธสั้นทั้งนั้นก็กรูเข้าไล่ฟันแทงพม่าถึงขั้นตะลุมบอน พลทหารพม่าล้มตายหมดเหลือแต่ตัวนายสองคนขึ้นม้าหนีไปได้ ไปแจ้งความให้นายทัพพม่าที่ค่ายแขวงเมืองวิเศษชัยชาญทราบ และส่งข่าวให้แม่ทัพใหญ่คือเนเมียวสีหบดี ซึ่งตั้งค่ายใหญ่อยู่ ณ ปากน้ำพระประสบทราบด้วย
การรบครั้งที่ 2
เนเมียวสีหบดีจึงแต่งให้งาจุนหวุ่น คุมพล 500 มาตีค่ายบางระจัน นายแท่นก็ยกพลออกรบ ตีทัพพม่าแตกพ่ายล้มตายเป็นอันมาก แม่ทัพพม่าได้เกณฑ์ทหารเพิ่มเป็น 700 คน ให้เยกินหวุ่นคุมพลยกมาตีค่ายบางระจัน ทัพพม่าก็ถูกตีแตกพ่ายอีกเป็นครั้งที่ 2
การรบครั้งที่ 3
เมื่อกองทัพพม่าต้องแตกพ่ายหลายครั้ง เนเมียวสีหบดีเห็นว่าจะประมาทกำลังของชาวบ้านบางระจันต่อไปอีกไม่ได้ จึงเกณฑ์พลเพิ่มเป็น 900 คน ให้ติงจาโบ เป็นผู้คุมทัพครั้งนี้ชาวบ้านบางระจันมีชัยชนะพม่าอีกเช่นครั้งก่อนๆ
การรบครั้งที่ 4
การที่พม่าแพ้ไทยหลายครั้งเช่นนี้ ทำให้พม่าหยุดพักรบประมาณ 2-3 วัน แล้วเกณฑ์ทัพใหญ่เพื่อมาตีค่ายบางระจัน มีกำลังพลประมาณ1,000 คน ทหารม้า 60 สุรินจอข่องเป็นนายทัพ พม่ายกทัพมาตั้งที่บ้านห้วยไผ่ (ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอแสวงหา จังหวัดอ่างทอง) ฝ่ายค่ายบางระจันได้จัดเตรียมกันเป็นกระบวนทัพสู้พม่าคือ นายแท่นเป็นนายทัพคุมพล 200 พันเรืองเป็นปีกซ้ายคุมพล 200 ชาวไทยเหล่านี้มีปืนคาบศิลาบ้าง ปืนของพม่าและกระสุนดินดำของพม่า ซึ่งเก็บได้จากการรบครั้งก่อนๆ บ้าง นอกจากนั้นก็เป็นอาวุธตามแต่จะหาได้ ทัพไทยทั้งสามยกไปตั้งที่คลองสะตือสี่ต้น อยู่คนละฟากคลองกับพม่า ต่างฝ่ายต่างยิงตอบโต้กันฝ่ายไทยชำนาญภูมิประเทศกว่า ได้ขนไม้และหญ้ามาถมคลอง แล้วพากันรุกข้ามรบไล่พม่าถึงขั้นใช้อาวุธสั้น พม่าล้มตายเป็นอันมาก ตัวสุรินทรจอข่องนายทัพพม่า ขี่ม้ากั้นร่มระย้าเร่งให้ตีกองรบอยู่กลางพล ถูกพลทหารไทยวิ่งเข้าไปฟันตาย ณ ที่นั้น ส่วนนายแท่นแม่ทัพไทยก็ถูกปืนที่เข่าบาดเจ็บสาหัสต้องหามออกมาจากที่รบ ทัพไทยกับพม่ารบกันตั้งแต่เช้าจนเที่ยง ต่างฝ่ายต่างอิดโรย จึงถอยทัพจากกันอยู่คนละฟากคลอง พวกชาวบ้านบางระจันในค่ายก็นำอาหารออกมาเลี้ยงดูพวกทหาร ขณะพม่าต้องหุงหาอาหารและมัวจัดการศพแม่ทัพไม่ทันระวังตัว กองสอดแนมของไทยมาแจ้งข่าว พวกทหารไทยกินอาหารเสร็จแล้วก็ยกข้ามคลองเข้าโจมตีพม่าพร้อมกันทันที ทหารพม่าแตกพ่ายไม่เป็นกระบวน ที่ถูกอาวุธล้มตายประมาณสามส่วน และเสียเครื่องอาวุธยุทธภัณฑ์เป็นอันมาก ไทยไล่ติดตามจนใกล้ค่ำจึงยกกลับมายังค่าย กิตติศัพท์ความเก่งกล้าของชาวบ้านบางระจันแพร่หลายออกไปมีชาวบ้านอื่นๆ อพยพครอบครัวเข้ามาอาศัยอยู่ในค่ายบางระจันเพิ่มขึ้นอีกเป็นลำดับ
การรบครั้งที่ 5
พม่าเว้นระยะไม่ยกมาตีค่ายบางระจันอยู่ประมาณ 10-11 วัน ด้วยเกรงฝีมือชาวไทย หลังจากนั้นจึงแต่งทัพยกมาอีกครั้งหนึ่ง มีแยจออากาเป็นนายทัพ คุมทหารซึ่งเกณฑ์แบ่งมาจากทุกค่ายเป็นคนประมาณ 1,000 คนเศษ พร้อมด้วยม้าและอาวุธต่างๆแต่กองทัพพม่านี้ก็ปราชัยชาวบ้านบางระจันแตกพ่ายไป
การรบครั้งที่ 6
นายทัพพม่าครั้งที่ 6 นี้คือ จิกแก ปลัดเมืองทวาย คุมพล 100 เศษ ฝ่ายไทยมีชัยชนะอีกเช่นเคย
การรบครั้งที่ 7
เนเมียวสีหบดีได้แต่งกองทัพให้ยกมาตีค่ายบางระจันอีก ให้อากาปันคยีเป็นแม่ทัพคุมพล 1,000 เศษ อากาปันคยียกกองทัพไปตั้ง ณ บ้านขุนโลก ทางค่ายบางระจันดำเนินกลศึกคือ จัดให้ขุนสรรค์ซึ่งมีฝีมือแม่นปืน คุมพลทหารปืนคอยป้องกันกองทัพม้าของพม่า นายจันหนวดเขี้ยวเป็นแม่ทัพใหญ่คุมพล 1,000 เศษออกตีทัพพม่าและล้อมค่ายไว้ ทหารไทยใช้การรบแบบจู่โจม พม่ายังไม่ทันตั้งค่ายเสร็จก็ถูกโอบตีทางหลังค่าย ทหารพม่าถูกฆ่าตายเกือบหมดเหลือรอดตายเป็นส่วนน้อย แม่ทัพก็ตายในที่รบครั้งนี้ทำให้พม่าหยุดพักรบนานถึงครึ่งเดือน
การรบครั้งที่ 8
การที่พม่าส่งกองทัพมาปราบค่ายบางระจันถึง 7 ครั้ง แต่ต้องแตกพ่ายทุกครั้งนั้น ทำให้แม่ทัพใหญ่ของพม่าวิตกมาก เนื่องจากชาวบ้านบางระจันมีกำลังเข้มแข็งขึ้นทุกที และไม่มีใครอาสาเป็นนายทัพ ขณะนั้นมีชาวรามัญผู้หนึ่งเคยอยู่เมืองไทยมานาน รู้จักนิสัยคนไทยและภูมิประเทศดี ได้เข้าฝากตัวทำราชการอยู่กับพม่าจนได้รับตำแหน่งสุกี้ หรือพระนายกอง สุกี้เข้ารับอาสาจะขอไปตีค่ายบางระจัน เนเมียวสีหบดีจึงแต่งตั้งให้เป็นแม่ทัพคุมพล 2,000 พร้อมทั้งม้าและสรรพาวุธทั้งปวง
สุกี้ดำเนินการศึกอย่างชาญฉลาด เมื่อเวลาเดินทัพไม่ตั้งทัพกลางแปลงอย่างทัพอื่น ให้ตั้งค่ายรายไปตามทาง 3 ค่าย และรื้อค่ายหลังผ่อนไปสร้างข้างหน้าเป็นลำดับ ใช้เวลาถึงครึ่งเดือนจึงใกล้ค่ายบางระจัน สุกี้ใช้วิธีตั้งมั่นรบอยู่ในค่าย ด้วยรู้ว่าคนไทยเชี่ยวชาญการรบกลางแปลง พวกหัวหน้าค่ายบางระจันนำกำลังเข้าตีค่ายพม่าหลายครั้งไม่สำเร็จกลับทำให้ไทยเสียไพร่พลไปเป็นจำนวนมาก
สลากไทพลัส สลากออนไลน์ ใบละ 80บาท ถูกรางวัลรับเต็ม ไม่หักค่าทำเนียม
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม LINE : @STPLUS
หรือ คลิกที่รูปภาพด้านล่าง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น