วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

เปิดประวัติหลวงพ่อปาน โสนันโทโดย : สลากไทพลัส กองสลากไทพลัส

วันนี้ทาง สลากไทพลัส ของเราจะพามาเปิดประวัติ หลวงพ่อปาน โสนันโทหรือพระครูวิหารกิจจานุการ

หลวงพ่อปาน โสนันโท (พระครูวิหารกิจจานุการ)



หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2418 — 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2481 พระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่ง พระนครศรีอยุธยา ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดบางนมโครูปที่ 3 ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบางนมโคระหว่างปี พ.ศ. 2478 จนถึงปี พ.ศ. 2481 ท่านเป็นพระอริยสงฆ์ทรงอภิญญารูปหนึ่ง แม้ว่าจะมรณภาพไปนานแล้วก็ตาม ชื่อเสียงของท่าน ยิ่งเป็นที่รู้จัก ในบรรดานักสะสมพระเครื่องทั้งหลาย และการสร้างพระของท่านก็ไม่เหมือนกับวัดอื่น คือท่านมักจะสร้างเป็นรูปพระพุทธเจ้าอยู่เหนือสัตว์พาหนะอันมี ครุฑ หนุมาน เม่น ไก่ นก และปลา เป็นต้น พระครูวิหารกิจจานุการ หรือ หลวงพ่อปาน โสนันโท ท่านเกิดเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2418 ตรงกับรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ บ้านตำบลบางนมโค อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นบุตรของ นายสะอาด และ นางอิ่ม สุทธาวงศ์



ต่อมาในปี พ.ศ. 2439 ท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมา วัดบางนมโค โดยมีหลวงพ่อสุ่น วัดปลาหมอ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์จ้อย วัดบ้านแพน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์อุ่ม วัดสุธาโภชน์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาจากพระอุปัชฌาย์ว่า โสนันโท ต่อมาท่านได้ศึกษาและปฏิบัติธรรมอยู่กับหลวงพ่อสุ่นพอสมควรแล้ว จึงได้เดินทางไปศึกษาพระปริยัติธรรม ณ วัดสระเกศ กรุงเทพฯ และวัดเจ้าเจ็ดในพระนครศรีอยุธยาเรียนแพทย์แผนโบราณจากวัดสังเวชฯศึกษาเพิ่มเติมกับ



หลวงพ่อเนียม วัดน้อย และ พระอาจารย์โหน่ง อิณฑสุวัณโณ อดีตเจ้าอาวาสวัดคลองมะดันเรียนวิชาสร้างพระเครื่องดินจากชีปะขาว เรียนการปลุกเสกพระเครื่องและเป่ายันต์เกราะเพชรจากอาจารย์แจง สวรรคโลก ได้รับพระคาถาปัจเจกโพธิสัตว์มาจากครูผึ้ง อยุธยา หลังจากนั้น ท่านจึงได้มาอยู่ที่วัดบางนมโคและได้รับพระราชทานสัมณศักดิ์เป็น พระครูวิหารกิจจานุการ กิจวัตรของท่านก็คือหลังจากท่านฉันภัตตาหารเพลแล้ว ท่านก็จะมาสงเคราะห์ชาวบ้าน ตลอดทั้งวัน และการทำน้ำมนต์เพื่อรักษาคนไข้ รวมทั้งผู้ที่ถูกกระทำคุณไสยด้วย หลวงพ่อปาน โสนันโทได้ละสังขารไปเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2481 ตรงกับรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร รวมสิริอายุได้ 63 ปี บวชพระมาได้ 42 พรรษา เหลือแต่มรดกที่ล้ำค่า เช่น พระเครื่องดินเผา ผ้ายันต์เกราะเพชร ผ้ายันต์ชนิดต่าง ๆ และพระคาถาปัจเจกโพธิสัตว์ มอบให้แก่ศิษย์สืบไป ลูกศิษย์ของท่าน ที่สืบทอดวัดบางนมโคต่อจากท่านก็คือ หลวงพ่อเล็ก เกสโร เจ้าอาวาสรูปที่ 4 ของวัดบางนมโค

สลากไทพลัส สลากออนไลน์ ใบละ 80บาท ถูกรางวัลรับเต็ม ไม่หักค่าทำเนียม

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม LINE : @STPLUS

หรือ คลิกที่รูปภาพด้านล่าง




วันจันทร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

เปิดประวัติของหลวงปู่ผล อินทังกุโร หรือ"พระครูศีลทิวากร" อดีตเจ้าอาวาสวัดอินทารามโดย สลากไทพลัส กองสลากไทพลัส

สลากไทพลัส พามาเปิดประวัติ หลวงปู่ผล อินทังกุโร จากแหล่งขอมูลที่หน้าเชื่อถือได้

 ประวัติหลวงปู่ผล อินทังกุโร

"หลวงปู่ผล อินทังกุโร" หรือ "พระครูศีลทิวากร" อดีตเจ้าอาวาสวัดอินทาราม อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา พระเกจิอาจารย์ชื่อดังเมืองกรุงเก่า เกิดในสกุลชมบุหงา เมื่อวันอาทิตย์ที่ 21 พ.ค.2464 ที่ ต.วัดตะกู อ.บางบาล จ.พระนคร ศรีอยุธยา อายุครบ 20 ปี เข้าพิธีอุปสมบท เมื่อวันที่ 5 ก.ค.2484 ที่วัดพนัญเชิง จ.พระนคร ศรีอยุธยา โดยมีพระเขมเทพาจารย์ วัดหัวเวียง เป็นพระอุปัชฌาย์, พระครูเมตตาธิคุณ (เกลี้ยง) วัดตะกู เป็นพระอนุสาวนาจารย์ และพระอธิการคง สุวัณโชโต วัดอินทาราม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรม ด้วยความจำดีเลิศและมุ่งมั่นจริงจัง ทำให้สามารถสอบได้นักธรรมชั้นตรี-โท-เอก ตามลำดับ ใช้เวลาเพียงแค่ 3 ปี 




นอกจากศึกษาด้านพระปริยัติธรรมท่านยังได้ให้ความสนใจด้านวิทยาคม ศึกษาวิชากับหลวงพ่อคง วัดอินทาราม พระอุปัชฌาย์ ด้วยการศึกษาเล่าเรียนด้านวิปัสสนากัมมัฏฐาน วิทยาคมจนแตกฉาน อีกทั้งหลวงพ่อคงได้ทำพิธีครอบครูให้ เพื่อสืบสานสรรพวิชาต่างๆ ให้จนหมดสิ้น สำหรับหลวงพ่อคงนั้นท่านเป็นพระเกจิคณาจารย์ชื่อดังยุคเก่า ร่วมสมัยกับหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค, หลวงพ่อขัน วัดนกกระจาบ และหลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก กล่าวได้ว่าหลวงพ่อคงเชี่ยวชาญวิทยาคมเป็นอย่างยิ่ง ท่านมีชื่อเสียงด้านการรักษาโรคภัยไข้เจ็บ ถอนคุณไสย แม้กระทั่งหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค ยังเคยกล่าวยกย่องหลวงพ่อคง ให้ศิษย์ใกล้ชิดฟังว่า "หลวงพ่อคงมีวิทยาคมเหนือกว่าท่าน" ภายหลังหลวงปู่ผลได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดอินทาราม ท่านได้บูรณปฏิสังขรณ์สภาพของวัดที่เก่าแก่แต่เดิมให้มั่นคงถาวรทั้งหมด ดังที่ได้เห็นทุกวัน ซึ่งเกิดจากบุญญาบารมีของหลวงปู่ผลอย่างแท้จริง ซึ่งมีผลงานปรากฏ คือ การปรับปรุงกุฏิ ปฏิสังขรณ์ศาลาการเปรียญ และสร้างศาลาเรียงพร้อมทั้งเปลี่ยนกระเบื้องศาลาทั้งหมด 




ทำห้องสุขาชาย-หญิง พร้อมห้องน้ำ สร้างถังน้ำคอนกรีตใหญ่และศาลา สร้างสะพานคอนกรีตจากกุฏิไปยังศาลาการเปรียญ เปลี่ยนกระเบื้องหลังคาพระอุโบสถ จากกระเบื้องเคลือบมาเป็นกระเบื้องลายเทพนม สร้างภาพเขียนฝาผนังในพระอุโบสถ เป็นภาพพุทธประวัติ การเข้ากราบไหว้ขอพรหลวงปู่ผลไม่มีใครคอยกีดกัน ทุกคนมีโอกาสเหมือนกันหมด และจะได้รับแจกของดีจากมือท่านโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นพระเครื่องหรือเครื่องรางของขลัง ท่านมีปริศนาธรรม คำสอนอันทรงคุณค่า 




รวมทั้งการสร้างและเสกวัตถุมงคลจนเลื่องชื่อ เป็นที่ต้องการของนักสะสมและลูกศิษย์ลูกหา โดยเฉพาะพระบูชามหาเศรษฐีนวโกฏิ ฐานปูปลา การสร้างวัตถุมงคลหลวงปู่ผล เมตตาสร้างวัตถุมงคลในรูปแบบต่างๆ มอบให้แก่ศรัทธาสาธุชน จำนวนการสร้างแต่ละรุ่นมีจำนวนจำกัดไม่มากมายนัก ด้วยความมีชื่อเสียงในฐานะพระเกจิอาจารย์ผู้มีวิทยาคมขลังแห่งทุ่งบางบาล ซึ่งปรากฏว่าวัตถุมงคลของท่านได้รับความสนใจจากนักสะสมนิยมพระเครื่องวัตถุมงคล อาทิ พระเศรษฐีนวโกฏิ, พระแสงจันทร์ทันจิต พระแสงอาทิตย์ทันใจ ตะกรุดปล้องไผ่ ราหูกะลาฝังตะกรุด ฯลฯ ที่สร้างชื่อเสียงให้กับท่านเป็นอย่างมาก หลวงปู่ผลมักได้รับนิมนต์ไปร่วมประกอบพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลในต่างจังหวัด กรุงเทพฯ ภารกิจของท่านมีมากมายในรอบสัปดาห์ รอบเดือน ท่านไม่ค่อยได้อยู่ประจำวัด ต้องเดินทางไปสถานที่ต่างๆ ตามที่ได้รับนิมนต์ ยกเว้นวันพระ ท่านจะอยู่ประจำวัดไม่ไปไหน ท่านจะอยู่คอยต้อนรับญาติโยมที่มาทำบุญที่วัดเป็นประจำ

อ่านบทความเพิ่มเติมของ สลากไทพลัส


บทความชีวประวัติของ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)โดย สลากไทพลัส กองสลากไทพลัส

สวัสดีวีนนี้ สลากไทพลัส พามารู้จักความเป็นมาของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) 

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)

สมเด็จพระพุฒาจารย์ เกิดในสมัยรัชกาลที่ 1 (หลังสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ได้แล้ว 7 ปี) ณ บ้านไก่จ้น (ท่าหลวง) อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 5 ขึ้น 12 ค่ำ ปีวอก จุลศักราช 1150 เวลาพระบิณฑบาต (ตรงกับวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2331) ที่บ้านท่าหลวง อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มารดาบิดาของท่านเป็นใครไม่ทราบแน่ชัด มีผู้กล่าวประวัติของท่านในส่วนนี้แตกต่างกันไปหลายสำนวน เช่น ฉบับของพระยาทิพโกษา กล่าวว่า มารดาของท่านชื่อนางงุด บุตรของนายผลกับนางลา ชาวนาเมืองกำแพงเพชร1 หรือฉบับของพระครูกัลยาณานุกูล (เฮง อิฏฐาจาโร) กล่าวว่า มารดาของท่านชื่อเกตุ คนท่าอิฐ อำเภอบางโพ อย่างไรก็ดีมารดาของท่านนั้นเป็นชาวเมืองเหนือ (คำเรียกในสมัยอยุธยา) 2 เพราะทุกแหล่งอ้างอิงกล่าวตรงกันว่ามารดาของท่านเป็นชาวเมืองเหนือแต่ได้ลงมาทำมาหากินแถบภาคกลางในช่วงหลัง3 สำหรับบิดาของท่านนั้น สำนวนของพระยาทิพโกษา กล่าวว่าท่านเป็นโอรสนอกเศวตฉัตรของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช 




ครั้งทรงพระยศเป็น เจ้าพระยาจักรี ส่วนฉบับของพระครูกัลยาณานุกูล และฉบับของตรียัมปวายกล่าวว่าท่านเป็นพระโอรสของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และแม้ในสำนวนของตรียัมปวายจะมีข้อสันนิษฐานเพื่อยืนยันหลายข้อ แต่อย่างไรก็ตาม ประวัติทั้งสองสำนวนกล่าวตรงกันเพียงว่า ข้อสันนิษฐานว่าด้วยบิดาของท่านนั้นเป็นเพียงเรื่องเล่าซึ่งชาวบ้านในสมัยนั้นกล่าวและเชื่อกันโดยทั่วไป เมื่อถึงวัยพอสมควรแล้ว ได้บรรพชาเป็นสามเณรในพระพุทธศาสนา เมื่อ พ.ศ. 2343 ต่อมาปรากฏว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงโปรดและเมตตาสามเณรโตเป็นอย่างยิ่ง 




ครั้นอายุครบอุปสมบทปี พ.ศ. 2350 จีงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อุปสมบทเป็นนาคหลวงที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม มีสมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (สุก ญาณสังวร) เป็นพระอุปัชฌาย์ มีฉายานามในพุทธศาสนาว่า "พฺรหฺมรํสี" ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้โปรดเกล้าฯ ให้พระภิกษุโตรับไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ ครั้นถึงรัชกาลที่ 3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรงสถาปนาสมณศักดิ์เพื่อยกย่องในกิตติคุณและเกียรติคุณของพระภิกษุโต แต่พระภิกษุโตไม่ยอมรับ ทั้งนี้เป็นเพราะว่าท่านมีอุปนิสัยไม่ปรารถนายศศักดิ์หรือลาภสักการะใดๆ ทั้งสิ้น อนึ่ง แม้พระภิกษุโตได้ศึกษาพระธรรมวินัยแตกฉาน แต่ด้วยอุปนิสัยดังกล่าวข้างต้น ท่านจึงไม่ยอมเข้าแปลหนังสือเพื่อเป็นพระภิกษุชั้นเปรียญเช่นกัน ต่อมากล่าวกันว่า พระภิกษุโตได้ออกธุดงค์ไปตามสถานที่ต่างๆ และได้สร้างปูชนียสถานในที่ต่างๆ กัน เช่น สร้างพระพุทธไสยาศน์ไว้ที่วัดสตือ ตำบลท่าหลวง อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สร้างพระพุทธรูปหลวงพ่อโต วัดไชโย จังหวัดอ่างทอง เป็นต้น




ซึ่งปูชนียสถานทุกแห่งที่ท่านสร้างจะมีขนาดใหญ่โตสมกับชื่อของพระภิกษุโตอยู่เสมอ การจะสร้างปูชนียสถานขนาดใหญ่เช่นนี้ล้วนแต่ต้องใช้ทุนทรัพย์และแรงงานจำนวนมากในการก่อสร้างจึงจะทำได้สำเร็จ สิ่งเหล่านี้จึงเป็นเครื่องหมายแสดงถึงความศรัทธาและบารมีของพระภิกษุโต ซึ่งเป็นที่เคารพเลื่อมใสของพุทธศาสนิกชนในย่านที่ท่านได้ธุดงค์ผ่านไปอย่างชัดเจน นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงโปรดปรานพระภิกษุโตเป็นอย่างยิ่ง ในปี พ.ศ. 2395 พระองค์จึงได้พระราชทานสมณศักดิ์ถวายพระภิกษุโตเป็นครั้งแรก โดยมีสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่ราชทินนาม "พระธรรมกิติ" และดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม ขณะนั้นท่านอายุ 65 ปี โดยปกติแล้วพระภิกษุโตมักพยายามหลีกเลี่ยงการรับพระราชทานสมณศักดิ์ แต่ด้วยเหตุผลบางประการ ทำให้ท่านต้องยอมรับพระราชทานสมณศักดิ์ในที่สุด อีก 2 ปีต่อมา (พ.ศ. 2397) ท่านจึงได้รับการเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นผู้ใหญ่ ในราชทินนาม "พระเทพกวี" หลังจากนั้นอีก 10 ปี (พ.ศ. 2407) จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาสมณศักดิ์ขึ้นสมเด็จพระราชาคณะชั้นสุพรรณบัฏ ในราชทินนาม "สมเด็จพระพุฒาจารย์" มีนามจารึกตามสุพรรณบัฏว่า " สมเด็จพระพุฒาจารย์ เอนกปรีชา วิสุทธศีลจรรยาสมบัติ นิพัทธุตคุณ สิริสุนทร พรตจาริก อรัญญิกคนฤศร สมณนิกรมหาปริณายก ตรีปิฎกโกศล วิมลศีลขันธ์ ณ วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร พระอารามหลวงฯ" สมณศักดิ์ดังกล่าวนี้นับเป็นสมณศักดิ์ชั้นสูงสุดและเป็นชั้นสุดท้ายที่ท่านได้รับตราบจนกระทั่งถึงวันมรณภาพ คนทั่วไปนิยมเรียกท่านว่า "สมเด็จโต" หรือ "สมเด็จวัดระฆัง" ส่วนคนในยุคร่วมสมัยกับท่านเรียกท่านว่า "ขรัวโต" ราวปี พ.ศ. 2410 สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ได้มาเป็นประธานก่อสร้างปูชนียวัตถุครั้งสุดท้ายที่สำคัญของท่าน คือ พระพุทธรูปหลวงพ่อโต (พระศรีอริยเมตไตรย) ที่วัดอินทรวิหาร (ในสมัยนั้นเรียกว่า วัดบางขุนพรหมใน) ทว่าการก่อสร้างก็ยังไม่ทันสำเร็จ โดยขณะนั้นก่อองค์พระได้ถึงเพียงระดับพระนาภี (สะดือ) สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ก็ได้มรณภาพบนศาลาเก่าวัดบางขุนพรหมใน ณ วันเสาร์ แรม 2 ค่ำ เดือน 8 ปีวอก ตรงกับวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2415 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สิริรวมอายุได้ 84 ปี อยู่ในสมณเพศ 64 พรรษา เป็นเจ้าอาวาสครองวัดระฆังโฆสิตารามได้ 20 ปี สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) เป็นพระเกจิเถราจารย์ที่เป็นที่เคารพนับถือนอกจากด้านคาถาอาคมแล้ว ท่านยังได้ดำรงตนเป็นผู้สมถะ มักน้อยสันโดษ ไม่ปรารถนาลาภยศ การแสดงออกของท่านตามบันทึกหลักฐานในสมัยหลัง มักบันทึกถึงความเป็นพระเถระผู้มีเมตตา ดำรงศีลาจารวัตรเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของคนทั่วไป อย่างไรก็ตาม เอกสารที่บันทึกประวัติของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ไว้เป็นหมวดหมู่ชั้นเก่าสุด คือเอกสารฉบับของมหาอำมาตย์ตรีพระยาทิพยโกษา (สอน โลหนันท์) ซึ่งเป็นฉบับที่รวบรวมโดย ม.ล.พระมหาสว่าง เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา ที่รวบรวมขึ้นในปี พ.ศ. 2473 ไม่ได้บันทึกคำสอนของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ไว้เป็นหมวดหมู่ เพียงแต่กล่าวถึงเหตุการณ์ต่าง ๆ ในช่วงชีวิตของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ต่างกรรมต่างวาระกัน ตามที่ผู้รวบรวมได้บันทึกมาจากปากคำผู้มีชีวิตร่วมสมัยกับสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) เท่านั้น อย่างไรก็ดี ในปัจจุบันได้ปรากฏมีคำสอนต่าง ๆ ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นคำสอนของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ที่เป็นที่นิยมนับถือกันทั่วไป โดยไม่มีการอ้างอิงที่มาที่แน่ชัด เช่น "บุญเราไม่เคยสร้าง..ใครที่ไหนจะมาช่วยเจ้า .." "ลูกเอ๋ย ก่อนที่จะเข้าไปขอบารมีหลวงพ่อองค์ใด เจ้าจะต้องมีทุนของตัวเอง คือบารมีของตนลงทุนไปก่อน เมื่อบารมีของเจ้าไม่พอจึงค่อยขอยืมบารมีคนอื่นมาช่วย มิฉะนั้นเจ้าจะเอาตัวไม่รอด เพราะหนี้สินในบุญบารมีที่ไปเที่ยวขอยืมมาจนพ้นตัว..เมื่อทำบุญทำกุศลได้บารมีมา ก็ต้องเอาไปผ่อนใช้หนี้เขาจนหมดไม่มีอะไรเหลือติดตัว..แล้วเจ้าจะมีอะไรไว้ในภพหน้า..หมั่นสร้างบารมีไว้..แล้วฟ้าดินจะช่วยเอง..จงจำไว้นะ.. เมื่อยังไม่ถึงเวลาเทพเจ้าองค์ใดจะคิดช่วยเจ้าไม่ได้.. ครั้นเมื่อถึงเวลา.. ทั่วฟ้าจบดินก็ต้านเจ้าไม่อยู่..จงอย่าไปเร่งเทวดาฟ้าดิน เมื่อบุญเราไม่เคยสร้างไว้เลยจะมีใครที่ไหนมาช่วยเจ้า"

บทความชีวประวัติของ "หลวงปู่ทิม อิสริโก" โดย สลากไทพลัส กองสลากไทพลัส

สวัสดีวันนี้ สลากไทพลัส ของเราพามาเปิดประวัติ หลวงปู่ทิม อิสริโก จากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้

หลวงปู่ทิม อิสริโก

หลวงปู่ทิม นามเดิมชื่อทิม นามสกุลงามศรี เกิดที่บ้านหัวทุ่งตาบุตร หมู่ที่ ๒ ตำบลละหารไร่ อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง มีพี่น้องร่วมท้องเดียวกันเป็นชายทั้ง ๓ คน ท่านเป็นคนที่ ๒ เกิดเมื่อ ปีมะแม วันศุกร์ เดือน ๗ ตรงกับวันที่ ๑๖ เดือน มิถุนายน ๒๔๒๒ เป็นบุตรของนายแจ้ นางอินทร์ งามศรี หลวงปู่ทิมเป็นหลานของหลวงปู่สังข์ โดยมารดาของท่านเป็นน้องสาวหลวงปู่สังข์ หลวงปู่สังข์นี้เป็นพระปรมาจารย์ผู้เรืองวิชาอาคมอย่างยิ่งในสมัยนั้น หลวงปู่สังข์องค์นี้เป็นผู้ก่อตั้งวัดละหารไร่ขึ้น เป็นพระที่เรืองวิทยาอาคมมาก น้ำลายที่ท่านถมถ้าถูกพื้น ๆ จะแตกเมื่อทางจังหวัดทราบถึงความเก่งกล้าในวิทยาอาคมของท่าน จึงนิมนต์มาอยู่ที่วัดเก๋งจีน และได้สร้างพระเนื้อตะกั่ววัดเก๋งจีนขึ้น ก่อนที่จะไปอยู่วัดเก๋งจีนนั้น หลวงปู่สังข์ได้ทิ้งตำราและวิทยาการต่าง ๆ ไว้ที่วัดละหารไร่ทั้งหมด เพราะท่านไม่หวงแหนในวิชาของท่านแต่อย่างใด ท่านกล่าวว่า "ใครมีปัญญาก็ค้นคว้าเอาเอง" บรรดาตำราและวิทยาการต่าง ๆ หลวงปู่สังข์ได้ทิ้งไว้ที่วัดละหารไร่นี้เองที่หลวงปู่ทิมก็ได้ใช้ศึกษาในเวลาต่อมา เมื่อท่านพระครูภาวนาภิรัติหรือหลวงพ่อทิม มีอายุเจริญวัยได้ ๑๗ ปี นายแจ้ผู้เป็นบิดาได้ส่งเสียและนำตัวของหลวงปู่ทิมไปฝากไว้กับท่านพ่อสิงห์ ที่วัดได้เล่าเรียนหนังสือกับท่านพ่อสิงห์พระอาจารย์เป็นเวลาประมาณ ๑ ปี และมีความสามารถเรียนรู้จนเข้าใจเขียนได้อ่านออกดีแล้ว นายแจ้ผู้เป็นบิดาของท่านจึงได้ไปกราบนมัสการท่านพ่อสิงห์ขอตัวหลวงปู่ทิมให้กลับมาอยู่ที่บ้านเช่นเดิมเพราะไม่มีคนช่วย หลวงปู่ทิมจึงได้ลาสิกขาออกมาช่วยพ่อแม่ทำงานและหาเลี้ยงพ่อแม่ตามวิสัยลูกที่ดี ผู้มีความกตัญญูกตเวที รู้จักปฏิบัติพ่อแม่มาด้วยดีตลอด ในวัยหนุ่มของหลวงปู่ทิมนั้น ท่านเป็นคนคะนองเอาการอยู่ โดยท่านจะเป็นคนไปหาอาหารมาเลี้ยงครอบครัวด้วยการยิงนกตกปลาและออกเที่ยวล่าสัตว์ใหญ่ เพื่อนำไปขาย ซึ่งท่านทำไปด้วยความคึกคะนองประการหนึ่ง และอีกประการหนึ่งคือเพื่อหาเงินมาเลี้ยงครอบครัวของท่าน




จนเมื่อท่านอายุได้ ๑๙ ปี ท่านจึงถูกคัดเลือกเป็นทหารและได้เข้าประจำการที่กรุงเทพฯ เป็นเวลาถึง ๔ ปีเศษ จึงได้รับการปลดปล่อยกลับมาอยู่ที่บ้านตามเดิม และเมื่อกลับมาอยู่บ้านได้ไม่นาน บิดาของท่านจึงได้จัดการอุปสมบทให้เป็นพระภิกษุ หลวงปู่ทิมอุปสมบท เมื่อวันที่ ๗ เดือนมิถุนายน ๒๔๔๙ ตรงกับวันเสาร์ ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๖ ปีมะแม โดยมีพระคุณเจ้าท่านพระครูขาว วัดทับมาเป็นพระอุปัชฌายะ พระอาจารย์เกตุ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์สิงห์ (พระอาจารย์ของท่าน ในขณะที่ท่านได้ศึกษาครั้งแรก) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ณ พัทธสีมา วัดละหารไร่ ได้ฉายาว่า อิสริโก เมื่อท่านบวชเป็นพระภิกษุแล้วท่านก็มาอยู่ที่วัดกับพระอาจารย์สิงห์ได้ ๑ พรรษา ขณะที่ท่านอยู่กับพระอาจารย์สิงห์นั้น ท่านได้ค้นคว้าและศึกษาตำราของหลวงปู่สังข์ทีท่านได้ทิ้งไว้ให้ตามตู้พระไตรปิฎกอย่างตั้งใจ เพราะท่านมีความสนใจในทางปฏิบัติเป็นอย่างยิ่ง หลวงปู่ทิม อิสริโก นับว่าเป็นพระอาจารย์ที่แปลกกว่าพระอื่น ๆ ในรุ่นเดียวกัน คือ ท่านต้องการฝึกฝนตนเองด้วยการออกไปหาประสบการณ์ด้วยการออกเดินธุดงค์ ซึ่งพระในรุ่นเดียวกันไม่มีใครคิดที่จะออกไปแสวงหาความวิเวกตามป่าเขาลำเนาไพรอย่างท่าน เพราะต้องการศึกษาในทางพระปริยัติธรรมเท่านั้น เมื่ออยู่ครบพรรษาแล้วท่านก็ได้ขออนุญาตและมนัสการกราบลาอาจารย์ออกธุดงค์ไปหลายจังหวัดเป็นเวลา 3 ปี จากนั้นท่านก็มาพิจารณาว่า ท่านก็ได้ใช้เวลานานพอสมควรแล้ว 




จึงควรเดินทางกลับมาพักเสียที เมื่อคิดดังนั้น ท่านก็เดินทางกลับมาจังหวัดชลบุรีและท่านก็ได้จำพรรษาอยู่ที่วัดนามะตูมเป็นเวลา 2 พรรษา ระหว่างนั้นท่านก็ได้เที่ยวร่ำเรียนวิชากับเกจิอาจารย์หลายอาจารย์ด้วยกันรวมทั้งฆราวาส โยมเริ่ม โยมรอด และโยมสาย นอกจากนั้นยังศึกษาตำราซึ่งตกทอดมาจากหลวงปู่สังข์เฒ่า เจ้าอาวาสวัดเก๋งจีนซึ่งเป็นลุงแท้ๆ ของหลวงปู่ทิม เป็นเวลา 2 ปี เศษ และต่อมาท่านจึงกลับมาอยู่ที่วัดละหารไร่หรือ (วัดไร่วารี) ตามเดิมและท่านได้เรียนทางวิปัสสนากรรมฐานกับอาจารย์และอื่น ๆ อีกหลายอาจารย์ด้วยกัน วัดละหารไร่ เดิมชื่อวัดไร่วารี เพราะมีน้ำอยู่ล้อมรอบ และเป็นที่กันดารมาก ถ้าใครได้หลงเข้าไป เป็นได้หลงป่าไปเลย ซึ่งแม้แต่หลวงปู่เองท่านยังต้องบุกป่าฝ่าดงเข้าไปอยู่ ในสมัยนั้นทางรถก็ยังไม่มี จะมีก็แต่ทางเดินแคบ ๆ เท่านั้น หลวงปู่ท่านจึงต้องพัฒนากันใหญ่ ด้วยความร่วมมือจากญาติโยมในท้องถิ่นนั้น คือได้มีชาวบ้านศรัทธาท่านมากถึงกับบวชเพื่อติดตามปรนนิบัติท่านถึง ๓ คน คือ นายทัต นายเปี่ยม และ นายแหยม ซึ่งทั้ง ๓ คนนี้มีความสนใจในวิชาทางศาสนาเป็นอย่างมาก เมื่อหลวงปู่ทิมมาอยู่วัดละหารไร่แล้ว ต่อมาคณะสงฆ์ได้มอบหมายให้ท่านเป็น พระอธิการทิม อิสริโก เจ้าอาวาสวัดละหารไร่ ท่านได้ก่อสร้างเสนาสนะ บูรณะซ่อมแซมกุฏิ และอื่น ๆ อีกหลายอย่างพร้อมด้วยญาติโยมทั้งหลายก็มีความเลื่อมใสต่อท่านมาก เพราะท่านเป็นพระที่เคร่งในธรรมะและวินัยเป็นที่น่าเคารพมาก ต่อมาท่านจึงชักชวนบ้านและญาติโยมทั้งหลายได้ก่อสร้างพระอุโบสถขึ้น 1 หลัง ประมาณ 1 ปีเศษ ก็แล้วเสร็จและผูกพัทธสีมาเรียบร้อยในระยะเวลาเพียง 1 ปีเศษเท่านั้น และในปี พ.ศ. ๒๔๘๓ หลวงพ่อทิมได้จัดให้มีการเปิดโรงเรียนขึ้นอย่างเป็นทางการ เพื่อสอนกุลบุตรกุลธิดาของประชาชน โดยใช้ศาลาการเปรียญเป็นสถานที่สอน ต่อมาชาวบ้านเห็นดีด้วยกับการศึกษาจึงร่วมมือกับหลวงพ่อสร้างอาคารเรียนขึ้น ๑ หลัง ตามแบบ ป.๑ ข. โดยใช้เวลาการก่อสร้างเพียง 8 เดือนก็แล้วเสร็จเรียบร้อย 




ซึ่งปัจจุบันอาคารหลังนี้ชำรุดทรุดโทรมและรื้อถอนไปไม่ได้ใช้แล้ว ต่อมาท่านก็ชักชวนชาวบ้านช่วยกันพัฒนาก่อสร้างสะพานข้ามคลองอีกหลายแห่ง สร้างหอฉันและศาลาการเปรียญสำเร็จ ด้วยเงินกว่า ๔ ล้านกว่า งานของท่านก็ได้บรรลุถึงความสำเร็จโดยเรียบร้อยทุกประการ ด้วยผลงานดังกล่าว ในปี ๒๔๗๘ ท่านก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระครูชั้นประทวน ต่อมาในปี ๒๔๙๗ ทางคณะสงฆ์ได้แต่งตั้งให้ท่านเป็นพระครูชั้นสัญญาบัตร และในปี ๒๕๐๗ ท่านได้รับสมณศักดิ์เป็น พระครูภาวนาภิรัติ ในครั้งแรกท่านไม่ใยดีกับยศตำแหน่งที่ทางการคณะสงฆ์ได้มอบให้ และถูกทางคณะสงฆ์เร่งรัดให้ท่านเดินทางไปรับพัดยศที่จังหวัด ซึ่งท่านก็ไม่ไปรับ จนกระทั่งชาวบ้านรู้ข่าว จำต้องพร้อมในกันจัดขบวนแห่ไปรับพัดยศและตราตั้งมาถวายให้กับท่านถึงวัด ท่านจึงต้องจำยอมรับอย่างเสียมิได้ โดยมีนายสาย แก้วสว่าง ในฐานะเป็นไวยาวัจกรและศิษย์ผู้ใกล้ชิด เป็นผู้นำคณะชาวบ้านไปรับพัดยศมาถวาย หลวงปู่เป็นพระที่น่าเคารพและบูชาเป็นอย่างยิ่ง ท่านเป็นพระที่ยึดมั่นในพระธรรมและวินัยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเป็นพระมักน้อย สันโดษ ไม่ยินดียินร้ายในรูป เสียง กลิ่น รส ท่านฉันเช้าประมาณ ๗ โมงเช้าและน้ำชาก็เวลา ๔ โมงเย็น ถ้าเลยเวลาหลวงปู่ไม่ยอมฉันแม้แต่น้ำชา ท่านฉันข้าวมื้อเดียวมาประมาณ ๔๗ ปี และ เนื้อ หมู เป็ด ไก่ หรืออาหารคาวทุกชนิด ท่านไม่ยอมฉัน มา ๔๗ ปีแล้ว แม้แต่น้ำปลาก็ไม่ฉัน อาหารที่ท่านฉันเป็น ผัก ถั่ว หรือเส้นแกงร้อน น้ำพริกกับเกลือป่นอย่างนี้อยู่เป็นนิจตลอดมา

อ่านบทความเพิ่มเติมของ สลากไทพลัส

เปิดประวัติ หลวงพ่อแม้น อาจารสัมปันโนเกจิอาจารย์ เจ้าอาวาสวัดหน้าต่างนอกโดย สลากไทพลัส กองสลากไทพลัส

วันนี้ สลากไทพลัส พามาเปิดประวัติ หลวงพ่อแม้น อาจารสัมปันโนเกจิอาจารย์ เจ้าอาวาสวัดหน้าต่างนอก จากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ข้อมูลนี้เป็นความเชื่อส่วนบุคคลโปรดใช้วิจารณญาณในการเสพข้อมูล


หลวงพ่อแม้น อาจารสัมปันโน

พระครูสมบูรณ์จริยธรรม หรือ “หลวงพ่อแม้น อาจารสมปนโน” เจ้าอาวาสวัดหน้าต่างนอก 

ต.หน้าไม้ อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา ยอดพระเกจิ “เทพเจ้าแห่งความเมตตา” ของเมืองกรุงเก่า

ศิษย์เอกทายาทพุทธาคม หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก หนึ่งในยอดพระเกจิผู้โด่งดังสมัยสงครามอินโดจีน

 “จาด จง คง อี๋” ผู้สร้างวัตถุมงคลแจกเหล่าทหารกล้า จนได้รับสมญา ‘ทหารผีอินโดจีน’ “แม้น คานอ่อน”

เป็นชื่อและสกุลเดิมของหลวงพ่อแม้น เป็นชาว อ.สามโคก จ.ปทุมธานี โดยกำเนิด เกิดเมื่อวันที่ ๑๓

มีนาคม พ.ศ.๒๔๘๐ ชอบการทำบุญตักบาตรมาแต่เยาว์วัย ในวัยหนุ่มเมื่อมีเวลาว่างก็จะไปปฏิบัติธรรมและ

ศึกษาเรื่องเวทมนตร์คาถาจากผู้เฒ่าผู้แก่ รวมถึงครูบาอาจารย์ต่างๆ จนได้เป็นศิษย์หลวงปู่แดง วัดบางเตย

นอก




หลวงปู่ว่าน วัดบางเตยใน และหลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก เมื่อสิ้นหลวงพ่อจง ท่านได้ศึกษาเพิ่มเติมจาก

ศิษย์สายหลวงพ่อจง อาทิ หลวงพ่อไวทย์ วัดบรมวงศ์, หลวงพ่อหอม วัดบางเตยกลาง, หลวงพ่อเมี้ยน วัด

โพธิ์กบเจา และพระอาจารย์รวย วัดกลางคลองสาม อายุ ๒๗ ปี จึงตัดสินใจเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ ณ วัด

ใหญ่ชัยมงคล จ.พระนครศรีอยุธยา โดยมีหลวงพ่อพระครูภาวนารังสี เจ้าอาวาสวัดใหญ่ชัยมงคล เป็นพระ

อุปัชฌาย์ ฉายาว่า “อาจารสัมปันโน” แล้วกลับมาจำพรรษาที่วัดกลางคลองสาม จ.ปทุมธานี ได้ ๑ พรรษา

 ก่อนย้ายกลับไปวัดใหญ่ชัยมงคล เพื่อศึกษาวิปัสสนากรรมฐานกับพระอุปัชฌาย์ กระทั่ง พ.ศ.๒๕๑๕

 ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดหน้าต่างนอกว่างลง คณะกรรมการวัดจึงอาราธนาหลวงพ่อแม้นมารับตำแหน่งเจ้า

อาวาสสืบต่อ 




หลวงพ่อแม้นได้ศึกษาวิทยาคมตามตำราที่หลวงพ่อจงได้ทิ้งไว้ให้จนแตกฉาน นับเป็นพระเถระอีกรูปหนึ่ง

ที่เดินตามรอยปฏิปทาบารมีของหลวงพ่อจงอย่างสม่ำเสมอ วัตถุมงคลที่ท่านสร้างล้วนทำตามตำราหลวง

พ่อจงอย่างเคร่งครัด ทั้ง ตะกรุดเสือมหาอำนาจ เสื้อยันต์ เบี้ยแก้ ฯลฯ ซึ่งล้วนได้รับความนิยมอย่างกว้าง

ขวาง





ด้วยเชื่อมั่นในพุทธาคมความเข้มขลังที่ได้สืบทอดจากพระอาจารย์ นอกจากนี้แล้วท่านยังเป็นพระเกจิที่

เคร่งครัดในพระธรรมวินัย เรียบง่าย ใจดี พูดจาไพเราะ ใจเย็น ยิ้มแย้มแจ่มใส เปี่ยมไปด้วยเมตตา และมี

เจตนารมณ์แน่วแน่ที่จะสืบทอดพระบวรพุทธศาสนา ตลอดจนอบรมสั่งสอนให้พุทธศาสนิกชนมุ่งมั่นทำแต่

ความดี จึงเป็นที่เคารพศรัทธาของสาธุชนทั่วประเทศ ในฐานะพระเกจิอาจารย์ที่มีเมตตาและมีวิทยาอาคม

แก่กล้า สังเกตได้จากพิธีพุทธาภิเษกทั้งเล็กใหญ่มักมีชื่อท่านร่วมอธิษฐานจิตแทบทุกงานเพราะเชื่อมั่นใน

บารมีของหลวงพ่อแม้น

เปิดประวัติของ ประวัติหลวงปู่สรวง(เทวดาเดินดิน) โดย สลากไทพลัส กองสลากไทพลัส

สลากไทพลัส ของเราพามาเปิดประวัติหลวงปู่สรวง(เทวดาเดินดิน)จากแหล่งที่มาที่หน้าเชื่อถือได้ข้อมูลนี้เป็นความเชื่อส่วนบุคคลโปรดใช้วิจารณญาณในการเสพข้อมูล

ประวัติหลวงปู่สรวง(เทวดาเดินดิน)

หลวงปู่สรวงที่เรารู้จักกันในนามนี้ในปัจจุบันนั้น เมื่อก่อนนี้ชาวบ้านในท้องถิ่นอำเภอ ขุขันธ์ และอำเภอใกล้เคียง ที่มีภูมิลำเนาอยู่แถบชายแดน ตามเชิงเขาพนมดงรัก(พนมดองแร็ก) ซึ่งเป็นแนวเขตแดนระหว่าง กัมพูชากับประเทศไทย มักจะเห็นท่านเป็นผู้ทรงศีลปฏิบัติธรรม พักอาศัยอยู่ตามกระท่อมในไร่นาของชาวบ้าน โคกและเวียน ไปที่นั่นที่นี่บ้างนานๆ จะกลับมาเห็นในที่เดิมอีก ในสายตาและความเข้าใจของชาวบ้านในสมัยนั้นมองท่านในฐานะผู้มีคุณวิเศษ เหนือคนทั่วไปและเรียกขานว่า “ลูกเอ็าวเบ๊าะ” หรือ “ลูกตาเบ๊าะ” (เป็นภาษาเขมร หมายถึงพระดาบส ที่เป็นผู้รักษาศีลอยู่ตามถ้ำเขาลำเนาไพร) ในสมัยนั้นยังมีป่าพรรณไม้อุดมสมบูรณ์และสัตว์ป่านานาพันธุ์ ได้มีลูกศิษย์ติดตามหลวงปู่เดินธุดงค์ตามป่าเขาแถบชายแดนไทย และตลอดจนถึงประเทศเขมร แต่ก็อยู่กับหลวงปู่ได้ไม่นานจำต้องกลับบ้าน เนื่องจากทนความยากลำบากไม่ไหวหลวงปู่จึงเดินธุดงค์ไปในที่ต่างๆ ตามลำพังเป็นส่วนมาก 



ไม่มีใครทราบถิ่นกำเนิดและอายุของหลวงปู่ที่แท้จริง ได้รู้แต่ว่าหลวงปู่เป็นชาวเขมรต่ำ ได้เข้ามาในประเทศไทยนานแล้วคนแก่คนเฒ่า ผู้สูงอายุที่เคยเห็นท่านเล่าบอกว่า ตั้งแต่เป็นเด็กๆเกิดมาก็เห็นท่านในสภาพลักษณะเหมือนที่เห็นในปัจจุบันถ้าผิดจากเดิมไปบ้างก็เล็กน้อยเท่านั้น ประกอบด้วยหลวงปู่เป็นคนพูดน้อยและไม่เคยเล่าประวัติส่วนตัวให้ใครฟัง จึงไม่มีใครที่จะสามารถรู้อายุและประวัติที่แท้จริงของท่านได้ 

ชาวบ้านแถบนี้พบเห็นหลวงปู่บ่อยๆ ที่ชายป่าบ้านตะเคียนราม วัดตะเคียนราม อำเภอภูสิงห์ , บ้านลุมพุก บ้านโคกโพน ต.กันทรารมย์ 

” อ.ขุขันธ์ ” และหมู่บ้านอื่นๆเกือบทุกหมู่บ้านในบริเวณตลอดแนวชายแดน ท่านจะเดินทางไปมาอยู่ในบริเวณแถบนี้โดยตลอด แต่ก็จะไม่อยู่เป็นประจำในที่แห่งเดียวเป็นเวลานานๆ บางทีหลวงปู่จะหายไปนานถึงสองสามปีถึงจะกลับมาใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยที่ไม่มีใครรู้ว่าหลวงปู่ไปอยู่ไหนมา ในช่วงหลังมานี้พบหลวงปู่จำอยู่ในกระท่อมในนาบริเวณต้นโพธิ์บ้านขยอง , วัดโคกแก้ว , บ้านโคกเจริญ , กระท่อมกลางนาระหว่างบ้านละลมกับบ้านจะบก , กระท่อมบ้านรุน (อำเภอบัวเชด) และบ้านอื่นๆอีกในท้องถิ่นเดียวกันนี้ 

ในระยะหลังนี้ได้มีผู้ปวารณาเป็นลูกศิษย์อาสาขับรถให้หลวงปู่ ได้เดินทางไปในที่ต่างๆ ทำให้มีผู้รู้จักหลวงปู่มากขึ้น ไปเกือบทุกจังหวัดในประเทศไทย ในแต่ละวันจะมีผู้เดิน

เมื่อเสร็จแล้วก็ให้ลูกศิษย์หามท่านออกมาจากกระท่อม และวางลงพื้นดินด้านทิศเหนือ อยู่ระหว่าง

กระท่อมกับต้นมะขาม โดยหลวงปู่หันหน้าเข้ากระท่อมขณะนั้นมีผู้นำน้ำดื่มบรรจุขวดมาถวาย 2 ขวด หลวงปู่ได้เทน้ำรดตนเองจากศรีษะลงมาจนเปียกโชกไปทั้งตัวคล้ายกับเป็นการสรงน้ำครั้งสุดท้าย นายสัญชัยผู้ขับรถให้หลวงปู่นั่งเป็นประจำได้นำรถมาจอดใกล้ๆ และช่วยกันหามหลวงปู่ขึ้นรถและขับตรงไปที่กระท่อมบ้านรุน อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์ โดยมีนายสุข หรือนายดุง(คนบ้านเจ็ก อำเภอขุขันธ์) ขับรถติดตามไปเพียงคนเดียว ก่อนจะถึงกระท่อมนายสัญชัยได้หยุดรถที่หน้าบ้านนายน้อยเพื่อจะบอกให้นายน้อยตามไป แต่หลวงปู่ได้บอกให้นายสัญชัยขับรถไปที่กระท่อมโดยเร็ว โดยบอกว่า “เต็อวกะตวม เต็อวกะตวม กะตวม” พอถึงกระท่อมได้อุ้มหลวงปู่ไปที่แคร่ ในกระท่อมและช่วยกันก่อกองไฟ เพื่อให้เกิดความอบอุ่น และนายสุขได้อาสาขอออกไปข้างนอกเพื่อจัดหาอาหารมาถวายหลวงปู่ และรับประทานกัน นายสุขได้ไปที่บ้านโคกชาด ตำบลไพรพัฒนา ไปพบนายจุกและนางเล็กซึ่งเป็นลูกศิษย์หลวงปู่เช่นเดียวกันและได้บอกให้รีบไปหาหลวงปู่ที่บ้านรุน เพื่อดูอาการป่วยของหลวงปู่ซึ่งมีอาการหนักกว่าทุกคราว นางเล็กได้จัดหาอาหารให้กับนายสุขส่วนตัวเองกับสามีได้ขับรถตามไปทีหลัง พอมาถึงกระท่อมปรากฎว่านายสัญชัยขับรถออกไปข้างนอก พวกที่อยู่ก็รีบหุงหาอาหารเพื่อจัดถวายหลวงปู่ โดยหวังว่าหากหลวงปู่ได้ฉันอาหารอาการก็คงจะดีขึ้นบ้าง แต่หลังจากถวายอาหารแล้วหลวงปู่ไม่ยอมฉันอาหารเลย แม้จะอ้อนวอนอย่างไรหลวงปู่ก็นิ่งเฉย นายสัญชัยที่ออกไปทำธุระข้างนอกได้กลับมาโดยขับรถตามนายน้อยที่นำของมาถวายหลวงปู่เหมือนกัน เมื่อไม่สามารถที่จะทำให้หลวงปู่ฉันได้ ทุกคนก็พิจารณาหาวิธีว่าจะช่วยหลวงปู่ได้อย่างไร ในที่สุดก็เห็นพ้องกันว่าให้รีบช่วยกันแต่ง ขันธ์ห้า ขันธ์แปด มาขอขมาหลวงปู่โดยด่วน ตามที่เคยได้กระทำมาและก็ได้ผลมาหลายครั้งแล้วซึ่งจะทำให้หลวงปู่หายป่วยได้ทุกครั้ง และนายสัญชัยยืนยันว่า ถ้าได้แต่ง ขันธ์ห้า ขันธ์แปด ขอขมาและหาแม่ชีมาร่วมสวดมนต์ถวายด้วยแล้วก็จะหายเป็นปกติ ทุกคนเห็นชอบด้วยจึงให้นายสัญชัยรีบดำเนินการโดยด่วน นายสัญชัยได้ขับรถไปที่บ้านขยุงเพื่อหาคนที่เคยแต่งขันธ์ห้า ขันธ์แปด เมื่อนายสัญชัยออกไปแล้วลูกศิษย์ที่เหลืออยู่ซึ่งมีผู้ใหญ่บ้านรุนและลูกบ้านอีกจำนวนหนึ่ง รวมทั้งนายมีเจ้าของกระท่อมก็ได้พากันแต่งขันธ์ห้า ขันธ์แปดเฉพาะหน้าอย่างรีบด่วน เพื่อเป็นการบันเทาจนกว่านายสัญชัยจะได้พาคนที่แต่งขันธ์ห้า ขันธ์แปดมาทำพิธีอีกครั้งหนึ่ง โดยนายน้อยได้อาสาไปหาธูปเทียน ในหมู่บ้าน โดยขับ



รถออกมาห่างจากกระท่อมประมาณ 300 เมตร รถติดหล่มไม่สามารถขับรถออกไปได้ทั้งที่เคยเป็นทางที่ใช้เป็นประจำ ด้วยความร้อนใจนายน้อยได้จอดรถล็อคประตูและขวางถนนทำให้รถคันอื่นไม่สามารถเข้าออกได้ และได้อุ้มลูกเดินเข้าไปในหมู่บ้านในระหว่างนั้นเองนายสัญชัยได้ขับรถเข้ามาแต่ก็ไม่สามารถผ่านเข้าไปได้เนื่องจากมีรถนายน้อยติดหล่มขวางทางอยู่ จึงได้กลับเอารถมาจอดไว้ที่บ้านนายน้อย

ในระหว่างที่กำลังรอคอย นายน้อยออกไปซื้อธูปเทียนนั้น ชาวบ้านรวมทั้งผู้ใหญ่บ้านได้พากันทยอยกลับจนเกือบจะหมดแล้ว และได้มีหญิงชาวบ้านคนหนึ่งพูดขึ้นมาว่าพวกเราน่าจะพาหลวงปู่ไปส่งที่โรงยาบาลจะเป็นการดีที่สุด และแล้วพวกชาวบ้านพากันกลับไปจนหมด ซึ่งผิดจากทุกครั้งที่เขาเหล่านั้นจะอยู่กับหลวงปู่ตลอดเวลาจะกลับบ้านก็ต่อเมื่อหลวงปู่ได้เดินทางไปที่อื่นแล้ว สุดท้ายก็ยังมีลูกศิษย์กับหลวงปู่ในกระท่อมเพียงแปดคนรวมทั้งเด็กที่เป็นลูกของนายจุกนางเล็กด้วย ทุกคนต่างหาวิธีที่จะช่วยให้ความอบอุ่นแก่หลวงปู่ ซึ่งขณะนั้นได้พากันจับดูตามร่างกายของหลวงปู่ จะเย็นจัดตลอด บางคนก็ได้เอาหมอนไปอังไฟให้ร้อนแล้วนำมาประคบตามร่างกายให้หลวงปู่บางคนก็ต้มน้ำร้อน หลวงปู่ได้สั่งให้ลูกศิษย์เอาผ้าชุปน้ำอุ่นมาเช็ดนิ้วมือนิ้วเท้าทำความสะอาดและเช็ดทั่วทั้งร่างกายโดยย้ำว่าให้ทำให้สะอาดที่สุด บางแห่งตามนิ้วเท้าที่ของหลวงปู่ที่ลูกศิษย์เช็ดให้ไม่สะอาดพอ หลวงปู่ก็ใช้นิ้วมือเกาถูอย่างแรงจนสะอาด เมื่อทำความสะอาดร่างกายพอสมควรแล้ว หลวงปู่ได้เอ่ยออกเสียงอย่างแผ่วเบาออกมาเป็นภาษาเขมรว่า “เนียงนาลาน” (นางไหนละรถ) ซึ่งเสียงที่เปล่งออกมานั้นแผ่วเบามาก ทุกคนเข้าใจว่า “เนียง” นั้นหมายถึงนางเล็กจึงได้พากันอุ้มหลวงปู่ไปขึ้นรถของนายจุกนางเล็ก โดยผู้ที่อุ้มมีนายจุก และนายตี๋ โดยนายสุขเป็นผู้เปิดประตูรถให้ พอนำหลวงปู่ขึ้นนั่งบนรถโดยลูกศิษย์ได้ปรับเบาะเอนลงเพื่อให้หลวงปู่เอนกายได้สบายขึ้น ท่านได้พยายามยื่นมือมาดึงประตูรถปิดเอง ลูกศิษย์จึงช่วยปิดให้รถเลื่อนออกจากกระท่อมเพื่อไปโรงพยาบาลบัวเชด ซึ่งอยู่ไม่ไกลมากแต่รถออกไปได้ประมาณ 50 เมตร อาการป่วยของหลวงปู่ก็เริ่มหนักมากขึ้นทุกทีจนลูกศิษย์ที่นั่งอยู่ด้วยด้านหลังตกใจ และร้องขึ้นว่า “หลวงปู่อาการหนักมากแล้ว” และได้จอดรถคนที่อยู่รถคันหลังก็วิ่งลงมาดู และก็บอกว่าอย่างไรก็จะต้องนำหลวงปู่ส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้ เมื่อรถวิ่งออกมาอีกก็มาติดรถของนายน้อยที่ติดหล่มขวางทางอยู่ไม่สามารถออกไปได้ นายจุก ได้ร้องตะโกนบอกให้นายจันวิ่งไปสำรวจดูเส้นทางอื่น ว่าจะมีทางใดที่สามารถจะนำรถออกไปได้และเมื่อสำรวจดูโดยทั่วแล้ว เห็นว่ามีทางออกเพียงทางเดียวก็คือต้องขับฝ่าทุ่งหญ้าออกไปหาถนน แต่ไม่น่าจะออกไปได้แต่ก็ตัดสินใจขับออกไป เหตุการณ์บนรถในขณะนั้น ในขณะที่กำลังเลี้ยวรถเพื่อขับผ่านทุ่งหญ้าออกไปนั้นได้มีอาการบางอย่างที่เป็นสัญญาณแสดงให้เห็นว่าหลวงปู่จะละสังขารอย่างแน่นอนให้คนที่อยู่บนรถเห็น ต่างคนก็ร่ำไห้มองดูด้วยความอาลัยและสิ้นหวัง หลวงปู่เริ่มหายใจแผ่วลงเรื่อยๆ ในที่สุดก็ได้ทอดมือทิ้งลงข้างกาย แล้วจากไปด้วยความสงบ อย่างไรก็ตามลูกศิษย์ก็ยังคงนำหลวงปู่ไปที่โรงพยาบาล เผื่อว่าหมอจะสามารถช่วยให้หลวงปู่ฟื้นขึ้นมาได้ ในระหว่างทางไปโรงพยาบาล นายสาด ชาวบ้านตาปิ่น อำเภอบัวเชด ก็ขี่รถจักรยายนต์สวนทางมา นายจุกชะลอรถและตะโกนบอกให้นายสาดตามไปที่โรงพยาบาลบัวเชด พอไปถึงโรงพยาบาล ทั้งนายแพทย์และพยาบาลได้รีบนำหลวงปู่เข้าห้องฉุกเฉินทำการตรวจโดยละเอียด และลงความเห็นว่าหลวงปู่ได้สิ้นลมไปแล้วไม่ต่ำกว่า 3 ถึง 4 ชั่วโมง ซึ่งลูกศิษย์ต่างก็ยืนยันว่าสิ้นลมไม่น่าจะเกิน 10 นาทีแน่นอน เพราะระยะทางจากบ้านรุนไปโรงพยาบาลบัวเชดประมาณ 10 กิโลเมตร และก็ได้ขับรถด้วยความเร็วสูงด้วย ลูกศิษย์ไม่ให้ทางโรงพยาบาลฉีดยา หรือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งกับร่างของหลวงปู่ทั้งสิ้น เมื่อเห็นว่าไม่สามารถจะช่วยหลวงปู่ได้แน่แล้ว ก็ได้พากันนำร่างหลวงปู่กลับพอมาถึง บ้านตาปิ่น ก็ได้แวะเอาจีวรเก่าของหลวงปู่ที่เคยให้ไว้กับนายสาด เพื่อนำมาครองให้หลวงปู่ให้อยู่ในสภาพที่เรียบร้อย และนายสาดก็ได้ขึ้นรถมาด้วยพอมาถึงบ้านรุนก็มีรถนายสัญชัยและนายน้อยจอดรออยู่ ก็ได้แจ้งว่าหลวงปู่ได้มรณภาพแล้ว และได้พากันขับรถมุ่งหน้าจะไปบ้านละลม พอถึงบ้านไพรพัฒนา นายจุกได้ขับรถแวะเข้าไปที่วัดบ้านไพรพัฒนา และได้บอกข่าวให้กับหลวงพ่อพุฒ วายาโม เจ้าอาวาสวัดไพรพัฒนาให้ทราบ ว่าหลวงปู่สรวงได้ละสังขารแล้ว 

เหตุการณ์ที่วัดไพรพัฒนา


เวลาประมาณ 19.00 น. ในขณะที่หลวงพ่อพุฒกำลังสนทนากับพระลูกวัดก็ได้มีรถเข้ามาจอดจำนวน 4 คัน โดยมีนายสาด ลงมาแจ้งกับหลวงพ่อพุฒว่าหลวงปู่สรวงมรณภาพแล้ว หลวงพ่อพุฒอึ้งไปขณะหนึ่ง ก็ได้ถามว่ามรณภาพที่ไหน นายสาดตอบว่าที่โรงพยาบาล และได้นำศพของท่านมาพร้อมกับรถนี้แล้ว หลวงพ่อพุฒจึงได้ลงไปเปิดประตูรถดู และได้กราบลงบนตักของหลวงปู่ และได้จับตามร่างกายและหน้าอกของหลวงปู่ดู และก็รู้สึกได้ว่าท่านได้ละสังขารจริงๆ และถามลูกศิษย์ที่นำสังขารหลวงปู่มา ว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป ลูกศิษย์ทุกคนรวมทั้งนายสัญชัยได้บอกว่าจะนำสังขารของหลวงปู่ไปบำเพ็ญกุศลที่วัดบ้านขยุง หลวงพ่อพุฒ บอกว่าให้เดินทางไปก่อนแล้วอาตมาจะตามไป ขบวนรถทั้ง 4 คันก็ได้เคลื่อนออกจากวัดไพรพัฒนาจะไปยังวัดบ้านขยุง หลวงพ่อพุฒจึงครองจีวรเตรียมอุปกรณ์เรียกหาพระลูกวัดก่อนจะออกเดินทางได้อธิษฐานว่า 



“สาธุ ถ้าหากหลวงปู่มีความประสงค์จะให้ลูกหลานได้เป็นผู้บำเพ็ญกุศล ก็ขอให้หลวงปู่ได้กลับมาที่วัดด้วยเถิด” แล้วก็ได้นั่งรถติดตามไปที่บ้านขยุงแต่ไปถึงแค่บ้านโคกชาด มีรถหลายคันจอดอยู่และได้ให้สัญญาณไฟ จึงได้จอดดูแล้วปรากฏว่าเป็นรถที่จะนำสังขารหลวงปู่ไปที่วัดบ้านขยุง ได้บอกหลวงพ่อพุฒว่าให้กลับไปที่วัดไพรพัฒนา แล้วก็ขับออกนำหน้า หลวงพ่อพุฒก็ได้นั่งรถตามมา พอมาถึงวัดเห็นรถที่มีสังขารหลวงปู่จอดอยู่ที่ด้านทิศตะวันออกของศาลา จึงได้บอกว่าอย่าพึ่งทำอะไรให้อยู่อย่างนี้ก่อน และได้สั่งให้พระลูกวัดจัดเตรียมสถานที่ตั้งศพบนสาลา ส่วนหลวงพ่อพุฒเองได้นำธูปเทียนมากราบไหว้ขอขมาลาโทษ และนิมนต์ร่างของหลวงปู่ขึ้นมาตั้งตรงสถานที่ๆ จัดไว้บนศาลา และได้จุดธูปอธิษฐานว่า 

“ หากเป็นความประสงค์ของหลวงปู่จะให้ลูกหลานบำเพ็ญกุศลในที่นี่จริง ก็ขอให้ดำเนินการไปโดยเรียบร้อย และขอให้มีลูกศิษย์ของหลวงปู่ได้มาร่วมบำเพ็ญกุศลโดยทั่วกัน” ต่อจากนั้นได้ดำเนินการบำเพ็ญกุศลให้กับหลวงปู่อย่างที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน

นี่คือเหตุการณ์ทั้งหมดว่าเหตุใด สรีระของหลวงปู่สรวงจึงได้มาตั้งบำเพ็ญ กุศลอยู่ที่บ้านไพรพัฒนา อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ 

คำสอนของหลวงปู่สรวง

ที่เราได้ยินบ่อยๆ

ออย เตียน สรูล แปลว่า ให้ทาน มีความสุข

พรที่หลวงปู่สรวง

ให้เราตลอดมา

บายตึ๊กเจีย แปลว่า ข้าวน้ำดี

หมายถึง ให้อยู่ดีมีสุข อุดมสมบูรณ์ด้วย ความพอเพียง

ทางเข้ามากราบไหว้หลวงปู่เป็นประจำและมีจำนวนมาก จึงทำให้บางคนก็สมหวังได้มีโอกาสกราบนมัสการ บางคนก็มาไม่พบต้องคอยหลวงปู่เป็นเวลานานกว่าหลวงปู่จะกลับมาถึงแม้จะต้องพบกับความลำบากเพียงใด ลูกศิษย์ก็ทนรอได้ เพียงขอให้ได้มีโอกาสกราบนมัสการหลวงปู่สักครั้งในชีวิต

หลวงปู่เป็นพระที่มักน้อย สันโดษ สมถะ มีความอุเบกขาสูงสุดให้ความเมตตากับผู้ที่ได้พบเห็นทุกคน และให้ความสำคัญกับทุกคนเท่ากันหมดไม่ว่าเขาคนนั้นจะเป็นคนยากจน เป็นเศรษฐี คนเข็ญใจหรือรู้จักหลวงปู่มานาน ก่อนหลังหรือได้ติดตามรับใช้หลวงปู่มานานๆ ก็ตาม ท่านไม่เคยเอ่ยปาก นับว่าเป็นศิษย์หรือให้สิทธิ์พิเศษแก่คนใดคนหนึ่งโดยเฉพาะแม้แต่ครั้งเดียว ทุกคนจะได้รับความเมตตาจากหลวงปู่เท่ากัน จึงทำให้มีผู้มากราบไหว้หลวงปู่เป็นประจำและจะกลับมากราบไหว้หลวงปู่อีก เพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ

ความเป็นอยู่ของหลวงปู่ ท่านจะอยู่อย่างเรียบง่ายจำวัดอยู่ตามกระท่อมปลายนาหลังเล็กๆ มีไม้กระดานเพียงไม่กี่แผ่น บางครั้งก็มีเพียง 2-3 แผ่น พอนอนได้เท่านั้นทุกแห่งที่หลวงปู่จำวัดอยู่จะมีเสาไม้ไผ่สูงๆปักอยู่ มีเชือกขึงระหว่างกระท่อมกับเสาไม้ หรือต้นไม้ที่อยู่ใกล้ๆ มีว่าวขนาดใหญ่ทำด้วยจีวรหรือกระดาษผูกไว้เป็นสัญลักษณ์ และที่สำคัญคือหลวงปู่จะก่อกองไฟไว้เสมอ บางครั้งลูกศิษย์เอาของไปถวาย หลวงปู่ก็จะโยนเข้ากองไฟ ฉะนั้นถ้าเห็นว่ากระท่อมใดมีสิ่งของดังกล่าวก็หมายความว่าที่แห่งนั้นหลวงปู่เคยจำวัดหรือเคยอยู่มาก่อน

24 ชั่วโมง ก่อนหลวงปู่ละสังขาร

ตามปกติหลวงปู่จะมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง สามารถนั่งรถเดินทางไปไหนมาไหนได้เป็นเวลาติดต่อกันหลายวัน โดยหยุดพักเพียงเล็กน้อย ท่านไม่ค่อยเจ็บป่วยหรือแสดงอาการว่าเหน็ดเหนื่อยแต่อย่างใด จะมีบ้างก็เป็นการเจ็บป่วยเล็กๆน้อยๆและก็หายได้ในเร็ววัน โดยไม่เคยฉันยา เพิ่งจะมีอาการป่วยปรากฏในไม่กี่เดือนหลังมานี้ หลวงปู่มีอาการป่วยและไม่ฉันอาหารติดต่อกันมาเป็นเวลาหลายวัน 

วันที่ 7 กันยายน 2543 เวลาประมาณ 17.00 น. หลวงปู่ได้เดินทางเข้าไปในจังหวัดศรีสะเกษ และได้พบกับลูกศิษย์ นายสมยศฯ ที่ธนาคารกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) สาขาศรีสะเกษ ซึ่งขณะนั้นหลวงปู่เองก็มีอาการป่วยคือมีเสมหะ และเสียงแหบแห้ง พูดฟังไม่ค่อยชัดและได้ออกจากธนาคารกรุงเทพฯ ไปที่บ้านอาจารย์ทวีศักดิ์ ในระหว่างที่ลูกศิษย์หารือกันว่าจะพาหลวงปู่ไปหาหมอที่อำเภอประโคนชัย(หมอไฮ) หลวงปู่ก็ตื่นขึ้นมาและขอน้ำล้างหน้า 

หลวงปู่ได้บอกกับนายสมยศว่าจะขอกลับบ้านที่บ้านตะเคียนรามด้วย พวกลูกศิษย์ที่อยู่ในขณะนั้นได้ขอร้องให้หลวงปู่ไปหาหมอที่อำเภอประโคนชัย แต่หลวงปู่ไม่ยอมจึงได้พาหลวงปู่ไปที่บ้านตะเคียนราม

ถึงเวลาประมาณ 20.00 น. และหลวงปู่ได้นั่งอยู่ในรถสักครู่ใหญ่ๆ และได้บอกให้ลูกศิษย์ก่อไฟและลงไปผิงไฟ ลูกศิษย์ที่ติดตามมามี นายสัญชัย(เจ้าของรถ) , นายดุงกับภรรยา , นายสมยศ (เจ้าของบ้าน) และหลวงปู่ได้ผิงไฟและให้นวดเฟ้นให้จนถึงเวลาประมาณ ตีหนึ่งเศษ หลวงปู่ก็บอกว่า “จะไปตามทางตามเพลา” โดยมีเพียงหลวงปู่และนายสัญชัยเป็นผู้ขับรถเท่านั้น และหลวงปู่ได้เดินทางไปที่กระท่อมข้างวัดป่าบ้านจะบก จนกระทั่งถึงเวลาประมาณบ่ายสองโมงของวันที่ 8 กันยายน 2543 อาการป่วยของหลวงปู่ก็กำเริบหนักขึ้น หลวงปู่ได้บอกกับลูกศิษย์ว่าจะไปที่บ้านรุน และได้ให้นายกัณหา ลูกศิษย์ผู้ใกล้ชิดคนหนึ่งซึ่งอยู่บ้านละลมถอดเสื้อออกมาเพื่อพัดด้านหลังให้กับหลวงปู่ หลังจากพัดอยู่นานพอสมควรก็ได้บอกให้ลูกศิษย์ที่รวมกันอยู่ในกระท่อมในขณะนั้นช่วยกันงัดแผ่นไม้กระดานที่หลวงปู่นั่งทับอยู่ออกมาหนึ่งแผ่น ทั้งที่หลวงปู่ยังนั่งอยู่บนกระดานแผ่นนั้น พองัดออกมาได้หลวงปู่ก็ได้พนมมือไหว้ไปทุกสารทิศ

อ่านบทความเพิ่มเติมของ สลากไทพลัส

วันอาทิตย์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

เปิดประวัติของ หลวงปู่ศุข เกสโร แห่ง วัดปากคลองมะขามเฒ่า ชัยนาท โดย สลากไทพลัส กองสลากไทพลัส

วันนี้ทาง สลากไทพลัส ของเราพามาเปิดประวัติ หลวงปู่ศุข เกสโร แห่งวัดปากคลองมะขามเฒ่าจากแหล่งที่มาที่หน้าเชื่อถือได้


ประวัติ หลวงปู่ศุข เกสโร แห่ง วัดปากคลองมะขามเฒ่า ชัยนาท วาระ 99 ปี มรณกาล

อ่านเกร็ดประวัติในวาระ 99 ปีแห่งมรณกาล ของ หลวงปู่ศุข เกสโร วัดปากคลองมะขามเฒ่า ชัยนาท ปรมาจารย์ในด้านพุทธาคม พระอาจารย์รูปสำคัญของ เสด็จเตี่ย กรมหลวงชุมพร เขตอุดมศักดิ์

หลวงปู่ศุข แห่ง วัดปากคลองมะขามเฒ่า ชัยนาท ชื่อนี้คงไม่มีนักนิยมพระเครื่องผู้ใดปฏิเสธ ถึงความเกรียงไกรในชื่อเสียง และบารมีของท่านไปได้ และหากจะกล่าวถึงพระเครื่องมากมายหลายพิมพ์ ที่ท่านได้สรรค์สร้าง และปลุกเสกเอาไว้แล้วก็คงต้องจัดให้เป็นของดีวิเศษสุด ที่นักนิยมพระเครื่องต่างเสาะหา และยกย่องเทิดทูนให้เป็นพระเครื่องอันดับหนึ่ง ของวงการในขณะนี้เชื่อว่าคงมีผู้อ่านหลายๆ ท่านที่ทราบถึง ประวัติของหลวงปู่องค์นี้ กันดีอยู่แล้ว  ในวาระ 175 ปี มรณกาลของท่าน วันที่ 23 ธ.ค. 2565  จึงขอเขียนถึงเกร็ดประวัติของหลวงปู่ศุข 



สำหรับ อัตชีวประวัติของ หลวงปู่ศุข เกสโร ท่านเกิดเมื่อวันจันทร์ เดือน 4 ปีจอ พ.ศ. 2390 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ณ บ้านข้างวัดปากคลองมะขามเฒ่า อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท ท่านเป็นบุตรของนายน่วม และนางทองดี เกศเวชสุรยา หลวงปู่ศุขเป็นบุตรชายคนโต มีพี่น้องต่อมาอีก 8 คน ครอบครัวเป็นชาวไร่ พออายุได้ 7 ขวบ บิดามารดาก็นำไปฝากกับพระอาจารย์ ที่วัดปากคลองมะขามเฒ่า (เดิมชื่อว่าวัดอู่ทองปากคลองมะขามเฒ่า) เพื่อเล่าเรียนหนังสือไทย และขอมการเล่าเรียนของท่านเชี่ยวชาญ แตกฉาน จนกระทั่งอายุได้ 18 ปี ก็อำลาวัดออกไปท่องเที่ยว หาประสบการณ์อยู่พักหนึ่ง และเมื่ออายุได้ 20 ปี ก็หวนกลับไปอุปสมบท เป็นพระภิกษุที่วัดโพธิ์ทองล่าง โดยมีอาจารย์เชย จันทสิริ เจ้าอาวาสเป็นพระอุปัชฌาย์

 เมื่อบวชแล้วก็ได้ศึกษา พระธรรมวินัยจนบังเกิดศรัทธาดื่มด่ำ ในรสพระธรรม รอบรู้ในพระไตรปิฎก และเชี่ยวชาญทางวิปัสสนากรรมฐาน ด้วยเหตุที่ท่าน เป็นผู้แต่ฉานในภาษา และอักขระเลขยันต์มาก่อน จึงทำให้ท่านก้าวสู่โลกของไสยเวท และคาถาอาคมได้โดยง่ายมี พระอาจารย์เชยซึ่ง แก่กล้าทางพุทธาคม เป็นอาจารย์สอน วิปัสสนากรรมฐาน และการทำสมาธิจิตเพ่งกสิณจนแตกฉาน

 การเพ่งกสิณและทำสมาธิจิต ของหลวงปู่ศุขเป็นพื้นฐาน ในการศึกษา พระเวทอาคมต่างๆ ซึ่งท่านมีจิตใจที่แน่วแน่ มุ่งปฏิบัติอย่างจริงจัง จนเกิดพลังจิตที่กล้าแข็งเป็นอย่างยิ่ง กสิณที่ฝึกประกอบด้วย อาโปกสิณ เตโชกสิณ วาโยกสิณ ปฐวีกสิณ อันเป็นธาตุทั้งสี่ คือ ดิน น้ำ ลม และไฟ จนสามารถแยกธาตุได้ด้วยความชำนาญ

 


นอกจากนี้หลวงปู่ศุขยังเป็น พระที่ใฝ่ธุดงค์เป็นนิจ และจากการที่ท่านธุดงค์รอนแรมไปในป่า เป็นเวลานานๆ ก็ทำให้ท่านได้พบ กับพระอาจารย์อีกหลายท่าน ที่หลวงปู่ศุขฝากตัวเป็นศิษย์ เล่าเรียนเวทมนต์คาถาเพิ่มเติม จนกล่าวกันว่าหลวงปู่ศุข คือจ้าวแห่งอาคมตัวจริง และเมื่อกลับสู่บ้านเกิดแล้ว ท่านก็ได้ครองวัดปากคลองมะขามเฒ่าสืบมา

ความเกรียงไกร ในพระเวทอาคมของหลวงปู่ศุขนั้น กล่าวกันว่าท่านสามารถปฏิบัติเห็นผลจริง ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการผูกหุ่นพยนต์ เสกใบมะขามเป็นตัวต่อตัวแตน เสกให้คนเป็นจระเข้ เสกหัวปลีให้เป็นกระต่าย เป็นต้นนั้น ซึ่งล้วนแต่เป็นพระเวทย์ขั้นสูง ที่ไม่อาจพบเห็นได้ทั่วไป จึงไม่ต้องพูดถึงความเข้มขลัง ในระดับพื้นๆ ที่ท่านเจนจบ อยู่ในระดับสุดยอดพระเกจิอาจารย์อันได้แก่ คงกระพันหนังเหนียว มหาอุตม์เมตตามหาเสน่ห์ แคล้วคลาด โชคลาภ ย่นระยะทาง กำบังตัว เป็นต้น

ความยิ่งใหญ่ในด้านพุทธาคม ของหลวงปู่ศุขทำให้ท่านมี ลูกศิษย์ลูกหา เข้ามาฝากตัวด้วยจำนวนมาก ตั้งแต่ระดับชาวบ้านขึ้น ไปถึงชั้นเจ้านายเชื้อพระวงศ์ก็มี โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่จะละเว้นไม่กล่าวถึง เป็นไปไม่ได้ก็คือ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ องค์บิดาแห่งกองทัพเรือไทย


เสด็จในกรมหลวงชุมพร ได้มาจอดเรือพระที่นั่ง แวะที่ท่าน้ำวัดปากคลองมะขามเฒ่า และได้พบกับหลวงปู่ศุข จึงได้ทดลองวิชา และถวายตัวเป็นศิษย์ ตามประวัติเล่าว่า ในช่วงเดือน 5 ของทุกปี จะทรงเสด็จประพาสตากอากาศ ไปทางเหนือ มีเรือกลไฟฟ้าลากจูงเรือพระที่นั่ง วันหนึ่งไปจอดเทียบท่า วัดปากคลองมะขามเฒ่า พระองค์ก็ได้เจอหลวงปู่ศุข ซึ่งกำลังทดลองวิชาด้วยการเสก หัวปลีให้เป็นกระต่าย วิ่งเพ่นพ่านและผู้ที่ตัดหัวปลีถวายในครั้งนั้น คือ หลวงพ่อพุฒ วัดเขาไม้แดง ชลบุรี  ก็ทรงเลื่อมใสศรัทธา และเสด็จไปกราบนมัสการ เมื่อพูดคุยกันแล้วก็ยิ่ง ประหลาดอัศจรรย์ใจ จึงขอศึกษาวิชาอาคมจากหลวงปู่ศุข


เมื่อกล่าวถึงพระเครื่องที่หลวงปู่ ได้สร้างเอาไว้ ซึ่งมีมากมายหลายพิมพ์ โดยเอกลักษณ์ของท่าน จะมีประภามณฑลและรัศมี

 


เปิดประวัติของ หลวงปู่แหวน สุจิณโณโดย สลากไทพลัส กองสลากไทพลัส

วันนี้ สลากไทพลัส พามาเปิดประวัติ หลวงปู่แหวน สุจิณโณเป็นภิกษุชาวไทย จำพรรษา ณ วัดดอยแม่ปั๋ง จังหวัดเชียงใหม่


ประวัติ

หลวงปู่แหวน สุจิณโณ เกิดในตระกูลของช่างตีเหล็ก เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2430 ตรงกับวันจันทร์ ขึ้น 3 ค่ำ เดือนยี่ ปีกุน ณ บ้านนาโป่ง ตำบลหนองใน(ปัจจุบันเป็นตำบลนาโป่ง) อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย โดยเป็นบุตรของนายใสกับนางแก้ว รามศิริ โดยมีน้องสาวร่วมบิดา- มารดาอีกหนึ่งคนคือ นางเบ็ง ราชอักษร และบิดามารดาของท่านได้ ตั้งชื่อว่า ญาณ ซึ่งแปลว่า ปรีชา กำหนดรู้



พอท่านมีอายุ ได้ประมาณ 5 ขวบเศษ โยมมารดาของท่านก็ล้มป่วย แม้จะได้รับการดูแลเยียวยารักษาเป็นอย่างดีจากสามี แต่อาการของท่านก็มีแต่ทรงกับทรุด ในที่สุดเมื่อท่านรู้ตัวว่า คงจะไม่รอดชีวิตไปได้แน่แล้วท่านจึงได้เรียกหลวงปู่แหวน เข้าไปใกล้ แล้วกล่าวความฝากฝังเอาไว้ว่า ลูกเอ๋ย..แม่ยินดีต่อลูก สมบัติใด ๆ ในโลกนี้ล้วน กี่โกฎก็ตามแม่ไม่ยินดี แม่จะยินดีมากถ้าลูกจะบวชให้แม่ เมื่อลูกบวชแล้วก็ให้ตายกับผ้าเหลือง ไม่ต้องสึกออกมา มีลูกมีเมียนะ..หลวงปู่แหวนพยักหน้า รับคำเท่านั้น ดวงวิญญาณของท่านก็ออกจากร่างไป มาอีกไม่นาน ดึกสงัดของค่ำคืนวันหนึ่งขณะที่คุณยายของหลวงปู่แหวนกำลังนอนหลับสนิทก็เกิดฝันประหลาด อันเป็นมงคลนิมิตหมายที่ดีงาม ท่านจึงได้นำเอาความฝันมาเล่าสู่ลูกหลานและหลวงปู่แหวนฟัง ในวันรุ่งขึ้นว่า เมื่อคืนนี้ ยายนอนหลับและได้ฝันประหลาดมาก ฝันว่าเจ้าไปนอนอยู่ในดงขมิ้น จนกระทั่งเนื้อตัวของเจ้าเหลือง อร่ามไปหมด ดูแล้วน่ารักน่าเอ็นดูยิ่งนัก ยายเห็นว่า เจ้านี้จะมีอุปนิสัยวาสนาในทางบวช ฉะนั้นยายขอให้เจ้าบวชตลอดชีวิต และขอให้ตายกับผ้าเหลือง ไม่ต้องสึกออกมามีลูกมีเมียเจ้าจะทำได้ไหม

บรรพชา

จากนั้น วันเวลาผ่านมาจนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2439 ท่านมีอายุได้ 9 ขวบ คุณยายของท่านที่ได้เลี้ยงดูแลเอาใจใส่มาอย่างทะนุถนอม ได้เรียกท่านพร้อมกับ หลานชายอีกคนหนึ่ง ที่เป็นญาติสนิทรุ่นราวคราวเดียวกัน เข้าไปหาแล้วพูดว่า ยายจะให้เจ้าทั้งสองบวชเป็น สามเณร เมื่อบวชแล้วไมต้องสึก เจ้าจะบวชได้ไหม ท่านหันมามองหลวงปู่แหวนอย่างตั้งใจฟังคำตอบ หลวงปู่แหวนก็พยักหน้ารับ พอใกล้เข้าพรรษา คุณยายของท่านจึงได้ตระเตรียมเครี่องบริขาร จนครบเรียบร้อยแล้ว จึงได้พาเด็กชายทั้งสองเข้าถวายตัวต่อพระอุปัชฌาย์ซึ่งมีศักดิ์เป็นน้า เข้าพรรษาเป็นสามเณร ณ วัดโพธิ์ชัย พร้อมทั้งเปลี่ยนชื่อเป็นเด็กชาย ญาณ เป็นสามเณร แหวนนับแต่นั้นมา



ตลอดพรรษาที่ได้บรรพชา เป็นสามเณรนั้น หลวงปู่แหวน สุจิณโณ ได้แต่ทำวัตร สวดมนต์ต์บ้างตามโอกาส เท่าที่พระภิกษุและ สามเณร ภายในวัดจะร่วมกันทำสังฆกรรม นอกจากนั้นก็จะใช้เวลา ไปในทางเล่นซุกซนตามประสาเด็ก ในที่สุดพระอาจารย์อ้วน ซึ่งมีศักดิ์เป็นอาของท่าน มองเห็นว่าหากปล่อยให้เป็นไปเช่นนี้ จะทำให้สามเณรน้อยไม่มีความรู้ จึงพาไปฝากฝังถวาย เป็นศิษย์ของท่านพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม (ที่จริงน่าจะเป็นพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโลมากกว่า เพราะหลวงปู่แหวนเกิด 16 มกราคม พ.ศ. 2430 ส่วนพระอาจารย์สิงห์เกิด 27 มกราคม พ.ศ. 2432 พระอาจารย์สิงห์อ่อนกว่าหลวงปู่แหวน 2 ปี) ณ วัดบ้านสร้างถ่อ อำเภอเกษมสีมา จังหวัดอุบลราชธานี (ปัจจุบันอำเภอเกษมสีมาคือตำบลเกษมสีมา อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี) เป็นที่น่าอัศจรรย์ ขณะที่พระอาจารย์อ้วนกำลังพาสามเณรน้อย เดินฝ่าเปลวแดดสีทองมุ่งหน้าเข้าสู่บริเวณวัดในยามบ่ายนั้น พระอาจารย์สิงห์ขนัง ศิษย์สำคัญสูงสุดของพระอาจารย์ใหญ่ ฝ่ายวิปัสสนากรรมฐานคือ พระมั่น ภูริทัตโต กำลังมองที่ร่างสามเณรน้อย พลันก็บังเกิดฤทธิ์อำนาจ แห่งอภิญญาณทำให้ท่านเห็นรัศมีเป็นแสงสว่างโอภาส เปล่งประกายออกมาจากร่างของสามเณรน้อยผู้นี้ เป็นผู้ที่มีบุญญาธิการมาเกิด ดังนั้นพระอาจารย์สิงห์ จึงได้ถ่ายทอดความรู้ตลอดจนข้อวัตรปฏิบัติทั้งหมดให้

การออกจาริกแสวงบุญ

ปี พ.ศ. 2464 ได้เดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพื่อศึกษาธรรมกับพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท)

ปี พ.ศ. 2478 ได้เข้าพบ ท่านเจ้า คุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ ที่วัดเจดีย์หลวงเชียงใหม่ ในครั้งนี้ได้เปลี่ยนจากมหานิกายเป็น ธรรมยุติ และได้รับฉายาว่า สุจิณโณ จากนั้นได้ออกจาริกแสวงบุญต่อ ขณะที่ศึกษาธรรมกับพระอาจารย์มั่นฯ ที่ดงมะไฟ บ้านค้อ จังหวัดอุบลราชธานี มีศิษย์พระอาจารย์มั่นฯ ที่มีอัธยาศัย ที่ตรงกัน 2 ท่านคือ พระขาว อนาลโย และ พระตื้อ อจลธัมโม เช่นเดียวกับคราวที่ จากท่านเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ ก็ได้ พระขาว จาริกแสวงธรรมเป็นเพื่อนจนถึงเมืองหลวงพระบาง

ปีพ.ศ. 2489 หลวงปู่แหวนจำพรรษาที่วัดป่าบ้านปง อ.แม่แตง ในพรรษานั้นท่านอาพาธเป็นแผลที่ขาอักเสบต้องผ่าตัด โดยมีพระหนู สุจิตโต ซึ่งเดินทางมาจากดอยแม่ปั๋งพยายามอยู่ใกล้ๆ เมื่อครบ 7 วัน ต้องกลับไปดอยแม่ปั๋ง เพราะอยู่ระหว่างพรรษา จนกระทั่งเดือนเมษายนในปีต่อมา อาการอาพาธจึงดีขึ้นแต่ก็ยังไม่หายสนิทยังเดินไปไหนไกลๆ ไม่ได้ นับแต่นั้นมาพระหนูได้พยายามอยู่ใกล้ๆ เพื่อดูแลหลวงปู่แหวน ต่อมาพระหนูได้ดำริว่า ปัจจุบันหลวงปู่แหวนมีอายุมากแล้ว ไม่มีพระภิกษุสามเณรอยู่ด้วย เพื่อเป็นอุปัฏฐาก ถ้านิมนต์มาอยู่ที่ดอยแม่ปั๋งก็จะได้ถวายการดูแลได้โดยง่ายไม่ต้องไปๆ มาๆ อยู่อย่างนี้ แต่ก็ต้องเป็นเพียงความคิดของพระหนูเท่านั้น เพราะในเวลาดังกล่าว ดอยแม่ปั๋งยังไม่มีอะไรพร้อมแม้แต่กุฏิก็ยังไม่มี

ปีพ.ศ. 2505 ขณะที่หลวงปู่แหวนมีอายุ 75 ปี คืนวันหนึ่งพระหนูนั่งภาวนาอยู่เกิดเป็นเสียงหลวงปู่แหวนดังขึ้นมาที่หูว่า จะมาอยู่ด้วยคนนะ หลังจากวันที่ได้ยินเสียงหลวงปู่แหวนอีกสามวัน พระอาจารย์หนูได้ถูกนิมนต์ไปที่วัดบ้านปงสถานที่ที่หลวงปู่แหวนอยู่ และถือโอกาสนิมนต์หลวงปู่แหวนมาที่วัดดอยแม่ปั๋งด้วย

เมื่อหลวงปู่แหวนได้มาอยู่ที่วัดดอยแม่ปั๋งแล้ว ครั้งแรกท่านพักอยู่ที่กุฏิหลังเล็กๆ หลังหนึ่ง การมาอยู่ที่วัดดอยแม่ปั๋งนี้ ท่านได้มีข้อตกลงกับพระอาจารย์หนูว่า หน้าที่ต่างๆ และกิจทุกอย่างที่มีขึ้นในวัด ให้ตกเป็นภาระของพระอาจารย์หนูแต่เพียงผู้เดียว ส่วนท่านจะอยู่ในฐานะพระผู้เฒ่าผู้ปฏิบัติธรรมจะไม่มีภาระใดๆ ทั้งสิ้น นอกจากนั้นหลวงปู่แหวนจะไม่รับนิมนต์โดยเด็ดขาด แม้ที่สุดถึงจะเกิดอาพาธหนักเพียงใดก็ตาม ท่านไม่ยอมนอนรักษาที่โรงพยาบาล ถึงธาตุขันธ์จะทรงอยู่ต่อไปไม่ได้ก็จะให้สิ้นไปในป่าอันเป็นที่อยู่ ตามอริยโคตรอริยวงศ์ ซึ่งบูรพาจารย์ท่านเคยปฏิบัติมาแล้วในกาลก่อน

นับตั้งแต่หลวงปู่แหวนได้ขึ้นไปทางเหนือ ท่านไม่เคยไปจำพรรษาที่ภาคอื่นเลย เพราะอากาศทางภาคเหนือสัปปายะสำหรับท่าน หลวงปู่แหวนได้มรณภาพลงที่วัดดอยแม่ปั๋งแห่งนี้ เมื่อวันที่ 2 ก.ค.2528 สิริอายุ 98 ปี

คำสอน

อดีตก็เป็นทำเมา อนาคตก็เป็นทำเมา จิตดิ่งอยู่ในปัจจุบัน รู้อยู่ในปัจจุบัน ละอยู่ในปัจจุบันนี้จึงเป็นพุทโธ เป็นธัมโม ปัจจุบันก็พอแล้ว อดีต และอนาคตไม่ต้องคำนึงถึง เกิด แก่ เจ็บ ตาย วัน คืน เดือน ปี สิ้นไป หมดไป อายุเราก็หมดไป สิ้นไป หมั่นบำเพ็ญจิต บำเพ็ญทาน รักษาศีล ภาวนาต่อไป

เปิดประวัติของหลวงปู่เอี่ยม"แห่ง"วัดหนังราชวรวิหาร" ผู้ถวาย "คาถามงกุฏพระพุทธเจ้า" ให้ รัชกาลที่ 5 โดย สลากไทพลัส กองสลากไทพลัส

สลากไทพลัส  พามาทำความรู้จักประวัติ ของ"หลวงปู่เอี่ยม"แห่ง"วัดหนังราชวรวิหาร" ผู้ถวาย "คาถามงกุฏพระพุทธเจ้า" ให้ รัชกาลที่ 5 กำราบม้าพยศที่ยุโรป  





“หนังไม่เหนียว อย่าเที่ยววัดหนัง” เป็นคำพูด วลีติดปาก ของคนเล่นพระ เพราะมีความเชื่อถือ ความศักดิ์สิทธิ์ของพระเครื่อง วัตถุมงคล ของ หลวงปู่เอี่ยม แห่งวัดหนังราชวรวิหาร ฝั่งธนบุรี พระปิดตายันต์ยุ่งของท่าน ได้รับความนิยมอย่างมาก รวมทั้งเครื่องราง หมายทุย ก็เป็นอีกหนึ่งของศักดิ์สิทธิ์ ที่ได้รับความนิยมไม่แพ้กัน รวมทั้ง หลวงปู่เอี่ยม ยังเป็นเกจิอาจารย์ ที่ รัชกาลที่ 5 ทรงให้ความเคารพนับถือ จนมีเรื่องราวปราฏิหารย์เป็นที่เลื่องลือ 


หลวงปู่เอี่ยม พื้นที่ถิ่นเกิด กำเนิดเป็นชาวบางขุนเทียน ริมคลองบางหว้า ท่านเกิดเมื่อ วันศุกร์ เดือน 11 ขึ้น 8 ค่ำ จุลศักราช 1149 ปีมะโรง จัตวาศก ตรงกับวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2375 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นบุตรของ นายทอง และ นางอู่ ครอบครัวประกอบอาชีพทำสวน  ตระกูล หลวงปู่เอี่ยม แต่เดิม มีนามสกุลว่า ทองอู่ แต่ไปคล้ายกับพระนามเจ้าต่างกรมพระองค์หนึ่ง เมื่อครั้งรัชกาลที่ 6 พระราชทานนามสกุล จึงได้เปลี่ยนเป็น ทองอู๋ และใช้สืบมาจนปัจจุบัน 


ในวัยเด็ก โยมพ่อโยมแม่ของท่านได้นำท่านมาฝากมาเรียนหนังสือที่สำนัก หลวงปู่รอด อดีตผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดหนัง อายุ 11 ปี ได้เริ่มศึกษาพระปริยัติธรรม และต่อมาได้ย้ายมาอยู่ที่วัดเลียบ ต่อมาในปี พ.ศ. 2387 เมื่อท่านมีอายุครบ 22 ปี ได้เข้าอุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดราชโอรสาราม หรือ วัดจอมทอง  ฉายา “สุวณฺณสโร” มีพระสุธรรมเทพเถระ (เกิด) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระธรรมเจดีย์ (จีน) กับพระภาวนาโกศลเถร (รอด) เป็นคู่กรรมวาจาจารย์ 

 

เมื่ออุปสมบทแล้ว หลวงปู่เอี่ยมได้ย้ายมาจำพรรษาอยู่ที่วัดนางนอง ท่านก็ได้เจริญรอยตามหลวงปู่รอด วัดโคนอน มาตลอดเวลา และได้ศึกษาวิปัสสนากรรมธุระ  ท่านอยู่รับใช้หลวงปู่รอดจนมรณภาพ จึงได้รับนิมนต์จากชาวบ้าน มาเป็นเจ้าอาวาสวัดหนัง เนื่องจากในขณะนั้น วัดหนังไม่มีผู้ดูแล ท่านจึงได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็นพระครูศีลคุณธราจารย์ ไปอยู่วัดหนัง มีนิตยภัตราคาเดือนละ 2 ตำลึง ต่อมาวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2442 จึงได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเลื่อนเป็นพระภาวนาโกศลเถร ที่พระราชาคณะ มีนิตยภัตราคาเดือนละ 3 ตำลึง

ชื่อเสียงของหลวงปู่เอี่ยม ได้เป็นที่พูดถึงมาจนปัจจุบันนั้น มาจากเหตุการณ์ ขณะที่รัชกาลที่ 5 ต้องเสด็จประพาสยุโรป จึงได้มาปรึกษาหลวงปู่เอี่ยม ท่านก็ได้ทำนายไว้ว่าพระองค์ท่านจะบรรลุผลสำเร็จพระบรมราโชบายทุกประการ แต่จะต้องประสบกับสัตว์ที่ดุร้ายในยุโรป และท่านจะต้องทรงขี่มัน 



 หลวงปู่ท่านได้มอบ พระคาถาเสกหญ้าให้ม้ากิน  และมอบยันต์มงกุฎพระพุทธเจ้าให้กับพระพุทธเจ้าหลวง และจะปกป้องคุ้มครองพระองค์ท่านให้ทรงปลอดภัย และคาถาดังกล่าวก็คือคาถามงกุฎพระพุทธเจ้า และสุดท้ายฝ่ายฝรั่งก็ยอมศิโรราบในที่สุด เพราะรัชกาลที่ 5 ทรงเสกหญ้าให้ม้ากิน และบังคับม้าตัวนั้นได้ 

สำหรับการสร้างพระปิดตาเนื้อสัมฤทธิ์ ซึ่งประมาณการกันว่า ท่านคงได้สร้างมาตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ.2441 ตอนที่ท่านได้มาครองที่วัดหนังแล้ว และเมื่อคราวบูรณะเขื่อนที่หน้าวัดหนัง ปี พ.ศ.2463 ก็มีการเทพระชัยวัฒน์และพระปิดตาเนื้อสัมฤทธิ์ เพื่อสมนาคุณแก่ ผู้บริจาคเงินช่วยเหลือในครั้งนั้นด้วย

หลวงปู่เอี่ยมถึงแก่มรณภาพด้วยโรคชราเมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2469 สิริอายุ 93 ปี 71 พรรษา ครองวัดหนังนานถึง 27 ปี 

 

ประวัติหลวงปู่หลิว ปณฺณโก อดีตพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง เจ้าอาวาสวัดไร่แตงทองโดย สลากไทพลัส กองสลากไทพลัส

วันนี้ทาง สลากไทพลัส ของเราพามาเปิดประวัติหลวงปู่หลิว ปณฺณโก อดีตพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง เจ้าอาวาสวัดไร่แตงทอง 

ประวัติหลวงปู่หลิว 

หลวงปู่หลิว ปณฺณโก มีนามเดิมว่า “หลิว แซ่ตั้ง” เกิดในวันพฤหัสบดีที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2448 เป็นบุตร คุณพ่อเต่ง คุณแม่น้อย แซ่ตั้ง ครอบครัวของหลวงปู่หลิวจะประกอบอาชีพทำไร่ทำนา อยู่ที่ หมู่บ้านหนองอ้อ ต.บ้านสิงห์ อ.โพธาราม จ.ราชบุรี นอกจากทำไร่ทำนาแล้ว หลิว แซ่ตั้ง (นามในขณะนั้น) ยังมีความขยันขันแข็ง ได้เรียนรู้ และศึกษาวิชาช่างจากพ่อ  หลิวจึงออกรับจ้างเพื่อให้ได้เงินมาช่วยแบ่งเบาภาระของที่บ้าน และเนื่องจากหลิวต้องออกเดินทางไกล ทำให้ในบางครั้งเกิดการล้มป่วยบ้าง หลิวจึงมีความรู้เกี่ยวกับยาและสมุนไพรมากมาย




ครั้งอดีต มีการเล่าขานกันว่า ในเขตภาคกลาง เพชรบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม ขึ้นชื่อว่า เป็นแดนเสือ ดงนักเลง ซึ่งมีโจรมีผู้ร้ายอาศัยอยู่มากมาย ทำให้ครอบครัวของหลิวโดนขโมยวัว-ควายหลายครั้ง หลิวจึงคิดหาวิธีปราบโจรเหล่านั้น จึงเดินทางไปฝากตัวเป็นศิษย์กับอาจารย์หม่ง จอมขมังเวทย์ชาวกะเหรี่ยง เพื่อเรียนรู้วิชาอาคม เป็นเวลานานกว่า 3 ปี ก่อนจะเดินทางกลับ อาจารย์หม่งได้กำชับว่า วิชาอาคมต่างๆ ห้ามใช้จนกว่าจะถูกรังแกหรือถูกทำร้ายอย่างถึงที่สุด จนกระทั่งวันหนึ่ง โจรก็เข้ามาทำการปล้นชิงอีกครั้งที่บ้านของหลิว หลิวจึงใช้วิชาควายธนูขับไล่ จนทำให้มีข่าวแพร่กระจายไปทั่วเมืองว่าหลิวเป็นคนมีของดี สามารถปราบโจรได้อย่างราบคาบ

ต่อมาหลิวได้ใช้ชีวิตอยู่กับครอบครัวมีภรรยาและลูกชาย จากนั้นหลิวได้ตัดสินใจละทางโลก หนีความวุ่นวายในสังคมมนุษย์ เข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ อุปสมบท ในอายุ 27 ปี ณ พัทธสีมาพระอุโบสถ วัดโบสถ์ ต.บ้านเลือก อ.โพธาราม จ.ราชบุรี โดยมีหลวงพ่อโพธาภิรม แห่งวัดบำรุงเมือง เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่ออินทร์ วัดโบสถ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และมีพระอาจารย์ห่อ วัดโบสถ์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ และได้รับฉายาว่า ปณฺณโก (อ่านว่า ปัน-นะ-โก) จากนั้นท่านได้ไปจำพรรษาต่อที่วัดหนองอ้อ และเดินทางไปศึกษาวิชาอาคมเพิ่มเติมกับพระอาจารย์ชาวกะเหรี่ยงอีกครั้ง

ซึ่งในพรรษาแรกนั้น ท่านมีโอกาสได้ใช้วิชาช่างช่วยท่านเจ้าอาวาสก่อสร้างศาลาการเปรียญหลังหนึ่ง รวมไปถึงการบูรณปฏิสังขรณ์ ก่อสร้างเสนาอาสนะ สร้างวัดใหม่ เช่น วัดไทรทองวัฒนา วัดไร่แตงทอง และศาสนสถานอื่นๆอีกเป็นจำนวนมาก อีกทั้งยังมีสำนักสงฆ์ โรงเรียน โรงพยาบาล สถานีอนามัยต่างๆ ที่ท่านได้ทำนุบำรุงพระศาสนาและพัฒนาสาธารณประโยชน์

หลวงปู่หลิวได้กลับมาจำพรรษา ณ วัดหนองอ้อ อีกครั้ง ก่อนหลวงปู่หลิวเริ่มอาพาธด้วยโรคชรา หลังจากพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลรุ่นเสาร์ 5 และละสังขาร ด้วยอายุ 95 ปี เมื่อวันจันทร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2543 เวลา 20.35 น. รวมทั้งสิ้น 74 พรรษา

 


ต่อมา เจ้าอาวาสวัดไร่แตงทององค์ปัจจุบัน พระใบฎีกาสายชล จิตฺตกาโร และคณะศิษย์ ได้จัดสร้างรูปเหมือนหลวงปู่หลิว นั่งประทับพญาเต่าเรือนองค์ใหญ่ สูง 8 เมตร 1 ศอก กว้าง 6 เมตร 1 คืบ และยาว 8 เมตร 1 คืบ พร้อมกับวิหารครอบ เพื่อตั้งเป็นอนุสรณ์แห่งความดี ปัจจุบัน ถือเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งหนึ่งที่ผู้คนเลื่อมใสศรัทธาและต่างพากันไปชมและลอดใต้ท้องเต่า กับความเชื่อที่เล่าต่อขานกันมา ไม่ว่าจะขอพรสิ่งใดย่อมสมปารถนา ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ และมีอายุที่ยืนยาวเหมือนหลวงปู่หลิว

และทุกคนคงสงสัยใช่มั้ยคะ ว่าทำไมหลวงปู่หลิวจึงถูกสร้างขึ้นมาให้นั่งประทับอยู่บนพญาเต่าเรือน วันนี้ออโรร่าจะพามาไขข้อสงสัยกันค่ะ

ตำนานพญาเต่าเรือน 

ในอดีต สมัยพุทธกาล มีผัวเมียคู่หนึ่ง อาศัยอยู่ริมแม่น้ำใหญ่ เป็นพญากาเผือก ตัวเมียได้ออกไข่มา 5 ฟอง อยู่มาวันหนึ่งทั้งคู่ได้ออกบินไปหากิน ทิ้งไว้แต่ไข่ทั้ง 5 ฟอง ให้อยู่ในรังกันลำพัง โดยไม่มีใครเฝ้า และในวันนั้นได้เกิดเหตุการณ์พายุเข้าอย่างรุนแรง ไข่ทั้ง 5 ฟองได้ถูกพายุพัดตกลงไปในแม่น้ำคนละทิศคนละทาง ทำให้ไข่พญาเผือกถูกสัตว์ต่างๆ เก็บไปเลี้ยงไว้

ฟองที่ 1 เต่าเก็บไปเลี้ยง

ฟองที่ 2 พญานาคเก็บไปเลี้ยง

ฟองที่ 3 พญาราชสีห์เก็บไปเลี้ยง

ฟองที่ 4 โคเก็บไปเลี้ยง

ฟองที่ 5 ฟองสุดท้าย งูเก็บไปเลี้ยง


 


ไข่ทุกฟองเมื่อถูกเก็บไปเลี้ยง ก็มีพระโพธิสัตว์ต่างๆมาเสวยชาติตามผู้ที่เก็บมาเลี้ยง เพื่อบำเพ็ญบารมี และพญาเต่าเรือน หลวงปู่หลิวเล็งเห็นว่า เป็นสัญลักษณ์ของความเป็นสิริมงคล เป็นสัตว์ที่มีอายุยืนยาว และมีศีลธรรม ท่านจึงนำมาเป็นแบบในการสร้างวัตถุมงคลที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน

เมื่อปี พ.ศ. 2500 วัตถุมงคลของหลวงปู่หลิว ปณฺณโก ถูกสร้างขึ้นที่วัดสนามแย้ ซึ่งแต่ละรุ่นที่ถูกสร้างจะมีพุทธคุณดีหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็น เมตตามหานิยม คงกระพันชาตรี ทำมาค้าขายขึ้น มั่งมีศรีสุข มีโชคมีลาภ มีเงินมีทอง ปราศจากโรคภัย คนในบ้านรักใคร่สามัคคี ปองดองกัน อยู่เย็นเป็นสุข  

คาถาบูชา หลวงปู่หลิว

ให้ตั้งนะโม 3 จบ แล้วสวดมนต์ดังนี้

 “จะขอลาภหลวงปู่หลิว จะมะหาเถรา

สุวรรณะมามา ระชะมามา เพชรชะมามา

อาหาระมามา ขาทะนียะมามา โภชะนียะมามา

สัพเพชะนา พะหูชะนา สัพพะบูชา ภะวันตุเม

นะชาลีติ อาคัจฉัยยะ อาคัจฉาหิ”

คาถาพญาเต่าเรือน

"นะมะภะทะ นาสังสิโม สังสิโมนา สิโมนาสัง โมนาสังสิ นะอุทะกะ เมมะอะอุอะ”

ปัจจุบันผู้คนยังคงให้ความสนใจและต่างพากันไปไหว้สักการบูชาหลวงปู่หลิว ณ วัดไร่แตงทอง จังหวัดนครปฐม แม้ท่านจะมรณภาพไป 20 กว่าปีแล้วก็ตาม ชื่อเสียง ตำนาน และความดีของหลวงปู่หลิวก็ยังคงเป็นที่เล่าขานสืบต่อกันให้รุ่นลูกรุ่นหลานได้รู้จักกันจวบจนปัจจุบัน หากใครที่ได้อ่านมาถึงตรงนี้ อยากสักการะบูชา หลวงปู่หลิว 

อ่านบทความเพิ่มเติมของ สลากไทพลัส

วันเสาร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

เปิดประวัติ หลวงปู่หมุน มหาเถระ 5 แผ่นดิน ผู้สำเร็จมหาวิชาธาตุสี่โดย สลากไทพลัส กองสลากไทพลัส

สวัสดีวันนี้ สลากไทพลัส พามาเปิดประวัติ หลวงปู่หมุน มหาเถระ 5 แผ่นดิน ผู้สำเร็จมหาวิชาธาตุสี่ โปรดใช้วิจารณญาณในการเสพข้อมูล

ประวัติ หลวงปู่หมุน มหาเถระ 5 แผ่นดิน ผู้สำเร็จมหาวิชาธาตุสี่

ในหมู่ของเกจิอาจารย์รุ่นเก่า ชื่อของ หลวงปู่หมุน ฐิตสีโล เป็นอีกหนึ่งครูบาอาจารย์ ที่มีการพูดถึงในเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ เป็นกลุ่มพระภิกษุสายเหนือโลก มีเรื่องราวอภินิหารย์ถึงขนาด มีตำนานการพาลูกศิษย์หายตัวจากศรีสะเกษ มาปรากฏตัวที่กรุงเทพฯ  



สำหรับหลวงปู่หมุน ฐิตสีโล เกิดในสกุล “ศรีสงคราม”  หรือ “แก้วปักปิ่น” ถือกำเนิดเมื่อ วันพฤหัสบดี เดือน 5 ปีชวด พ.ศ. 2437 ณ บ้านจาน อ.กันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ บิดา ชื่อ "ดี" มารดาชื่อ "อั๊ว" มีอาชีพทำไร่ทำนา เป็นเด็กยากจน แต่มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด ต่อมาบิดามารดาเห็นแววทางด้านพระพุทธศาสนา จึงให้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุ 14 ปี และนำไปฝากกับพระอาจารย์สีดาเจ้าอาวาสวัดบ้านจาน ซึ่งเป็นพระที่เชี่ยวชาญด้านกรรมฐานและมีวิชาอาคมที่เก่งมาก 

ท่านบวขเมื่ออายุได้ 23 ปี พ.ศ.2460 ได้เข้าอุปสมบทหมู่จำนวน 9 รูป โดยหลวงปู่เป็นรูปที่ 9 โดยมีโยมลุงของท่านเป็นเจ้าภาพ โดยมีหลวงพ่อสีดา เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อเพ็งเป็นพระอนุสาวนาจารย์และหลวงพ่อผุยเป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้รับรับฉายาว่า "ฐิตสีโล" แปลว่า "ผู้มีศีลตั้งมั่น" จากนั้นได้ศึกษาวิชาความรู้จากครูบาอาจารย์ต่าง ๆ ในแถบนั้นเป็นเวลา 4 ปี ก่อนออกแสวงหาครูบาอาจารย์อื่น ๆ เพื่อศึกษาคันธธุระและวิปัสสนาธุระในชั้นที่สูง ๆ ขึ้นไป

ก่อนที่จะออกเดินทางหาความรู้ศึกษาสรรพวิชาและศึกษามูลขจายน์ ที่กรุงเทพฯ  ก่อนที่จะเดินทางออกศึกษาวิชาอาคมในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ ไม่ว่าจะพ่อท่านคล้าย วาจาสิทธิ์  พระอาจารย์ทิม วัดช้างไห้ สืบวิชามีดหมอหลวงพ่อเดิม จากหลวงพ่อขำ วัดเขาแก้ว และเรียนวิชามหาธาตุสี่ ในสายสมเด็จลุน นครจำปาศักดิ์ จนสำเร็จ 




หลังจากนั้น หลวงปู่ก็กลับมาจำพรรษา ที่วัดบ้านจาน จนได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส และพระอุปัชฌาย์ รับสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นประทวน ที่" พระครูหมุน ฐิตสีโล" หลวงปู่ได้ปฎิบัติศาสนกิจตามที่ได้รับมอบหมายเป็นเวลาถึง 20 ปี จึงลาออกจากทุกตำแหน่ง ต้องการใช้ชีวิตที่เหลือบำเพ็ญสมณธรรมปฏิบัติพระวิปัสสนาธุระ อย่างเดียว ประมาณปี 2487 ในช่วงที่หลวงปู่อายุ 50 ปี ท่านเก็บบริวารออกธุดงค์บำเพ็ญเพียรอยู่ในป่าดงดิบ โดยลำพังแต่ผู้เดียว และในช่วงนี้เองที่หลวงปู่ได้พบกับอาจารย์จ่อยและอาจารย์ขวัญ วัดป่าหนองหล่ม ในระหว่างที่หลวงปู่ธุดงค์โดยบังเอิญ อาจารย์ทั้ง 2 จึงได้นิมนต์หลวงปู่โปรดญาติโยมที่วัดป่าหนองหล่ม หลังจากที่หลวงปู่หมุนเดินธุดงค์แสวงหาธรรม อยู่หลายสิบปี ประมาณปี 2520 ท่านจึงกลับมายังวัดบ้านจาน ซึ่งวัดบ้านจานในยามนั้น มีอายุกว่า 200 ปี อยู่ในสภาพทรุดโทรม ท่านจึงได้พัฒนาวัด สร้างอุโบสถขึ้นมา ด้วยหยาดเหงื่อและแรงจิต ทำให้อุโบสถเสร็จสมบูรณ์ในเวลาอันสั้น

ปี พ.ศ.2464 หลวงปู่หมุนเริ่มออกศึกษาแสวงหาประสบการณ์โดยได้ร่ำเรียนทั้งเวทย์วิทยาและสมถกรรมฐานจากครูบาอาจารย์หลายสำนัก ศึกษาวิชาอาคมที่ สำนักตักศิลาแห่งบ้านจิกใหญ่ อ.พิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี กระทั่งศึกษาคัมภีร์มหาพุทธาคมอันเป็นแม่บทของคัมภีร์ปถมัง คัมภีร์อิทธิเจ คัมภีร์มหาราช คัมภีร์ตรีนิสิงเห ซึ่งเป็นพื้นฐานแห่งอำนาจจิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งตำราพิชัยสงคราม เช่น คัมภีร์นิติประกาศิต คัมภีร์ธนูรเวทว่าด้วยการแต่งเครื่องครอบมนตร์ในสงคราม เป็นต้น

 



นอกจาก นี้ท่านยังได้ช่วยเหลือ ลูกศิษย์และสหธรรมิก อีกหลายวัดเช่น วัดป่าหนองหล่ม, วัดโนนผึ้ง ,วัดซับลำใย, และคณะศิษย์วัดสุทัศน์ฯ ในการสร้างถาวรวัตถุของวัด จนเป็นที่มาของ วัตถุมงคลที่ได้รับความนิยมในหลายรุ่นต่อมา ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกเมื่อวัตถุมงคลและเครื่องรางของขลังแทบทุกรุ่น ที่ท่านจัดสร้างขึ้น จึงเป็นที่นิยมในหมู่ศิษยานุศิษย์ ด้วยเชื่อในพลังแห่งบุญฤทธิ์จิตตานุภาพของท่าน

จนกระทั่งเมื่อเวลา 07.30 น. วันที่ 11 มี.ค.2546 หลวงปู่หมุน ฐิตสีโล พระอมตะเถระ 5 แผ่นดิน แห่งวัดบ้านจาน อ. กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ มรณภาพลงอย่างสงบบนกุฎี สิริอายุ 109 ปี 86 พรรษา

บทความชีวประวัติ หลวงปู่มั่นหรือ พระครูวินัยธรมั่น ภูริทตฺโต โดย สลากไทพลัส กองสลากไทพลัส

สลากไทพลัส พามาเปิดประวัติความเป็นมาของ หลวงปู่มั่นหรือ พระครูวินัยธรมั่น ภูริทตฺโต โปรดใช้วิจารณญาณในการเสพข้อมูล


หลวงปู่มั่นหรือ พระครูวินัยธรมั่น ภูริทตฺโต

ถือเป็นพระอาจารย์ใหญ่ของธรรมยุตินิกาย หรือ สายกรรมฐานพระป่า ท่านปฏิบัติตนตามแนวทางคำสอนของพระวินัยสงฆ์ และยึดถือ ธุดงควัตร ด้วยจริยวัตร อย่างเคร่งครัด

ท่านยังได้วางแนวทางในการปฏิบัติสมถะและวิปัสสนาตามหลักธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาพุทธเจ้าให้แก่คนทั่วไปอย่างกว้างขวาง จนมีพระสงฆ์และฆราวาสเป็นลูกศิษย์จำนวนมาก แนวคำสอนของท่านเป็นที่รู้จักกันดีในนามว่า "คำสอนพระป่า สายพระอาจารย์มั่น"

 



หลวงปู่ได้บวชเป็นสามเณรเมื่ออายุ 15 ปี ณ วัดบ้านคำบง เมื่อบวชได้ 2 ปี บิดาขอร้องให้ลาสิกขาเพื่อช่วยการงานทางบ้าน แต่จิตท่านกลับคิดถึงแต่ร่มผ้ากาสาวพัสตร์อยู่เนืองนิจ ต่อมาหลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโลได้เดินธุดงค์มาปักกลดอยู่ที่ บ้านคำบง พระอาจารย์มั่นในขณะเป็นฆราวาสจึงเข้าถวายการรับใช้และมีจิตศรัทธาในข้อวัตรปฏิบัติของหลวงปู่เสาร์ ต่อมาได้ถวายตัวเป็นศิษย์ติดตามเดินทางเข้าเมืองอุบลราชธานี

หลวงปู่ได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อ อายุ 23 ปี ณ วัดเลียบ อ.เมือง จังหวัดอุบลราชธานี ในวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2436 โดยมีพระอริยกระวี (อ่อน ธมฺมรกฺขิโต) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูสีทา ชยเสโน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูประจักษ์อุบลคุณ (สุ่ย ญาณสโย) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับขนาดนามเป็นภาษามคธว่า ภูริทตฺโต แปลว่า ผู้ให้ปัญญา

หลังจากนั้นได้ศึกษาธรรมปฏิบัติ ณ วัดเลียบ จังหวัดอุบลราชธานีในปี พ.ศ. 2436 และได้ออกจาริกเดินธุดงค์ติดตามหลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล ต่อมาพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ได้ธุดงค์วิเวกไปพำนักจำพรรษา ณ พระธาตุพนม ในปี พ.ศ. 2443 ซึ่งพระธาตุพนมในสมัยก่อน ประชาชนไม่รู้ถึงความสำคัญจึงไม่มีใครสนใจเท่าใดนัก เมื่อคณะของท่านมาพำนักจำพรรษาจึงได้บอกให้ชาวบ้านญาติโยมทราบว่า พระธาตุพนม องค์นี้เป็นพระธาตุอันศักดิ์สิทธิ์ เพราะเป็นพระธาตุที่บรรจุอัฐิธาตุของพระพุทธเจ้า เมื่อชาวบ้านได้รู้เช่นนั้นแล้ว ก็พากันบังเกิดปีติยินดีเป็นอย่างยิ่ง จึงช่วยกันทำความสะอาด ครั้นถึงวันเพ็ญเดือน 3 ก็พาญาติโยมทั้งหลายทำบุญ จนเป็นประเพณีสืบต่อกันมา




ปี พ.ศ. 2455 พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ได้ออกธุดงค์วิเวกเพียงลำพังองค์เดียว ได้ไปพำนักปักหลักบำเพ็ญเพียรที่ถ้ำสาริกา จังหวัดนครนายก ณ ถ้ำสาริกา แห่งนี้ ท่านได้รู้ได้เห็นธรรมอันอัศจรรย์ และได้ประสบเหตุการณ์ต่าง ๆ หลายประการ อย่างตอนที่ท่านรู้สึกว่าโรคเจ็บท้องที่เคยเป็นประจำชักกำเริบและมีอาการรุนแรงขึ้นตามลำดับ แต่ด้วยเหตุว่าท่านได้บำเพ็ญบารมี (กำลังใจในการปฏิบัติที่สั่งสม) ไว้มากในพระบวรพุทธศาสนา ท่านจึงตัดสินใจออกไปนั่งสมาธิ  เจริญอสุภะกรรมฐาน จนกระทั่งจิตเกิดความอัศจรรย์ สามวันสามคืน พอจิตของท่านอิ่มตัวจากการประพฤติปฏิบัติ ได้เกิดนิมิตต่าง ๆ ขึ้นมา

จึงนำสิ่งที่ได้พบได้เห็นมาพิจารณาธรรมในข้อที่ว่า "กายะ ทุกขัง อริยสัจจัง" คือว่าพิจารณาว่ากายเป็นทุกข์ ไม่ทำให้เกิดความสุขให้เรา ระหว่างการภาวนาท่านระลึกได้ว่า ท่านเคยปรารถนาพุทธภูมิ (ปรารถนาจะเป็นพระพุทธเจ้า) จึงค้นลงไปอีกว่าปรารถนาตอนไหน พอเห็นว่าปรารถนาเมื่อสมัยพระศาสนาของพระโคตมพุทธเจ้า จึงเห็นว่าผ่านมานานแล้ว ท่านเล่าอีกว่าถอนความปรารถนานั้น มุ่งมั่นความพ้นทุกข์ในปัจจุบันชาติ จากนั้นเกิดเหตุในนิมิตว่า มียักษ์ตนหนึ่งจะเข้ามาทำร้าย แต่ไม่สามารถทำร้ายท่านได้ ยักษ์ได้ยอมแพ้และได้เนรมิตรกายกลับเป็นเทพบุตรกล่าวอ้างพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง ในกาลเวลาต่อมา จิตท่านจึงรวม เห็นโลกทั้งโลกราบเรียบเตียนโล่งเสมอด้วยลักษณะทั้งสิ้นภายในจิต

หลวงปู่มั่น ภูริทัตฺตมหาเถระ ละสังขารเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2492 อายุ 79 ปี 56 พรรษา ณ วัดป่าสุทธาวาส อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร ซึ่งต่อมาอัฐิของท่านได้แปรสภาพกลายเป็นพระธาตุในหลายที่ได้มีการแจกตามจังหวัดต่างๆที่ได้ส่งตัวแทนมารับ




โดยแนวปฏิบัติ ที่ท่านยึดมั่นมาตลอดชีวิตนั้น คือธุดงค์ ซึ่งธุดงควัตรข้อสำคัญที่ท่านสามารถยึดมั่นมาตลอดจนวาระสุดท้ายของชีวิต มี 7 ประการ คือ

ปังสุกุลิกังคธุดงค์ - ถือนุ่งห่มผ้าบังสุกุล

ปิณฑปาติกังคธุดงค์ - ถือภิกขาจารวัตร เที่ยวบิณฑบาตมาฉันเป็นนิตย์

เอกปัตติกังคธุดงค์ - ถือฉันในบาตร ใช้ภาชนะใบเดียวเป็นนิตย์

เอกาสนิกังคธุดงค์ - ถือฉันหนเดียวเป็นนิตย์

ขลุปัจฉาภัตติกังคธุดงค์ - ถือลงมือฉันแล้วไม่ยอมรับเพิ่ม

เตจีวริตังคธุดงค์ - ถือใช้ผ้าไตรจีวร 3 ผืน

อารัญญิกังคะ - ถือละเว้นการอยู่ในเสนาสนะใกล้บ้าน

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ท่านเป็นพ่อแม่ครูบาอาจารย์พระกรรมฐานแห่งยุค ตำนานชีวิตของท่านถูกกล่าวขานกันไม่รู้จบ เป็นที่ประจักษ์แก่ศิษผู้ใกล้ชิดถึงญาณความรู้กว้างขวางแม่นยำทุกด้านหาผู้เสมอได้ยากยิ่ง  มีผู้สนใจในธรรมปฏิบัติได้ติดตามศึกษา อบรมจิตใจมากมาย ศิษยานุศิษย์ของท่าน ได้แพร่กระจายไปทั่วทุกภาคของประเทศไทย ธรรมะของหลวงปู่มั่นเป็นธรรมะที่ออกมาจากใจ เฉียบคมเต็มไปด้วยข้อคิด ปัญญา เป็นมรดกตกทอดมาให้ลูกหลานชาวพุทธจนถึงทุกวันนี้ บทความนี้จึงขอส่งต่อวิทยาทานดี ๆ ให้เราชาวพุทธศึกษาและนำไปปฏิบัติกัน

อ่านบทความเพิ่มเติมของ สลากไทพลัส

ป้อมไพรีพินาศ

ที่เที่ยวโบราณ ป้อมไพรีพินาศ จังหวัดจันทบุรี ป้อมไพรีพินาศ ตั้งอยู่บนเขาแหลมสิงห์ หมู่ 1 ตำบลบางกะไชย อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี เป็นป้อ...