วันศุกร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2566

ประวัติวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม:โดย สลากไทพลัส กองสลากไทพลัส

สวัสดีวันนี้ สลากไทพลัส พามาชมประวัติวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม  เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

ประวัติวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม

วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่ที่แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร วัดราชประดิษฐฯ เป็นวัดที่มีขนาดเล็กมาก ด้วยเนื้อที่เพียง 2 ไร่ 2 งานกับ 98 ตารางวาเท่านั้น และได้รับพระราชทานกำหนดเขตที่ดินเพิ่ม จากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในเขตนอกมหาสีมา และอุปาจารวัด โดยมีอาณาเขต ทิศเหนือจรดพระราชวังสราญรมย์ หรือกรมแผนที่ทหารในปัจจุบัน ทิศใต้จรดพระราชอุทยานสราญรมย์ ทิศตะวันออกจรดซอยราชินี คลองหลอด และทิศตะวันตกจรดทำเนียบองคมนตรี



วัดราชประดิษฐฯ เป็นวัดที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น ตามธรรมเนียมประเพณีโบราณที่ว่า ในราชธานีจะต้องมีวัดสำคัญประจำ 3 วัด คือ วัดมหาธาตุ วัดราชบูรณะ วัดราชประดิษฐาน จึงทรงสร้างขึ้นใหม่เพื่อให้ครบตามโบราณราชประเพณี และเพื่อพระอุทิศถวายแก่พระสงฆ์ฝ่ายธรรมยุติกนิกายเพื่อที่พระองค์เองและเจ้านาย ข้าราชการ ที่จะไปทำบุญที่วัดฝ่ายธรรมยุติกนิกายใกล้พระบรมมหาราชวังได้สะดวก วัดราชประดิษฐฯ จึงเป็นวัดฝ่ายธรรมยุติกนิกายวัดแรกที่สร้างขึ้นเพื่อพระสงฆ์ในนิกายนี้ เพราะวัดอื่น ๆ ของฝ่ายธรรมยุตเป็นวัดที่แปลงมาจากวัดของมหานิกาย และด้วยเหตุนี้เองวัดแห่งนี้จึงได้รับยกให้เป็นวัดประจำรัชกาลที่ 4



ถึงแม้ว่าวัดแห่งนี้จะมีพื้นที่เพียงเล็กน้อย แต่ภายในพระอารามนี้ก็ประกอบไปด้วยปูชนียวัตถุ ปูชนียสถานมากมาย เช่น พระวิหารหลวง พระปาสาณเจดีย์ หรือพระเจดีย์ที่ประกบ และฉลุด้วยหินอ่อน ปราสาทพระจอม ปราสาทพระไตรปิฏก ปรางค์ขอม และพระที่นั่งทรงธรรมหรือศาลาการเปรียญ ที่เป็นที่ตั้งธรรมาสน์ยอดมงกุฎ และในพระวิหารหลวงของวัดก็เป็นที่สถิตของพระประธาน "พระพุทธสิหิงคปฏิมากร" ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงให้จำลองจากพระพุทธสิหิงค์องค์จริงที่พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พระชินสีห์น้อย พระศรีศาสดาน้อย พระพุทธชินราชน้อย และพระพุทธสิหังค์น้อย



วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามสร้างขึ้นในที่ดิน ซึ่งเดิมเคยเป็นสวนกาแฟหลวง สมัยรัชกาลที่ 3 และเป็นโรงเรือนที่อยู่อาศัยของข้าราชการในรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงขอซื้อที่เพื่อสร้างวัดธรรมยุติกนิกาย เมื่อ พ.ศ. 2407 เพื่อสำหรับเจ้านาย ข้าราชการ ฝ่ายหน้า-ใน ได้บำเพ็ญกุศลสะดวกขึ้น เพราะใกล้พระบรมมหาราชวัง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานนามว่า "วัดราชประดิษฐสถิตธรรมยุติการาม" เมื่อสร้างเสร็จแล้วได้เปลี่ยนเป็น "วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม" เพื่อให้เหมาะสมกับเป็นที่ประดิษฐานหลักศิลา ซึ่งเป็นสีมามีจารึกคาถาบาลีและภาษาไทย ซึ่งเป็นบทพระราชนิพนธ์รวม 10 หลัก



สลากไทพลัส สลากออนไลน์ ใบละ 80บาท ถูกรางวัลรับเต็ม ไม่หักค่าทำเนียม

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม LINE : @STPLUS

หรือ คลิกที่รูปภาพด้านล่าง


อ่านบทความเพิ่มเติมของ สลากไทพลัส


ประวัติวัดมหาธาตุ:โดย สลากไทพลัส กองสลากไทพลัส

สลากไทพลัส ของเราพามาชมประวัติวัดมหาธาตุ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 

วัดมหาธาตุ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นหนึ่งในวัดในเขตอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา วัดมหาธาตุเป็นวัดที่มีความสำคัญยิ่งในสมัยกรุงศรีอยุธยา เพราะเป็นวัดที่ประดิษฐานพระบรมธาตุใจกลางพระนคร และเป็นที่พำนักของสมเด็จพระสังฆราชฝ่ายคามวาสีอีกด้วย วัดแห่งนี้จึงได้รับการก่อสร้างและดูแลตลอดเวลาจวบจนถูกทำลายและถูกทิ้งร้างลงหลังเสียกรุงครั้งที่ 2



ประวัติวัดมหาธาตุ

วัดมหาธาตุเป็นพระอารามหลวง ตั้งอยู่ใกล้วัดราชบูรณะ ในบริเวณอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา สร้างในสมัย สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 ขุนหลวงพะงั่ว เมื่อปี พ.ศ. 1917 แต่ไม่แล้วเสร็จ ทรงเสด็จสวรรคตเสียก่อน และได้สร้างเพิ่มเติมจนเสร็จ ในสมัย สมเด็จพระราเมศวร โดยได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระปรางค์ประธาน และอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุมาบรรจุไว้ใต้ฐานพระปรางค์ประธานของวัดมหาธาตุ เมื่อปี พ.ศ. 1927 ซึ่งปรากฏในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา



ความสำคัญของวัดมหาธาตุนั้น นอกจากจะเป็นที่ประดิษฐานองค์พระบรมสารีริกธาตุแล้ว ยังถือเป็นวัดที่เป็นศูนย์กลางเมืองและเป็นสถานที่จัดพระราชพิธีต่าง ๆ ของกรุงศรีอยุธยา โดยมีสมเด็จพระสังฆราช ฝ่ายคามวาสีประทับอยู่ภายในวัด ส่วนพระสังฆราช ฝ่ายอรัญวาสีนั้น ประทับอยู่ที่วัดป่าแก้ว (วัดใหญ่ชัยมงคล) นอกจากนี้ยังเป็นสถานที่ ๆ พระศรีศิลป์และจหมื่นศรีสรรักษ์ พร้อมคณะได้ซุ่มพลที่ปรางค์วัดมหาธาตุ ก่อนยกพลเข้าพระราชวังทางประตูมงคลสุนทร เพื่อจับกุมสมเด็จพระศรีเสาวภาคย์



ในสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ปรางค์ของวัดองค์เดิมที่สร้างด้วยศิลาแลง ยอดพระปรางค์ได้ทลายลงมาเกือบครึ่งองค์ถึงชั้นครุฑ แต่จะด้วยเหตุผลประการใดไม่ทราบ จึงยังมิได้ซ่อมแซมให้คืนดีดั้งเดิมในรัชกาลนั้น ต่อมาสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ทรงบูรณะใหม่รวมเป็นความสูง 25 วา เมื่อปี พ.ศ. 2176 และในสมัยสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ เมื่อปี พ.ศ. 2275 - 2301 จนถึงช่วงเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่2 วัดมหาธาตุโดนทำลายจนเหลือเพียงซากปรักหักพังและถูกทิ้งร้าง ต่อมายอดพระปรางค์ได้พังทลายลงมาอีกครั้งในรัชสมัยรัชกาลที่ 5


สลากไทพลัส สลากออนไลน์ ใบละ 80บาท ถูกรางวัลรับเต็ม ไม่หักค่าทำเนียม

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม LINE : @STPLUS

หรือ คลิกที่รูปภาพด้านล่าง


อ่านบทความเพิ่มเติมของ สลากไทพลัส


วันพฤหัสบดีที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2566

ประวัติวัดพวกหงษ์:โดย สลากไทพลัส กองสลากไทพลัส

สวัสดีวันนี้ สลากไทพลัส จะพามาชมประวัติวัดพวกหงษ์ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

ประวัติวัดพวกหงษ์

วัดพวกหงษ์ เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในตำบลพระสิงห์ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่



วัดพวกหงษ์ สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นวัดที่สร้างโดยขุนนางระดับล่าง ซึ่งเป็นหัวหน้าช่าง ในอำเภอเมืองเชียงใหม่ มีจำนวน 4 วัด คือ วัดพวกช้าง พ.ศ. 2040 วัดพวกแต้ม พ.ศ. 2038 วัดพวกเปีย และวัดพวกหงษ์ พ.ศ. 2060 ผู้ที่สร้างวัดพวกหงษ์ คือ หัวหน้าช่างในกลุ่มพวกหงษ์



ต่อมาได้รับการบูรณะในสมัยพระเจ้าไชยเชษฐา เมื่อ พ.ศ. 2364 สิ่งก่อสร้างที่เก่าแก่ที่สุดของวัด คือ เจดีย์ทรงกลม สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างเมื่อพุทธศตวรรษที่ 21 เป็นเจดีย์ทรงกลม ตัวพระธาตุเจดีย์ก่ออิฐถือปูนฐานเป็นสี่เหลี่ยม แล้วก่อขึ้นไปเป็นปล่องเจ็ดชั้น แต่ละชั้นมีซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปโดยรอบชั้นละ 12 ซุ้ม



นอกจากนั้นยังมีวิหารศิลปะล้านนา มีการดัดแปลงซ่อมแซมไปบางส่วน อุโบสถล้านนาที่สร้างในพุทธศตวรรษที่ 24 ลงมา กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนและกำหนดขอบเขตในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 97 ตอนที่ 41 ลงวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2523



สลากไทพลัส สลากออนไลน์ ใบละ 80บาท ถูกรางวัลรับเต็ม ไม่หักค่าทำเนียม

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม LINE : @STPLUS

หรือ คลิกที่รูปภาพด้านล่าง


อ่านบทความเพิ่มเติมของ สลากไทพลัส



ประวัติวัดกุฎีดาว:โดย สลากไทพลัส กองสลากไทพลัส

วันนี้ สลากไทพลัส พามาชมประวัติวัดกุฎีดาว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ประวัติวัดกุฎีดาว

ประวัติการก่อสร้างวัดกุฎีดาวไม่ชัดเจน ปรากฏในหนังสือ พงศาวดารเหนือ ว่า พระยาธรรมิกราช ซึ่งเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสายน้ำผึ้งทรงสร้างเมื่อจุลศักราช 671 ปีเถาะ เอกศก และพระอัครมเหสี ของพระองค์ทรงสร้างวัดมเหยงคณ์ขึ้นคู่กัน ส่วนใน คำให้การขุนหลวงหาวัด กล่าวว่า "พระมหาบรมราชาทรงสร้างวัดกุฎีดาว (กุฎิทวา) และพระภูมินทราธิบดีทรงสร้างวัดมเหยงคณ์" แต่พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาหลายฉบับกล่าวความต้องกันว่า "สมเด็จพระบรมราชาธิราช (เจ้าสามพระยา) ทรงสร้างวัดมเหยงคณ์และไม่มีฉบับใดกล่าวถึงวัดกุฎีดาว จนกระทั่งสมัยอยุธยาตอนปลาย เมื่อมีการบูรณปฏิสังขรณ์ วัดมเหยงคณ์ครั้งใหญ่ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ" จึงสันนิษฐานได้ว่า วัดกุฎีดาวอาจจะสร้างรุ่นราวคราวเดียวกับวัดมเหยงคณ์ หรือหลังจากวัดมเหยงคณ์เล็กน้อย



แต่หลักฐานการปฏิสังขรณ์มีเนื้อหาทำนองเดียวกันคือ วัดกุฎีดาวได้รับการปฏิสังขรณ์โดยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศซึ่งขณะนั้นดำรงพระอิสริยยศกรมพระราชวังบวรสถานมงคล เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2254–2258 โดย พ.ศ. 2258 มีการจัดงานฉลองวัดเป็นงานใหญ่ ดังข้อความว่า "ณ ปีมะแม สัปตศกนั้น พระมหาอุปราชให้ฉลองวัดกุฎีดาว บำเพ็ญพระราชกุศลให้ทานสักการบูชาแก่พระรัตนตรัยเป็นอันมาก ให้เล่นงานมหรสพสมโภช ๗ วัน การฉลองนั้นสำเร็จบริบูรณ์"

หลังจากนี้ไม่มีเรื่องราวถึงวัดกุฎีดาวในเรื่องของการก่อสร้างหรือซ่อมแซมอีก แต่ปรากฏว่าวัดกุฎีดาวเป็นวัดหลวง ปรากฏหลักฐานเมื่อสมเด็จพระเจ้าอุทุมพรเสด็จขึ้นครองราชย์ใหม่ ๆ ทรงนิมนต์พระราชาคณะ 5 รูป ช่วยเจรจา ประนีประนอมกับเจ้าสามกรม หนึ่งในนั้นคือ พระเทพมุนีวัดกุฎีดาว ซึ่งต่อมาเป็นสมเด็จพระสังฆราชในสมัยสมเด็จพระเจ้าเอกทัศ



โบราณสถาน

ซากโบราณสถานของวัดกุฎีดาวเป็นกลุ่มโบราณสถานในเขตพุทธาวาส อยู่ในวงกำแพงแก้ว มีเฉพาะอาคารพระตำหนัก หรือที่เรียกกันว่า กำมะเลียน เท่านั้น ส่วนที่อยู่นอกกำแพงแก้วด้านทิศเหนือ เข้าใจว่าอาจเป็นเขตสังฆาวาสในสมัยโบราณ แต่กุฎิเสนาสนะอื่น ๆ คงปรักพังสูญหายไปตามกาลเวลา เนื่องจากสมัยโบราณนิยมสร้างด้วยเครื่องไม้

ในเขตพุทธาวาส ประกอบด้วยกำแพงและซุ้มประตู ทอดยาวจากทิศตะวันออกไปสู่ทิศตะวันตก ล้อมรอบเขตพุทธาวาส อุโบสถตั้งอยู่ด้านหน้าวัดและหน้าเจดีย์ใหญ่ ลักษณะฐานด้านข้างเป็นเส้นโค้งหย่อนดังท้องสำเภาตามแบบอยุธยาสภาพอาคารปัจจุบันปรักพัง เหลือผนังเพียง 3 ด้าน คือ ด้านหน้าและด้านข้างทั้งสอง หลังคาคงจะเป็นเครื่องไม้มุงกระเบื้องซึ่งหักพังหมดแล้วเหลือร่องรอยเป็น ช่องรับขื่อคานและคันทวย เจดีย์ประธานตั้งอยู่หลังอุโบสถ ปัจจุบันอยู่ในสภาพปรักพัง มียอดหัก เหลือเพียงองค์ระฆังบางส่วน เจดีย์องค์นี้คงได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ไม่ต่ำกว่า 2 ครั้ง วิหารตั้งอยู่หลังเจดีย์ประธาน ขนาดอาคารเล็กกว่าอุโบสถ แต่ฐานมุขด้านหน้าและหลังไม่ได้ย่อมุม ด้านข้างเป็นเส้นโค้งหย่อนท้องสำเภาน้อยกว่าอุโบสถ มีเจดีย์รายกระจายอยู่ตามจุดต่าง ๆ รวม 14 องค์



ด้านนอกกำแพงประกอบด้วย กุฏิสงฆ์เหลือเพียงฐาน ตั้งอยู่นอกกำแพงด้านทิศใต้ พระตำหนักหรือกำมะเลียน เป็นอาคาร 2 ชั้น ก่ออิฐถือปูน สันนิษฐานว่าเป็นที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ ขณะ เมื่อประทับแรมควบคุมการบูรณปฏิสังขรณ์วัด หลังจากนั้นคงจะถวายวัด และอาจใช้เป็นกุฎิเจ้าอาวาสหรือ ศาลาการเปรียญ มีหน้าต่างเป็นทรงโค้งแหลม ภายในอาคารชั้นล่าง มีเสาตอม่อ 8 เหลี่ยม 2 แถว แถวละ 10 ต้น


สลากไทพลัส สลากออนไลน์ ใบละ 80บาท ถูกรางวัลรับเต็ม ไม่หักค่าทำเนียม

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม LINE : @STPLUS

หรือ คลิกที่รูปภาพด้านล่าง


อ่านบทความเพิ่มเติมของ สลากไทพลัส


ประวัติความเป็นมาของวัดวัดไชยวัฒนาราม:โดย สลากไทพลัส กองสลากไทพลัส

สลากไทพลัส พามาชมประวัติความเป็นมาของวัดวัดไชยวัฒนาราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

วัดไชยวัฒนาราม หรือ วัดชัยวัฒนาราม เป็นวัดเก่าแก่สมัยอยุธยาตอนปลายในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตั้งอยู่ที่ ตำบลบ้านป้อม อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา บริเวณริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ทางฝั่งตะวันตกนอกเกาะเมือง วัดไชยวัฒนาราม ถือเป็นอีกหนึ่งสถานที่สำคัญของกรุงศรีอยุธยา



วัดไชยวัฒนารามเป็นวัดสร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง พ.ศ. 2173โดยเดิมบริเวณที่ตั้งของวัดแห่งนี้เคยเป็นที่อยู่ของพระราชมารดาที่ได้สิ้นพระชนม์ไปก่อนที่พระเจ้าปราสาททองได้เสวยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์ เมื่อพระองค์ได้เสวยราชสมบัติ พระองค์จึงได้สร้างวัดไชยวัฒนารามขึ้นเพื่ออุทิศผลบุญนี้ให้กับพระราชมารดาของพระองค์ และอีกประการหนึ่งวัดนี้อาจถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งชัยชนะเหนือเขมรด้วย จึงทำให้มีรูปแบบทางสถาปัตยกรรมส่วนหนึ่งมาจากปราสาทนครวัด

ประวัติ

วัดไชยวัฒนาราม ได้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2173 โดยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นบนที่ที่เป็นบ้านเดิมของพระองค์เพื่ออุทิศพระราชกุศลถวายพระราชมารดา แต่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่าวัดนี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งชัยชนะเหนือนครละแวกโดยจำลองแบบมาจากปราสาทนครวัด

วัดไชยวัฒนารามเป็นวัดหลวงที่บำเพ็ญพระราชกุศลของพระมหากษัตริย์สืบต่อมาหลังจากนั้นทุกพระองค์ จึงได้รับการปฏิสังขรณ์สืบต่อมาทุกรัชสมัย เป็นสถานที่ถวายพระเพลิงศพพระบรมวงศานุวงศ์เกือบทุกพระองค์ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศสวรรคตก็ได้ถวายพระเพลิงที่วัดนี้




ก่อนกรุงแตก พ.ศ. 2310 วัดไชยวัฒนารามถูกแปลงเป็นค่ายตั้งรับศึก หลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง วัดไชยวัฒนารามได้ถูกปล่อยทิ้งให้ร้างเรื่อยมา บางครั้งมีผู้ร้ายเข้าไปลักลอบขุดหาสมบัติ เศียรพระพุทธรูปถูกตัดขโมย มีการรื้ออิฐที่พระอุโบสถ และกำแพงวัดไปขาย แต่ในปี พ.ศ. 2530 กรมศิลปากรจึงได้เข้ามาอนุรักษ์จนแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2535

สถาปัตยกรรมปรางค์ประธานฐานภายใน

วัดไชยวัฒนาราม มีปรางค์ประธานและปรางค์มุมอยู่บนฐานเดียวกัน พระปรางค์ประธานนำรูปแบบของพระปรางค์สมัยอยุธยาตอนต้นมาก่อสร้าง แต่ปรางค์ประธานที่วัดไชยวัฒนารามทำมุขทิศยื่นออกมามากกว่า บนยอดองค์พระปรางค์ใหญ่อาจเคยประดิษฐานเจดีย์ขนาดเล็ก สื่อถึงพระเจดีย์จุฬามณีบนยอดเขาพระสุเมรุ รอบพระปรางค์ใหญ่ล้อมรอบไปด้วยระเบียงคตที่เดิมนั้นมีหลังคา ภายในระเบียงคตประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัยที่เคยลงรักปิดทองจำนวน 120 องค์ เป็นเสมือนกำแพงเขตศักดิ์สิทธิ์ ตามแนวระเบียงคตตรงทิศทั้งแปดสร้างเมรุทิศ และ เมรุมุม (เจดีย์รอบ ๆ พระปรางค์ใหญ่) ภายในเมรุทุกองค์ประดิษฐานพระพุทธรูป ภายในซุ้มเรือนแก้วล้วนลงรักปิดทอง ฝาเพดานทำด้วยไม้ประดับลวดลายลงรักปิดทองเช่นกัน



พระอุโบสถ

พระอุโบสถ สร้างอยู่ทางด้านหน้ากำแพงเมรุทิศเมรุราย นอกระเบียงคต ปัจจุบันเหลือแต่ฐาน ข้าง ๆ มีเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง มีกำแพงล้อมรอบโบราณสถานสำคัญแหล่านี้ถึง 3 ชั้น และ มีปรางค์เจดีย์ขนาดย่อมอีกจำนวนหนึ่งซึ่งสร้างเพิ่มในภายหลัง

เมรุทิศเมรุราย

เมรุทิศเมรุราย ตั้งล้อมรอบพระปรางค์อยู่ทั้งสิ้น 8 องค์ โดยผนังภายในเมรุเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังรูปใบไม้ใบกนก ซึ่งลบเลือนไปมากแล้ว ผนังด้านนอกของเมรุมีภาพปูนปั้นพุทธประวัติ จำนวน 12 ภาพ ซึ่งในปัจจุบันเลือนไปแล้วเช่นกัน แต่เมื่อ 20 ปีที่แล้วยังสามารถเห็นได้ชัด เมรุเป็นทรงปราสาท ซ้อนลดหลั่นกันขึ้นไป 7 ชั้น รองรับส่วนยอดที่ ชื่อที่มานั้นนำมาจากเมรุ พระบรมศพพระมหากษัตริย์สมัยพระนครศรีอยุธยา ซึ่งมีแนวความคิด มาจากคติเขาพระสุเมรุอีกต่อหนึ่ง พระพุทธรูปปูนปั้นที่ประดิษฐานอยู่ภายในเมรุทิศเมรุมุม ของระเบียงคตวัดไชยวัฒนาราม มีลักษณะคล้ายคลึงกับพระพุทธนิมิตวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญบรมไตรโลกนาถ (หรือพระพุทธนิมิต) ซึ่งเป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องใหญ่ ประดิษฐานอยู่ที่วัดหน้าพระเมรุ ซึ่งสันนิษฐานว่าได้รับการปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง เช่นเดียวกัน



สลากไทพลัส สลากออนไลน์ ใบละ 80บาท ถูกรางวัลรับเต็ม ไม่หักค่าทำเนียม

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม LINE : @STPLUS

หรือ คลิกที่รูปภาพด้านล่าง


อ่านบทความเพิ่มเติมของ สลากไทพลัส


วันอังคารที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2566

ประวัติพระหลวงปู่โต๊ะ:โดย สลากไทพลัส กองสลากไทพลัส

สลากไทพลัส จะพามาชมประวัติพระหลวงปู่โต๊ะสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ประวัติ

พระราชสังวราภิมณฑ์ หรือ หลวงปู่โต๊ะ เกิดเมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2430 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ท่านเป็นชาวสมุทรสงครามโดยกำเนิด เป็นบุตรของนายพลอย และนางทับ รัตนคอน มีพี่น้องอยู่ร่วมกัน 2 คน ซึ่งถึงแก่กรรมก่อนหลวงปู่ตั้งนานแล้ว ในวัยเด็ก เด็กชายโต๊ะ 




ได้เข้าเรียนวิชาอยู่ที่วัดเกาะแก้ว (จังหวัดสมุทรสงคราม) ใกล้บ้านเกิดของท่าน เมื่อมารดาถึงแก่กรรม พระภิกษุแก้ว เห็นความขยันหมั่นเพียรของเด็กชายโต๊ะ จึงได้พาเด็กชายโต๊ะ มาฝากอยู่กับพระอธิการสุข เจ้าอาวาสวัดประดู่ฉิมพลีในสมัยนั้น ส่วนนายเฉื่อยก็ไม่ได้ตามมาด้วย คงอยู่ที่วัดเกาะแก้วเหมือนเดิม ท่านได้มาเรียนหนังสืออยู่ที่วัดประดู่ฉิมพลีอยู่เป็นเวลาอยู่ 4 ปี ก็ได้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุได้ 17 ปี เมื่อปี พ.ศ. 2447 โดยมีพระอธิการสุขเป็นอุปัชฌาย์ บรรพชาได้วันเดียวพระอธิการสุข 




ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์และผู้อุปการะของท่านก็ได้มรณภาพ นายคล้าย นางพันธ์ ซึ่งเป็นพี่ชายกับพี่สะใภ้ของพระอธิการสุข และมีบ้านอยู่ใกล้วัดประดู่ฉิมพลีจึงได้อุปการะท่านต่อมา เมื่อบรรพชาแล้ว ท่านก็มาเรียนศึกษาพระธรรมวินัยอยู่ที่ วัดประดู่ฉิมพลี ซึ่งต่อมามีพระอธิการคำ เป็นเจ้าอาวาสสืบต่อมา พร้อมทั้งเรียนกรรมฐานกับพระอาจารย์พรหม วัดประดู่ฉิมพลีอีกท่านหนึ่งด้วย จนกระทั่งเมื่อมีอายุได้ 20 ปี สามเณรโต๊ะ ได้เข้าพิธีอุปสมบทเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2450 ณ พัทธสีมา วัดประดู่ฉิมพลี โดยมีพระครูสมณธรรมสมาทาน (แสง) วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูอักขรานุสิต (ผ่อง) 



วัดนวลนรดิศ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูธรรมวิรัต (เชย) วัดกำแพง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาทางธรรมว่า อินทสุวัณโณ หลงจากนั้น ท่านได้เรียนศึกษาปฏิบัติคันทธุระ วิปัสสนาธุระ หลวงปู่โต๊ะ ท่านเป็นคนมีความเพียรพยายาม จนกระทั่งสอบได้นักธรรมชั้นตรี ต่อมาพระอธิการคำ ได้มรณภาพลง ทางคณะสงฆ์จึงได้แต่งตั้งท่านให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดประดู่ฉิมพลีสืบต่อมาเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2456


สลากไทพลัส สลากออนไลน์ ใบละ 80บาท ถูกรางวัลรับเต็ม ไม่หักค่าทำเนียม

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม LINE : @STPLUS

หรือ คลิกที่รูปภาพด้านล่าง


อ่านบทความเพิ่มเติมของ สลากไทพลัส



ประวัติสมเด็จบางขุนพรหม พิมพ์ฐานคู่:โดย สลากไทพลัส กองสลากไทพลัส

สวัสดีวันนี้ สลากไทพลัส ของเราพามาชมประวัติสมเด็จบางขุนพรหม พิมพ์ฐานคู่

ประวัติและความเป็นมา "พระสมเด็จบางขุนพรหม พิมพ์ฐานคู่"

พระสมเด็จกรุบางขุนพรหม ความนิยมเป็นอันดับต้นๆของวัตถุมงคลของเมืองไทยเลยทีเดียว พบในเจดีย์ใหญ่วัดใหม่อมตรส เป็นพระที่สมเด็จพุฒาจารย์(โต พรหมรังสี) เป็นผู้สร้างขึ้นได้มีการเปิดกรุครั้งแรกประมาปี พ.ศ.2425-2428 แรกว่าพระกรุเก่าครับ และเปิดกรุครั้งสุดท้ายปี พ.ศ.2500แรกว่าพระกรุใหม่ปัจจุบันพระสมเด็จบางขุนพรหมก็หายากยิ่งครับ




โดยเนื้อหาส่วนผสมของพระสมเด็จบางขุนพรหมก็เหมือนสมเด็จวัดระฆังครับ ซึ่งประกอบด้วยผงวิเศษทั้ง5คือ ปถมัง  อิธะเจ  มหาราช พุทธคุณ ตรีนิสิงเห และนอกจากนั้น ปูน ข้าวสุก กล้วย เกษรดอกไม้ งา น้ำมัน ก็ได้รวมอยู่ในพระทุกองค์ พุทธคุณ เน้นหนักไปทางด้านเมตตามหานิยมแลแคล้วคลาด




พระสมเด็จบางขุนพรหม  มีทั้งหมด9พิมพ์

1 พิมพ์ใหญ่ 

2 พิมพ์เส้นด้าย 

3 พิมพ์ทรงเจดีย์ 

4 พิมพ์เกศบัวตูม 

5 พิมพ์ฐานแซม 

6 พิมพ์ฐานคู่ 

7 พิมพ์สังฆาฏิ 

8 พิมพ์อกครุฑ 

9 พิมพ์ปรกโพธิ์ 



เป็นความรู้พอสมควรนะครับ ขอให้บารมีของสมเด็จพุฒาจารย์(โต พรหมรังสี)

จงคุ้มครองครอบครัวของท่านให้ปลอดภัย จากอันตรายทั้งหลายทั้งปวงและมีแต่ความสุขความเจริญสมความมุ่งมาดปรารถนาทุกท่าน


สลากไทพลัส สลากออนไลน์ ใบละ 80บาท ถูกรางวัลรับเต็ม ไม่หักค่าทำเนียม

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม LINE : @STPLUS

หรือ คลิกที่รูปภาพด้านล่าง


อ่านบทความเพิ่มเติมของ สลากไทพลัส


ประวัติพระสมเด็จวัดระฆัง:โดย สลากไทพลัส กองสลากไทพลัส

สลากไทพลัส พามาเปิดประวัติพระสมเด็จวัดระฆังสร้างโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี วัดระฆังโฆสิตาราม

พระสมเด็จวัดระฆัง คือพระเครื่องรางรูปสมมติพระพุทธเจ้า สร้างโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี วัดระฆังโฆสิตาราม ลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้างประมาณ 2.5 เซนติเมตร สูงประมาณ 4 เซนติเมตร สีขาว ส่วนประกอบสำคัญในการสร้าง ปูนเปลือกหอย ข้าวก้นบาตร ผงวิเศษ 5 ชนิดและน้ำมันตังอิ๊ว



พุทธลักษณะพิมพ์ทรง

พระสมเด็จวัดระฆัง มีหลายพิมพ์ด้วยกัน แต่ที่นิยมได้แก่ พิมพ์พระประธาน พิมพ์เกศบัวตูม พิมพ์เจดีย์ พิมพ์ฐานแซม และพิมพ์ปรกโพธิ์

แม่พิมพ์

พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์พระประธาน มีทั้งเนื้อละเอียด เนื้อหยาบ เนื้อแก่น้ำมันตังอิ๊ว หรือเนื้อสังขยา และเนื้อแก่ปูน ลักษณะ

พิมพ์ทรง เป็นรูปสมมติของพระพุทธเจ้านั่งในระฆังคว่ำ องค์พระแลดูนั่งเอียงไปทางขวา ปลายพระเกศสะบัดเอียงไปทางซ้าย ในบางองค์อาจทะลุซุ้มด้านบน แลเห็นหูพระด้านซ้ายเป็นแนวจางๆยาวลงมา ไหล่ซ้ายดูยกสูงกว่าไหล่ขวา มองเห็นปลายพระบาท ยื่นเล็กน้อย ฐานขั้นล่างสุดเหมือนสี่เหลี่ยมคางหมู

พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์เกศบัวตูม เป็นพระพิมพ์ของวัดระฆังที่พบจำนวนน้อยที่สุดในบรรดาพระพิมพ์ทั้งหมด ลักษณะพิมพ์ทรง

เป็นพระนั่งในระฆังคว่ำ พระพักตร์กลมป้อม พระเกศเป็นมุ่นมีลักษณะคล้ายดอกบัวตูม (เป็นที่มาของชื่อพิมพ์) ต่างจากพิมพ์อื่น ตรงที่ปลายพระเกศไม่จรดเส้นซุ้ม องค์พระเป็นล่ำสัน มองเห็นเส้นสังคาฏิชัดเจน




พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์เจดีย์ ลักษณะพิมพ์เป็นพระนั่งในระฆังคว่ำ แลเห็นตั้งแต่พระเกศจรดฐานชั้นล่างสุดเรียงเสมอเป็น

แนวรูปทรงเจดีย์ ลักษณะลำตัวพระแลดูหนากว่าทุกพิมพ์

พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ฐานแซม ลักษณะพิมพ์เป็นพระนั่งในระฆังคว่ำ หูเป็นแบบบายศรี มีเส้นแซมระหว่างใต้องค์พระ กับ ฐานชั้นบนสุด 




ใต้ฐานชั้นบนสุด กับ ฐานชั้นกลาง

พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ปรกโพธิ์ ลักษณะพิมพ์เป็นพระนั่งในระฆังคว่ำคล้ายพิมพ์ฐานแซม เหนือพระเกศและหัวไหล่ปรกคลุมด้วยใบโพธิ์

พระสมเด็จพิมพ์พิเศษอื่นๆ เช่น พิมพ์หลังภาษาจีน พิมพ์หลังยันต์ หรือหลังลายกนก เป็นต้น



สลากไทพลัส สลากออนไลน์ ใบละ 80บาท ถูกรางวัลรับเต็ม ไม่หักค่าทำเนียม

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม LINE : @STPLUS

หรือ คลิกที่รูปภาพด้านล่าง


อ่านบทความเพิ่มเติมของ สลากไทพลัส



ประวัติพระนางพญา:โดย สลากไทพลัส กองสลากไทพลัส

สลากไทพลัส ของเราพามาเปิดประวัติพระนางพญา มีที่มาจากแหล่งที่เชื่อถือได้

ประวัติ

พระนางพญา เป็นพระเครื่องที่เกี่ยวเนื่องกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช มีมูลเหตุการสร้างจากการที่พระองค์ทรงเป็นองค์อุปถัมภกพระพุทธศาสนาอีกทั้งมีพระอาจารย์ที่เป็นประมุขฝ่ายสงฆ์ที่เชี่ยวชาญทั้งด้านคันถธุระและวิปัสสนาธุระ พระองค์จึงสร้างพระเครื่องเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการสืบทอดศาสนาพุทธทั้งใช้เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวทางจิตใจของประชาชนในขณะนั้นให้อยู่ในกรอบศีลธรรม รวมถึงเป็นขวัญกำลังใจให้เหล่าทหารในยามศึกสงคราม มีพุทธคุณที่เน้นในเรื่องป้องกันภยันตรายไม่ให้เข้ามาแผ้วพาน อยู่ยงคงกระพัน เกิดเมตตามหานิยมจากผู้พบเห็น




พระนางพญาจำแนกได้หลายพิมพ์ ได้แก่พระนางพญาพิมพ์ใหญ่คือ พระนางพญาพิมพ์อกนูนใหญ่ พระนางพญาพิมพ์เข่าโค้ง พระนางพญาพิมพ์เข่าตรง ซึ่งแยกออกเป็น 2 พิมพ์ คือ พระนางพญาพิมพ์เข่าตรงธรรมดา พระนางพญาพิมพ์เข่าตรงพิมพ์มือตกเข่า ส่วนพระนางพญาขนาดเล็กที่เป็นที่นิยมที่สุดก็คือพระนางพญาพิมพ์สังฆาฏิ

กรุแตกวัดนางพญา 

พระนางพญาแตกกรุประมาณ พ.ศ. 2444 เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสเมืองพิษณุโลกเพื่อทรงทอดพระเนตรการหล่อพระพุทธชินราชจำลอง ณ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร โดยวัดนางพญาซึ่งอยู่ใกล้กันได้มีการปรับที่ดินเพื่อรับเสด็จ ทำให้พบกรุพระเครื่องนางพญา เป็นพระนางพญาเนื้อดินประทับนั่งปางมารวิชัย มีรูปทรงสามเหลี่ยมหน้าจั่วอย่างทรงเลขาคณิตหลายพิมพ์ด้วยกันและมีประมาณ 84,000 องค์ ตามคตินิยมของท่านคณาจารย์ในยุคโบราณ[2] พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ ไปวัดนางพญา ก็ได้มีการนำพระนางพญาส่วนหนึ่งขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย ครานั้นพระองค์ทรงแจกจ่ายแก่ข้าราชบริพารที่ตามเสด็จกันโดยถ้วนหน้า ดังนั้นพระนางพญาส่วนหนึ่งจึงมีการนำกลับยังกรุงเทพมหานคร




ประมาณ พ.ศ. 2512 ที่จังหวัดพิษณุโลกได้ขุดพบกรุพระนางพญาอีก 1 กรุอยู่ห่างจากบริเวณวัดนางพญาไปประมาณ 4–5 กิโลเมตร องค์พระถูกน้ำกัดสึกกร่อนจนเห็นเม็ดกรวดทรายชัดเจนพระบางองค์ จะปรากฏคราบรารักติดอยู่เต็มองค์บ้าง บางองค์มีรารักสีดำติดอยู่เป็นจุด ๆ ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2530 ขุดพบบริเวณเจดีย์นอกวัดนางพญาที่สร้างติดกับถนนทางหลวง เป็นพระที่ค่อนข้างสมบูรณ์มากและงดงามมีพระนางพญาพิมพ์อกนูนใหญ่

มวลสาร

พระนางพญาเป็นพระดินเผาที่มีเนื้อหยาบที่สุดในบรรดาพระเนื้อดินของชุดเบญจภาคี มีเนื้อสีอิฐแดงเหลือง เนื้อเขียวเนื้อต่ำ มีทั้งมวลดินมงคลมวลเม็ดทรายแทรกปนอยู่ในเนื้อมากเรียกกันว่าเม็ดแร่ มีทั่วองค์พระมีส่วนผสมมวลสารเหล็กไหลเหล็ก น้ำพี้พระธาตุมีสีขาวขุ่นพระธาตุสีชมพูผงถ่านใบลานเกสรดอกไม้ 108 ว่าน น้ำมนต์ทิพย์



พุทธลักษณะองค์จำลองพระนางพญาขนาดใหญ่

พุทธลักษณะอันโดดเด่นอันเป็นเหตุที่ทำให้เรียกว่า "พระนางพญา" เพราะมีความงดงามสง่า โดยจะเน้นบริเวณอกที่ตั้งนูนเด่นและลำแขนทอดอ่อนช้อยคล้ายกับอิสสตรี จึงได้รับสมญาว่า "ราชินีแห่งพระเครื่อง"

ส่วนใหญ่มีรูปร่างเป็นสามเหลี่ยมหน้าจั่วองค์ขนาดปานกลาง ไม่เล็กหรือใหญ่มาก ฐานกว้างประมาณ 2 เซนติเมตร สูงประมาณ 2.8 เซนติเมตร

พื้นผิวด้านข้างไม่เรียบนัก ด้านหลังบางองค์จะมีลายนิ้วมือของพระหรือครูบาอาจารย์ มักมีเม็ดผดปรากฏนูนขึ้นมาจนกระทั่งสัมผัสได้มีหลายสี ได้แก่ สีดำ สีมันปู สีแดง สีดอกจำปี สีดอกพิกุลแห้ง สีหัวไพลแห้ง สีขมิ้นชัน สีเขียวใบไม้ สีเขียวมะกอกดิบ สีเขียวครกหิน สีตับเป็ด สีสวาด สีอิฐ บางองค์ที่แม้มีสภาพสมบูรณ์ทั้งด้านหน้าและด้านหลังเพียงแต่มีคราบไคลขี้กรุฝังอยู่ในเนื้อขององค์พระเท่านั้น


สลากไทพลัส สลากออนไลน์ ใบละ 80บาท ถูกรางวัลรับเต็ม ไม่หักค่าทำเนียม

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม LINE : @STPLUS

หรือ คลิกที่รูปภาพด้านล่าง


อ่านบทความเพิ่มเติมของ สลากไทพลัส


วันจันทร์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2566

เปิดประวัติ หลวงปู่หมุน มหาเถระ 5 แผ่นดิน:โดย สลากไทพลัส กองสลากไทพลัส

สวัสดีวันนี้ สลากไทพลัส พามาเปิดประวัติ หลวงปู่หมุน มหาเถระ 5 แผ่นดิน ผู้สำเร็จมหาวิชาธาตุสี่ 

ประวัติ หลวงปู่หมุน มหาเถระ 5 แผ่นดิน 

ในหมู่ของเกจิอาจารย์รุ่นเก่า ชื่อของ หลวงปู่หมุน ฐิตสีโล เป็นอีกหนึ่งครูบาอาจารย์ ที่มีการพูดถึงในเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ เป็นกลุ่มพระภิกษุสายเหนือโลก มีเรื่องราวอภินิหารย์ถึงขนาด มีตำนานการพาลูกศิษย์หายตัวจากศรีสะเกษ มาปรากฏตัวที่กรุงเทพฯ  




สำหรับหลวงปู่หมุน ฐิตสีโล เกิดในสกุล “ศรีสงคราม”  หรือ “แก้วปักปิ่น” ถือกำเนิดเมื่อ วันพฤหัสบดี เดือน 5 ปีชวด พ.ศ. 2437 ณ บ้านจาน อ.กันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ บิดา ชื่อ "ดี" มารดาชื่อ "อั๊ว" มีอาชีพทำไร่ทำนา เป็นเด็กยากจน แต่มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด ต่อมาบิดามารดาเห็นแววทางด้านพระพุทธศาสนา จึงให้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุ 14 ปี และนำไปฝากกับพระอาจารย์สีดาเจ้าอาวาสวัดบ้านจาน ซึ่งเป็นพระที่เชี่ยวชาญด้านกรรมฐานและมีวิชาอาคมที่เก่งมาก 

ท่านบวขเมื่ออายุได้ 23 ปี พ.ศ.2460 ได้เข้าอุปสมบทหมู่จำนวน 9 รูป โดยหลวงปู่เป็นรูปที่ 9 โดยมีโยมลุงของท่านเป็นเจ้าภาพ โดยมีหลวงพ่อสีดา เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อเพ็งเป็นพระอนุสาวนาจารย์และหลวงพ่อผุยเป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้รับรับฉายาว่า "ฐิตสีโล" แปลว่า "ผู้มีศีลตั้งมั่น" จากนั้นได้ศึกษาวิชาความรู้จากครูบาอาจารย์ต่าง ๆ ในแถบนั้นเป็นเวลา 4 ปี ก่อนออกแสวงหาครูบาอาจารย์อื่น ๆ เพื่อศึกษาคันธธุระและวิปัสสนาธุระในชั้นที่สูง ๆ ขึ้นไป




ก่อนที่จะออกเดินทางหาความรู้ศึกษาสรรพวิชาและศึกษามูลขจายน์ ที่กรุงเทพฯ  ก่อนที่จะเดินทางออกศึกษาวิชาอาคมในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ ไม่ว่าจะพ่อท่านคล้าย วาจาสิทธิ์  พระอาจารย์ทิม วัดช้างไห้ สืบวิชามีดหมอหลวงพ่อเดิม จากหลวงพ่อขำ วัดเขาแก้ว และเรียนวิชามหาธาตุสี่ ในสายสมเด็จลุน นครจำปาศักดิ์ จนสำเร็จ 




หลังจากนั้น หลวงปู่ก็กลับมาจำพรรษา ที่วัดบ้านจาน จนได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส และพระอุปัชฌาย์ รับสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นประทวน ที่" พระครูหมุน ฐิตสีโล" หลวงปู่ได้ปฎิบัติศาสนกิจตามที่ได้รับมอบหมายเป็นเวลาถึง 20 ปี จึงลาออกจากทุกตำแหน่ง ต้องการใช้ชีวิตที่เหลือบำเพ็ญสมณธรรมปฏิบัติพระวิปัสสนาธุระ อย่างเดียว ประมาณปี 2487 ในช่วงที่หลวงปู่อายุ 50 ปี ท่านเก็บบริวารออกธุดงค์บำเพ็ญเพียรอยู่ในป่าดงดิบ โดยลำพังแต่ผู้เดียว และในช่วงนี้เองที่หลวงปู่ได้พบกับอาจารย์จ่อยและอาจารย์ขวัญ วัดป่าหนองหล่ม ในระหว่างที่หลวงปู่ธุดงค์โดยบังเอิญ อาจารย์ทั้ง 2 จึงได้นิมนต์หลวงปู่โปรดญาติโยมที่วัดป่าหนองหล่ม หลังจากที่หลวงปู่หมุนเดินธุดงค์แสวงหาธรรม อยู่หลายสิบปี ประมาณปี 2520 ท่านจึงกลับมายังวัดบ้านจาน ซึ่งวัดบ้านจานในยามนั้น มีอายุกว่า 200 ปี อยู่ในสภาพทรุดโทรม ท่านจึงได้พัฒนาวัด สร้างอุโบสถขึ้นมา ด้วยหยาดเหงื่อและแรงจิต ทำให้อุโบสถเสร็จสมบูรณ์ในเวลาอันสั้น


สลากไทพลัส สลากออนไลน์ ใบละ 80บาท ถูกรางวัลรับเต็ม ไม่หักค่าทำเนียม

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม LINE : @STPLUS

หรือ คลิกที่รูปภาพด้านล่าง


อ่านบทความเพิ่มเติมของ สลากไทพลัส


เปิดประวัติหลวงปู่สรวง:โดย สลากไทพลัส กองสลากไทพลัส

สวัสดีวันนี้ สลากไทพลัส ของเราพามาเปิดประวัติหลวงปู่สรวง จากแหล่งที่มาที่หน้าเชื่อถือได้

ประวัติหลวงปู่สรวง

หลวงปู่สรวงที่เรารู้จักกันในนามนี้ในปัจจุบันนั้น เมื่อก่อนนี้ชาวบ้านในท้องถิ่นอำเภอ ขุขันธ์ และอำเภอใกล้เคียง ที่มีภูมิลำเนาอยู่แถบชายแดน ตามเชิงเขาพนมดงรัก(พนมดองแร็ก) ซึ่งเป็นแนวเขตแดนระหว่าง กัมพูชากับประเทศไทย มักจะเห็นท่านเป็นผู้ทรงศีลปฏิบัติธรรม พักอาศัยอยู่ตามกระท่อมในไร่นาของชาวบ้าน โคกและเวียน ไปที่นั่นที่นี่บ้างนานๆ จะกลับมาเห็นในที่เดิมอีก ในสายตาและความเข้าใจของชาวบ้านในสมัยนั้นมองท่านในฐานะผู้มีคุณวิเศษ เหนือคนทั่วไปและเรียกขานว่า “ลูกเอ็าวเบ๊าะ” หรือ “ลูกตาเบ๊าะ” (เป็นภาษาเขมร หมายถึงพระดาบส ที่เป็นผู้รักษาศีลอยู่ตามถ้ำเขาลำเนาไพร) ในสมัยนั้นยังมีป่าพรรณไม้อุดมสมบูรณ์และสัตว์ป่านานาพันธุ์ ได้มีลูกศิษย์ติดตามหลวงปู่เดินธุดงค์ตามป่าเขาแถบชายแดนไทย และตลอดจนถึงประเทศเขมร แต่ก็อยู่กับหลวงปู่ได้ไม่นานจำต้องกลับบ้าน เนื่องจากทนความยากลำบากไม่ไหวหลวงปู่จึงเดินธุดงค์ไปในที่ต่างๆ ตามลำพังเป็นส่วนมาก 




ไม่มีใครทราบถิ่นกำเนิดและอายุของหลวงปู่ที่แท้จริง ได้รู้แต่ว่าหลวงปู่เป็นชาวเขมรต่ำ ได้เข้ามาในประเทศไทยนานแล้วคนแก่คนเฒ่า ผู้สูงอายุที่เคยเห็นท่านเล่าบอกว่า ตั้งแต่เป็นเด็กๆเกิดมาก็เห็นท่านในสภาพลักษณะเหมือนที่เห็นในปัจจุบันถ้าผิดจากเดิมไปบ้างก็เล็กน้อยเท่านั้น ประกอบด้วยหลวงปู่เป็นคนพูดน้อยและไม่เคยเล่าประวัติส่วนตัวให้ใครฟัง จึงไม่มีใครที่จะสามารถรู้อายุและประวัติที่แท้จริงของท่านได้ 

ชาวบ้านแถบนี้พบเห็นหลวงปู่บ่อยๆ ที่ชายป่าบ้านตะเคียนราม วัดตะเคียนราม อำเภอภูสิงห์ , บ้านลุมพุก บ้านโคกโพน ต.กันทรารมย์  อ.ขุขันธ์  และหมู่บ้านอื่นๆเกือบทุกหมู่บ้านในบริเวณตลอดแนวชายแดน ท่านจะเดินทางไปมาอยู่ในบริเวณแถบนี้โดยตลอด แต่ก็จะไม่อยู่เป็นประจำในที่แห่งเดียวเป็นเวลานานๆ บางทีหลวงปู่จะหายไปนานถึงสองสามปีถึงจะกลับมาใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยที่ไม่มีใครรู้ว่าหลวงปู่ไปอยู่ไหนมา ในช่วงหลังมานี้พบหลวงปู่จำอยู่ในกระท่อมในนาบริเวณต้นโพธิ์บ้านขยอง , วัดโคกแก้ว , บ้านโคกเจริญ , กระท่อมกลางนาระหว่างบ้านละลมกับบ้านจะบก , กระท่อมบ้านรุน (อำเภอบัวเชด) และบ้านอื่นๆอีกในท้องถิ่นเดียวกันนี้ 




ในระยะหลังนี้ได้มีผู้ปวารณาเป็นลูกศิษย์อาสาขับรถให้หลวงปู่ ได้เดินทางไปในที่ต่างๆ ทำให้มีผู้รู้จักหลวงปู่มากขึ้น ไปเกือบทุกจังหวัดในประเทศไทย ในแต่ละวันจะมีผู้เดิน

กระท่อมกับต้นมะขาม โดยหลวงปู่หันหน้าเข้ากระท่อมขณะนั้นมีผู้นำน้ำดื่มบรรจุขวดมาถวาย 2 ขวด หลวงปู่ได้เทน้ำรดตนเองจากศรีษะลงมาจนเปียกโชกไปทั้งตัวคล้ายกับเป็นการสรงน้ำครั้งสุดท้าย นายสัญชัยผู้ขับรถให้หลวงปู่นั่งเป็นประจำได้นำรถมาจอดใกล้ๆ และช่วยกันหามหลวงปู่ขึ้นรถและขับตรงไปที่กระท่อมบ้านรุน อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์ โดยมีนายสุข หรือนายดุง(คนบ้านเจ็ก อำเภอขุขันธ์) ขับรถติดตามไปเพียงคนเดียว ก่อนจะถึงกระท่อมนายสัญชัยได้หยุดรถที่หน้าบ้านนายน้อยเพื่อจะบอกให้นายน้อยตามไป แต่หลวงปู่ได้บอกให้นายสัญชัยขับรถไปที่กระท่อมโดยเร็ว โดยบอกว่า “เต็อวกะตวม เต็อวกะตวม กะตวม” พอถึงกระท่อมได้อุ้มหลวงปู่ไปที่แคร่ ในกระท่อมและช่วยกันก่อกองไฟ เพื่อให้เกิดความอบอุ่น และนายสุขได้อาสาขอออกไปข้างนอกเพื่อจัดหาอาหารมาถวายหลวงปู่ และรับประทานกัน นายสุขได้ไปที่บ้านโคกชาด ตำบลไพรพัฒนา ไปพบนายจุกและนางเล็กซึ่งเป็นลูกศิษย์หลวงปู่เช่นเดียวกันและได้บอกให้รีบไปหาหลวงปู่ที่บ้านรุน เพื่อดูอาการป่วยของหลวงปู่ซึ่งมีอาการหนักกว่าทุกคราว นางเล็กได้จัดหาอาหารให้กับนายสุขส่วนตัวเองกับสามีได้ขับรถตามไปทีหลัง พอมาถึงกระท่อมปรากฎว่านายสัญชัยขับรถออกไปข้างนอก พวกที่อยู่ก็รีบหุงหาอาหารเพื่อจัดถวายหลวงปู่ โดยหวังว่าหากหลวงปู่ได้ฉันอาหารอาการก็คงจะดีขึ้นบ้าง แต่หลังจากถวายอาหารแล้วหลวงปู่ไม่ยอมฉันอาหารเลย แม้จะอ้อนวอนอย่างไรหลวงปู่ก็นิ่งเฉย นายสัญชัยที่ออกไปทำธุระข้างนอกได้กลับมาโดยขับรถตามนายน้อยที่นำของมาถวายหลวงปู่เหมือนกัน เมื่อไม่สามารถที่จะทำให้หลวงปู่ฉันได้ ทุกคนก็พิจารณาหาวิธีว่าจะช่วยหลวงปู่ได้อย่างไร ในที่สุดก็เห็นพ้องกันว่าให้รีบช่วยกันแต่ง ขันธ์ห้า ขันธ์แปด มาขอขมาหลวงปู่โดยด่วน ตามที่เคยได้กระทำมาและก็ได้ผลมาหลายครั้งแล้วซึ่งจะทำให้หลวงปู่หายป่วยได้ทุกครั้ง และนายสัญชัยยืนยันว่า ถ้าได้แต่ง ขันธ์ห้า ขันธ์แปด ขอขมาและหาแม่ชีมาร่วมสวดมนต์ถวายด้วยแล้วก็จะหายเป็นปกติ ทุกคนเห็นชอบด้วยจึงให้นายสัญชัยรีบดำเนินการโดยด่วน นายสัญชัยได้ขับรถไปที่บ้านขยุงเพื่อหาคนที่เคยแต่งขันธ์ห้า ขันธ์แปด เมื่อนายสัญชัยออกไปแล้วลูกศิษย์ที่เหลืออยู่ซึ่งมีผู้ใหญ่บ้านรุนและลูกบ้านอีกจำนวนหนึ่ง รวมทั้งนายมีเจ้าของกระท่อมก็ได้พากันแต่งขันธ์ห้า ขันธ์แปดเฉพาะหน้าอย่างรีบด่วน เพื่อเป็นการบันเทาจนกว่านายสัญชัยจะได้พาคนที่แต่งขันธ์ห้า ขันธ์แปดมาทำพิธีอีกครั้งหนึ่ง โดยนายน้อยได้อาสาไปหาธูปเทียน ในหมู่บ้าน โดยขับ

เหตุการณ์ที่วัดไพรพัฒนา

เวลาประมาณ 19.00 น. ในขณะที่หลวงพ่อพุฒกำลังสนทนากับพระลูกวัดก็ได้มีรถเข้ามาจอดจำนวน 4 คัน โดยมีนายสาด ลงมาแจ้งกับหลวงพ่อพุฒว่าหลวงปู่สรวงมรณภาพแล้ว หลวงพ่อพุฒอึ้งไปขณะหนึ่ง ก็ได้ถามว่ามรณภาพที่ไหน นายสาดตอบว่าที่โรงพยาบาล และได้นำศพของท่านมาพร้อมกับรถนี้แล้ว หลวงพ่อพุฒจึงได้ลงไปเปิดประตูรถดู และได้กราบลงบนตักของหลวงปู่ และได้จับตามร่างกายและหน้าอกของหลวงปู่ดู และก็รู้สึกได้ว่าท่านได้ละสังขารจริงๆ และถามลูกศิษย์ที่นำสังขารหลวงปู่มา ว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป ลูกศิษย์ทุกคนรวมทั้งนายสัญชัยได้บอกว่าจะนำสังขารของหลวงปู่ไปบำเพ็ญกุศลที่วัดบ้านขยุง หลวงพ่อพุฒ บอกว่าให้เดินทางไปก่อนแล้วอาตมาจะตามไป ขบวนรถทั้ง 4 คันก็ได้เคลื่อนออกจากวัดไพรพัฒนาจะไปยังวัดบ้านขยุง หลวงพ่อพุฒจึงครองจีวรเตรียมอุปกรณ์เรียกหาพระลูกวัดก่อนจะออกเดินทางได้อธิษฐานว่า 




“สาธุ ถ้าหากหลวงปู่มีความประสงค์จะให้ลูกหลานได้เป็นผู้บำเพ็ญกุศล ก็ขอให้หลวงปู่ได้กลับมาที่วัดด้วยเถิด” แล้วก็ได้นั่งรถติดตามไปที่บ้านขยุงแต่ไปถึงแค่บ้านโคกชาด มีรถหลายคันจอดอยู่และได้ให้สัญญาณไฟ จึงได้จอดดูแล้วปรากฏว่าเป็นรถที่จะนำสังขารหลวงปู่ไปที่วัดบ้านขยุง ได้บอกหลวงพ่อพุฒว่าให้กลับไปที่วัดไพรพัฒนา แล้วก็ขับออกนำหน้า หลวงพ่อพุฒก็ได้นั่งรถตามมา พอมาถึงวัดเห็นรถที่มีสังขารหลวงปู่จอดอยู่ที่ด้านทิศตะวันออกของศาลา จึงได้บอกว่าอย่าพึ่งทำอะไรให้อยู่อย่างนี้ก่อน และได้สั่งให้พระลูกวัดจัดเตรียมสถานที่ตั้งศพบนสาลา ส่วนหลวงพ่อพุฒเองได้นำธูปเทียนมากราบไหว้ขอขมาลาโทษ และนิมนต์ร่างของหลวงปู่ขึ้นมาตั้งตรงสถานที่ๆ จัดไว้บนศาลา และได้จุดธูปอธิษฐานว่า 

หากเป็นความประสงค์ของหลวงปู่จะให้ลูกหลานบำเพ็ญกุศลในที่นี่จริง ก็ขอให้ดำเนินการไปโดยเรียบร้อย และขอให้มีลูกศิษย์ของหลวงปู่ได้มาร่วมบำเพ็ญกุศลโดยทั่วกัน” ต่อจากนั้นได้ดำเนินการบำเพ็ญกุศลให้กับหลวงปู่อย่างที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน


สลากไทพลัส สลากออนไลน์ ใบละ 80บาท ถูกรางวัลรับเต็ม ไม่หักค่าทำเนียม

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม LINE : @STPLUS

หรือ คลิกที่รูปภาพด้านล่าง



อ่านบทความเพิ่มเติมของ สลากไทพลัส



ประวัติหลวงปู่ทวดหรือสมเด็จเจ้าพะโคะ:โดย สลากไทพลัส กองสลากไทพลัส

สลากไทพลัส ได้รวบรวมเอาบทความเกี่ยวกับหลวงปู่ทวดหรือสมเด็จเจ้าพะโคะ จากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้

หลวงปู่ทวด ความเชื่อและความศรัทธา ที่อยู่คู่คนไทยมายาวนาน หลายๆคน ที่มีความศรัทธาทางด้านพระพุทธศาสนา คงเคยได้ยินกันชื่อเสียงเรียงนาม เกี่ยวกับตำนานของพระเกจิอาจารย์อย่าง หลวงปู่ทวด กันมาบ้างแล้ว ซึ่งถือเป็นที่รู้จักกันดีในประเทศไทยจากตำนานท้องถิ่นที่ยังไม่มีหลักฐานยืนยันความมีอยู่จริง วันนี้แอดมินจะพาทุกคนมาเจาะลึกถึงความเป็นมาของหลวงปู่ทวดกันค่ะ



ประวัติหลวงปู่ทวด

ในรัชสมัยตอนปลายของพระมหาธรรมราชา แห่งกรุงศรีอยุธยา หรือเมื่อประมาณ 400 ปีที่ผ่านมา ณ หมู่บ้านสวนจันทร์ ตำบลชุมพล ได้มีทารกเพศชายถือกำเนิดจากครอบครัวเล็กๆ ซึ่งเป็นบุตรของนายหู และนางจัน มีนามเดิมว่า ปู มีฐานะยากจน แต่มีจิตใจอันเป็นกุศล ชอบทำบุญทำทาน ยึดมั่นในศีลธรรม และไม่เบียดเบียนใคร ไม่ว่าจะมนุษย์ด้วยกันหรือสัตว์ทั้งหลาย



เล่ากันว่า เมื่อตอนเด็กชายปู ยังคงเป็นทารก หลังจากที่นางจันเลิกอยู่ไฟ ก็ออกไปทำนาเกี่ยวข้าวทันที มีอยู่วันหนึ่ง ได้พาลูกออกไปด้วย และผูกเปลให้ลูกได้นอนใต้ต้นหว้า จากนั้นได้มีงูใหญ่ขึ้นมาพันที่เปล แล้วชูคอแผ่แม่เบี้ย เมื่อนายหู และนางจันเห็นตกใจ พนมมือบอกเจ้าที่เจ้าทาง ขออย่าให้ลูกน้อยได้รับอันตราย ด้วยอำนาจบารมีของเด็กน้อย งูใหญ่จึงคลายลำตัวออกจากเปลเลื้อยหายไป แต่ได้คายลูกแก้วกลมวิเศษ ส่องประกายแวววาวไว้อยู่ข้างๆ นายหูและนางจัน เชื่อว่าเทวดาได้แปลงกายเป็นงูใหญ่ เพื่อนำลูกแก้ววิเศษมาให้ หลังจากนั้นทางครอบครัวก็มีฐานะความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นเรื่อยๆ และเมื่อเด็กชายปูมีอายุ 7 ขวบ นายหูได้พาเด็กชายปูไปฝากไว้กับท่านสมภารจวง ซึ่งเป็นพี่ชายของนางจันผู้เป็นมารดา ณ วัดกุฏิหลวง เพื่อเล่าเรียนหนังสือ เด็กชายปูมีความเฉลียวฉลาดมาก สามารถเรียนหนังสือทั้งขอมและไทยได้อย่างรวดเร็ว จนเมื่ออายุครบ 10 ขวบ เด็กชายปู ก็บวชเป็นสามเณร นายหูได้มอบแก้ววิเศษให้เป็นสิ่งของประจำตัว 



ต่อมาสามเณรปูได้เดินทางไปศึกษาต่อกับพระชินเสนที่วัดสีหยัง (สีคูยัง) ซึ่งเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญและมีชื่อเสียงมากจากกรุงศรีอยุธยา จนครบอายุ 20 ปีบริบูรณ์ ก็ได้เดินทางไปศึกษาต่อที่นครศรีธรรมราช ณ สำนักพระมหาเถระปิยะทัสสี จนกระทั่งได้เข้ารับการอุปสมบท และมีฉายาว่า ราโมธมฺมิโก หรือที่คนทั่วไปเรียกกันว่า เจ้าสามีราม ซึ่งเจ้าสามีรามได้ศึกษาอยู่ที่วัดท่าแพ วัดสีมาเมือง และยังมีวัดอื่นๆอีกหลายวัด

เมื่อเห็นว่าการศึกษาที่นครศรีธรรมราชนั้นเพียงพอแล้ว จึงได้โดยสารเรือสำเภาเดินทางกลับไปยังกรุงศรีอยุธยา และในระหว่างทางนั้นได้เกิดคลื่นลมทะเลปั่นป่วน ณ เมืองชุมพร ทำให้เรือไม่สามารถแล่นฝ่าคลื่นลมไปได้ จึงต้องทอดสมออยู่ถึง 7 วัน เสบียงอาหารและน้ำเริ่มหมด บรรดาลูกเรือได้ตั้งข้อสงสัยว่า การที่เกิดอาเพศในครั้งนี้ อาจจะเป็นเพราะเจ้าสามีราม จึงตกลงใจเพื่อส่งเจ้าสามีรามขึ้นเกาะ จากนั้นจึงนิมนต์ให้เจ้าสามีรามลงเรือเล็ก ระหว่างที่เจ้าสามีรามนั่งในเรือเล็ก ท่านได้นำเท้าลงไปแช่ในน้ำทะเล ก็เกิดความอัศจรรย์ขึ้น น้ำทะเลบริเวณนั้น กลายเป็นน้ำทะเลที่มีประกายแวววาว เจ้าสามีรามจึงบอกให้ลูกเรือตักน้ำขึ้นมาดื่ม และเมื่อดื่มเข้าไปแล้วก็รู้สึกได้ว่าน้ำทะเล กลายเป็นน้ำจืด จากนั้นได้ช่วยกันตักน้ำไว้ให้เพียงพอต่อการประทังชีวิต 


สลากไทพลัส สลากออนไลน์ ใบละ 80บาท ถูกรางวัลรับเต็ม ไม่หักค่าทำเนียม

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม LINE : @STPLUS

หรือ คลิกที่รูปภาพด้านล่าง



อ่านบทความเพิ่มเติมของ สลากไทพลัส


ป้อมไพรีพินาศ

ที่เที่ยวโบราณ ป้อมไพรีพินาศ จังหวัดจันทบุรี ป้อมไพรีพินาศ ตั้งอยู่บนเขาแหลมสิงห์ หมู่ 1 ตำบลบางกะไชย อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี เป็นป้อ...